Review สาขาการออกแบบอินเทอร์แอคทีฟและเกม (INTERACTIVE AND GAME DESIGN)

 

คณะดิจิทัลมีเดีย สาขาการออกแบบอินเทอร์แอคทีฟและเกม
นักศึกษาจะได้เรียนรู้การออกแบบสื่อในรูปแบบดิจิทัลที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ ซึ่งต้องมีการประยุกต์ใช้การเขียนโปรแกรสำหรับการออกแบบมัลติมีเดียเพื่อใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน สื่อการเรียนการสอน รวมถึงมัลติมีเดียที่ใช้ในงานนิทรรศการและพิพิธภัณฑ์แบบอินเทอร์แอคทีฟ การออกแบบเกมและการออกแบบกราฟิกสำหรับใช้ในเกมทั้งรูปแบบ 2 มิติและ 3 มิติ

แผนการเรียนและโครงสร้างหลักสูตร
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป คือ กลุ่มรายวิชาเกี่ยวกับความรู้รอบตัวเพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีคุณสมบัติตามวัตถุประสงค์ เช่น กลุ่มภาษา กลุ่มสังคมและมนุษยศาสตร์ กลุ่มคณิตและวิทยาศาสตร์
2. หมวดวิชาเฉพาะ เป็นวิชาของสาขาโดยตรงแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้
2.1 กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ คือ กลุ่มรายวิชาที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกทักษะทางด้านศิลปะและคอมพิวเตอร์กราฟิกขั้นเบื้องต้น ส่วนใหญ่อยู่ในรายวิชาของชั้นปีที่ 1 เช่น การวาดเส้น การใช้สี การถ่ายภาพ คอมพิวกราฟิกเบื้องต้น
2.2 กลุ่มวิชาชีพบังคับ คือ กลุ่มรายวิชาเฉพาะของสาขาที่เป็นพื้นฐานด้านการผลิตที่เรียนด้วยกันทั้งอินเทอร์แอคทีฟและเกม เช่น การวาดสตอรี่บอร์ด การออกแบบกราฟิกเคลื่อนไหว การทดลองอินเทอร์แอคทีฟและเกม การสร้างรูปทรงและภาพเคลื่อนไหว 3 มิติ
2.3 กลุ่มวิชาชีพเลือก คือ กลุ่มรายวิชาเพื่อสร้างทักษะและความเชี่ยวชาญเฉพาะของวิชาชีพโดยแบ่งออกเป็น  2 กลุ่ม ได้แก่
สาขาวิชาการออกแบบอินเทอร์แอคทีฟและเกม (Interactive and Game Design) มีรายละเอียดหลักสูตรแบ่งได้ 2 กลุ่มวิชาชีพเลือก ได้แก่
– กลุ่มวิชาชีพเลือกอินเทอร์แอคทีฟ
ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบสื่อในรูปแบบดิจิทัลที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ ซึ่งต้องมีการประยุกต์ใช้การเขียนโปรแกรมสำหรับการออกแบบมัลติมีเดียเพื่อใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน เช่น เว็บไซต์ CD สื่อการเรียนการสอน รวมถึงมัลติมีเดียที่ใช้ในงานนิทรรศการและพิพิธภัณฑ์แบบอินเทอร์แอคทีฟ เช่น มิวเซียมสยาม เป็นต้น
– กลุ่มวิชาชีพเลือกเกม
เรียนเกี่ยวกับการออกแบบเกมและการออกแบบกราฟิกสำหรับใช้ในเกมทั้งรูปแบบ 2 มิติและ 3 มิติ เช่น การออกแบบฉากและตัวละคร การออกแบบด่าน (Level Design) และการออกแบบวิธีการเล่นเกม เป็นต้น
3. หมวดวิชาเลือกเสรี คือ กลุ่มรายวิชานอกเหนือจากในหลักสูตรที่สามารถเลือกเรียนได้อย่างอิสระ โดยจะเลือกเรียนวิชาของสาขาอื่นในคณะเดียวกัน หรือรายวิชาของคณะอื่น

 

จุดเด่นของสาขาการออกแบบอินเทอร์แอคทีฟและเกม
เรียนรู้การออกแบบสื่อดิจิทัลที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้ เช่น แอปพลิเคชัน(Application) เว็บไซต์(Web Site) อินสตอลเลชัน(Installation) สื่อการเรียนการสอน(e-Learning) ดิจิทัลแม็กกาซีน(Digital Magazine) รวมถึงการพัฒนาเกม ซึ่งจะเรียนรู้การออกแบบเกม(Game Design) การออกแบบวิธีการเล่นเกม และการเขียนโปรแกรม(Game Programming) และการพัฒนาเกมหรือแอปพลิเคชัน เพื่อธุรกิจดิจิทัล (Tech Startup)

 

เรียนจบแล้วทำอาชีพอะไร?
– Interactive Programmer
โปรแกรมเมอร์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเขียนโปรแกรมกราฟิกเพื่อใช้ในการพัฒนามัลติมีเดียประเภทต่างๆ เช่น เว็บไซต์ สื่อการเรียนการสอนในรูปแบบ CD-ROM Kioskแบบหน้าจอทัชสกรีน และเกมแฟลช เป็นต้น
– Web Developer
นักพัฒนาเว็บไซต์ ผู้สร้างระบบสำหรับเว็บไซต์เพื่อเชื่อมโยงส่วนประกอบต่างๆของหน้าเว็บเข้าด้วยกัน รวมถึงการค้นคว้าวิจัยเทคโนโลยี่ใหม่ๆ สำหรับการประมวลผลเว็บไซต์และการเขียนโปรแกรมเกี่ยวกับการจัดทำเว็บไซต์
– Web Designer
นักออกแบบเว็บไซต์ ผู้ที่ทำงานด้านการออกแบบจัดวางข้อมูลต่างๆของเว็บไซต์ ให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการแสดงเนื้อหาหรือข้อมูลได้อย่างชัดเจน เข้าใจง่าย และน่าสนใจ รวมถึงการออกแบบเว็บไซต์และส่วนประกอบต่างๆของเว็บไซต์
– Game Designer
นักออกแบบเกม ผู้ออกแบบวิธีการเล่นเกม(Gameplay) กฎเกณฑ์ในการเล่น รวมถึงระบบและโครงสร้างของเกมโดยคำนึงถึงความสนุกและความน่าสนใจในการเล่นเกม
– Concept Artist for game
ศิลปินผู้ออกแบบและสร้างสรรค์งานภาพของเกมจากแนวความคิดในขั้นเบื้องต้น เช่น ตัวละคร ฉาก และไอเท็ม เป็นต้น เพื่อแสดงให้เห็นภาพรวมของเกมและกำหนดแนวทางเริ่มต้นในการทำงานออกแบบเกมในขั้นตอนต่อไป

#เรียนกับตัวจริงประสบการณ์จริง #มหาวิทยาลัยศรีปทุม #คณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม #ดิจิทัลมีเดีย ศรีปทุม #สาขาการออกแบบอินเทอร์แอคทีฟและเกม มหาวิทยาลัยศรีปทุม #คณะดิจิทัลมีเดีย สาขาการออกแบบอินเทอร์แอคทีฟและเกม #อินเตอร์แอคทีฟและเกม #อินเตอร์แอคทีฟ มัลติมีเดีย #ศรีปทุม คณะดิจิทัลมีเดีย

Share:

Facebook
Twitter
Pinterest
LinkedIn

Most Popular

Categories

News

Related Posts

คณะบัญชี ม.ศรีปทุม จัดเสวนายกระดับทักษะนักศึกษา สู่การเป็นนักบัญชีมืออาชีพในยุคดิจิทัล

คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดเสวนาภายใต้หัวข้อ “การพัฒนาทักษะวิชาชีพนักบัญชีในยุคดิจิทัล” ผ่านกิจกรรมปัจฉิมนิเทศนักศึกษาคณะบัญชี

เด็กสื่อสารการแสดง SPU จัดแสดงละครเวทีรูปแบบ Stage Reading เรื่อง ‘ดินแดนคนตาบอด’ ถ่ายทอดประเด็นร่วมสมัยจากวรรณกรรมคลาสสิก

นักศึกษาสาขาสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดแสดงละครเวที ในรูปแบบ

คณะดิจิทัลมีเดีย ม.ศรีปทุม ต้อนรับผู้บริหาร ม.แม่โจ้ ศึกษาดูงาน-แลกเปลี่ยนแนวทางพัฒนาหลักสูตร พร้อมนำเสนอนวัตกรรมการเรียนรู้สู่ภาคอุตสาหกรรมดิจิทัล

คณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม เปิดบ้านต้อนรับคณะผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาหลักสูตร พร้อมนำเสนอผลงานสร้างสรรค์จากนักศึกษา