
“การศึกษาสร้างคน คนสร้างชาติ” ปรัชญาที่ท่าน ดร.สุข พุคยาภรณ์ ผู้เล็งเห็นความสำคัญของการศึกษา ได้ริเริ่มวางรากฐานก่อตั้งมหาวิทยาลัยศรีปทุม ด้วยความเอาใจใส่ ทุ่มเทจากประสบการณ์ในการทำงานและการศึกษาด้วยตนเองและสั่งสมทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาในชีวิตอย่างไม่ย่อท้อ
จากจุดเริ่มต้นอันแรงกล้าและความตั้งใจอันดีงามที่เกิดจากการทุ่มเทของ ดร.สุข พุคยาภรณ์ ผู้ก่อตั้ง ได้รับการสานต่ออย่างต่อเนื่องมาตลอดระยะเวลา 50 ปี มหาวิทยาลัยศรีปทุมได้เติบโตอย่างงดงาม ทั้งด้านวิชาการ ด้านการขยายวิทยาเขต ด้านบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษากว่า 200,000 คน ที่ได้รับการยอมรับในแวดวงต่างๆ มหาวิทยาลัยยังคงพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง ในการเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำสำหรับคนรุ่นใหม่ ทุกยุคสมัย เพื่อที่จะสร้างและพัฒนาทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพให้แก่สังคมและประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
ตำแหน่งที่สำคัญ
ด้วยประสบการณ์ ความมุ่งมั่น และวิสัยทัศน์อันกว้างไกล ดร. สุข พุคยาภรณ์ ได้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญๆ หลายตำแหน่ง อาทิ
• นายกสภามหาวิทยาลัยและผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งมหาวิทยาลัยศรีปทุม
• ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
• ที่ปรึกษาสโมสรลูกเสือวิสามัญแห่งประเทศไทย
• กรรมการและที่ปรึกษาสมาคมโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย
• นายกสมาคมผู้กำกับนักศึกษาวิชาทหารแห่งประเทศไทย
• นายกสมาคมโรงสี
• สมาชิกสภาเทศบาลกรุงเทพฯ
• ประธานกลุ่มโรงเรียนเทคโนโลยีไทยสุริยะ
• ประธานศูนย์เยาวชนบางเขน
• ประธานจัดงานวันพ่อแห่งชาติ
จากจุดเริ่มต้นอันแรงกล้าและความตั้งใจอันดีงามที่เกิดจากการทุ่มเทของ ดร.สุข พุคยาภรณ์ ผู้ก่อตั้ง ได้รับการสานต่ออย่างต่อเนื่องมาตลอดระยะเวลา 50 ปี มหาวิทยาลัยศรีปทุมได้เติบโตอย่างงดงาม ทั้งด้านวิชาการ ด้านการขยายวิทยาเขต ด้านบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษากว่า 200,000 คน ที่ได้รับการยอมรับในแวดวงต่างๆ มหาวิทยาลัยยังคงพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง ในการเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำสำหรับคนรุ่นใหม่ ทุกยุคสมัย เพื่อที่จะสร้างและพัฒนาทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพให้แก่สังคมและประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
ตำแหน่งที่สำคัญ
ด้วยประสบการณ์ ความมุ่งมั่น และวิสัยทัศน์อันกว้างไกล ดร. สุข พุคยาภรณ์ ได้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญๆ หลายตำแหน่ง อาทิ
• นายกสภามหาวิทยาลัยและผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งมหาวิทยาลัยศรีปทุม
• ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
• ที่ปรึกษาสโมสรลูกเสือวิสามัญแห่งประเทศไทย
• กรรมการและที่ปรึกษาสมาคมโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย
• นายกสมาคมผู้กำกับนักศึกษาวิชาทหารแห่งประเทศไทย
• นายกสมาคมโรงสี
• สมาชิกสภาเทศบาลกรุงเทพฯ
• ประธานกลุ่มโรงเรียนเทคโนโลยีไทยสุริยะ
• ประธานศูนย์เยาวชนบางเขน
• ประธานจัดงานวันพ่อแห่งชาติ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญตราเชิดชูเกียรติ
• ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
• ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
• เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้น 1
• เหรียญกาชาดสรรเสริญ
• ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
• ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
• เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้น 1
• เหรียญกาชาดสรรเสริญ
12 มกราคม 2459
ดร. สุข พุคยากรณ์ เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 12 มกราคม 2459 ที่บ้านริมน้ำ ตำบลคลองสิบ อำเภอหนองจอก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรคนที่ 5 ของนายพุก และนางหรั่ง พุคยาภรณ์ เมื่อเยาว์วัยศึกษาเบื้องต้นที่วัดแสนเกษม จนจบ ป.4 เมื่อ พ.ศ. 2470 แล้วบวชเป็นสามเณรอยู่ 30 วัน หลังจากลาสิกขาแล้ว กลับไปช่วยบิดามารดาทำการค้า
2475 - 2496
พ.ศ. 2475 แยกตัวออกไปทำการค้าด้วยตนเอง เติบโตขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่เริ่มจากพาย เรือขายของ ซื้อ-ขายของชำ ซื้อ-ขายข้าวเปลือก จนกระทั่งซื้อโรงสีดำเนินกิจการเอง ใน พ.ศ. 2490 ใช้เวลาตั้งตัวในระยะต้นนี้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2475 - 2490 รวม 15 ปีเศษ
2496
เริ่มงานรับเหมาก่อสร้างโดยร่วมกับเพื่อนตั้งบริษัท ส่งเสริมสถาปัตย์ ที่บริเวณประตูน้ำ กิจการเจริญขึ้นโดยลำดับ ตลอดเวลาที่ผ่านมาประสบการณ์ของ ดร. สุข นั้นคือการทำงานด้วยตนเอง ศึกษาด้วยตนเอง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาในชีวิตท่านถือเป็นบทเรียน ไม่เคยท้อถอย คติของท่านที่ผู้ใกล้ชิดได้ยินได้ฟัง ท่านพูดเสมอว่า “การศึกษาคือชีวิต และ ชีวิตคือการกระทำ”
2510
รัฐบาลเปิดโอกาสให้เอกชนจัดการศึกษาระดับอาชีวศึกษา ดร. สุข พุคยาภรณ์ ได้เริ่มสร้างสถาบัน การศึกษาระดับอาชีวศึกษาซึ่งใน ปัจจุบันได้ขยายไปหลายแห่ง ประกอบไปด้วย โรงเรียนไทยบริหารและพณิชยการ โรงเรียนไทยอโยธยาบริหารธุรกิจ โรงเรียนพัฒนวิทย์ โรงเรียนทักษิณาบริหารธุรกิจ โรงเรียนไทยเบญจบริหารธุรกิจชลบุรีโรงเรียนกุลสิริเทคโนโลยีและบริหารธุรกิจ โรงเรียนโปลีเทคนิคเชียงราย โรงเรียนรุ่งโรจน์ศึกษา โรงเรียนสิริวัฒนาบริหารธุรกิจและพาณิชยการ และโรงเรียนสุขฤทัย
2513
เป็นปีที่รัฐบาลมีนโยบายให้เอกชนเข้าร่วมแบ่งเบาภาระการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ดร.สุข พุคยาภรณ์ ได้เริ่มก่อตั้งวิทยาลัยศรีปทุมโดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงพระราชทานนามวิทยาลัย และเสด็จพระราชดำเนินเปิดอาคารเรียนหลังแรก เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2515
2530
ดร.สุข พุคยาภรณ์ ได้พยายามเอาใจใส่ต่อการดำเนินกิจการของวิทยาลัยแห่งนี้ด้วยการหา ผู้ทรงคุณวุฒิและประสบการณ์ มาบริหารและเป็นอาจารย์สอน และมุ่งมั่นต่อการพัฒนามิได้ย่อท้อ จนทบวงมหาวิทยาลัยได้เปลี่ยนประเภทจากวิทยาลัย มาเป็นมหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2530 ท่านจึงขออนุญาตเปิดวิทยาเขตชลบุรี ขึ้นในปี พ.ศ. 2530 อีกแห่งหนึ่ง
ดร.สุข พุคยาภรณ์ ถึงแก่กรรมไปเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2535
สิริรวมอายุได้ 76 ปี
สิริรวมอายุได้ 76 ปี
ท่านคือ ผู้ที่เพียรพยายามที่จะสอนสั่งและอบรมบ่มเพาะให้ผู้เกี่ยวข้องกับท่านทำงาน ด้วยหลักการ “ริเริ่ม รอบรู้ รวดเร็ว และเรียบร้อย”