Review สาขาการออกแบบอินเทอร์แอคทีฟและเกม (INTERACTIVE AND GAME DESIGN)

 

คณะดิจิทัลมีเดีย สาขาการออกแบบอินเทอร์แอคทีฟและเกม
นักศึกษาจะได้เรียนรู้การออกแบบสื่อในรูปแบบดิจิทัลที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ ซึ่งต้องมีการประยุกต์ใช้การเขียนโปรแกรสำหรับการออกแบบมัลติมีเดียเพื่อใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน สื่อการเรียนการสอน รวมถึงมัลติมีเดียที่ใช้ในงานนิทรรศการและพิพิธภัณฑ์แบบอินเทอร์แอคทีฟ การออกแบบเกมและการออกแบบกราฟิกสำหรับใช้ในเกมทั้งรูปแบบ 2 มิติและ 3 มิติ

แผนการเรียนและโครงสร้างหลักสูตร
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป คือ กลุ่มรายวิชาเกี่ยวกับความรู้รอบตัวเพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีคุณสมบัติตามวัตถุประสงค์ เช่น กลุ่มภาษา กลุ่มสังคมและมนุษยศาสตร์ กลุ่มคณิตและวิทยาศาสตร์
2. หมวดวิชาเฉพาะ เป็นวิชาของสาขาโดยตรงแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้
2.1 กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ คือ กลุ่มรายวิชาที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกทักษะทางด้านศิลปะและคอมพิวเตอร์กราฟิกขั้นเบื้องต้น ส่วนใหญ่อยู่ในรายวิชาของชั้นปีที่ 1 เช่น การวาดเส้น การใช้สี การถ่ายภาพ คอมพิวกราฟิกเบื้องต้น
2.2 กลุ่มวิชาชีพบังคับ คือ กลุ่มรายวิชาเฉพาะของสาขาที่เป็นพื้นฐานด้านการผลิตที่เรียนด้วยกันทั้งอินเทอร์แอคทีฟและเกม เช่น การวาดสตอรี่บอร์ด การออกแบบกราฟิกเคลื่อนไหว การทดลองอินเทอร์แอคทีฟและเกม การสร้างรูปทรงและภาพเคลื่อนไหว 3 มิติ
2.3 กลุ่มวิชาชีพเลือก คือ กลุ่มรายวิชาเพื่อสร้างทักษะและความเชี่ยวชาญเฉพาะของวิชาชีพโดยแบ่งออกเป็น  2 กลุ่ม ได้แก่
สาขาวิชาการออกแบบอินเทอร์แอคทีฟและเกม (Interactive and Game Design) มีรายละเอียดหลักสูตรแบ่งได้ 2 กลุ่มวิชาชีพเลือก ได้แก่
– กลุ่มวิชาชีพเลือกอินเทอร์แอคทีฟ
ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบสื่อในรูปแบบดิจิทัลที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ ซึ่งต้องมีการประยุกต์ใช้การเขียนโปรแกรมสำหรับการออกแบบมัลติมีเดียเพื่อใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน เช่น เว็บไซต์ CD สื่อการเรียนการสอน รวมถึงมัลติมีเดียที่ใช้ในงานนิทรรศการและพิพิธภัณฑ์แบบอินเทอร์แอคทีฟ เช่น มิวเซียมสยาม เป็นต้น
– กลุ่มวิชาชีพเลือกเกม
เรียนเกี่ยวกับการออกแบบเกมและการออกแบบกราฟิกสำหรับใช้ในเกมทั้งรูปแบบ 2 มิติและ 3 มิติ เช่น การออกแบบฉากและตัวละคร การออกแบบด่าน (Level Design) และการออกแบบวิธีการเล่นเกม เป็นต้น
3. หมวดวิชาเลือกเสรี คือ กลุ่มรายวิชานอกเหนือจากในหลักสูตรที่สามารถเลือกเรียนได้อย่างอิสระ โดยจะเลือกเรียนวิชาของสาขาอื่นในคณะเดียวกัน หรือรายวิชาของคณะอื่น

 

จุดเด่นของสาขาการออกแบบอินเทอร์แอคทีฟและเกม
เรียนรู้การออกแบบสื่อดิจิทัลที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้ เช่น แอปพลิเคชัน(Application) เว็บไซต์(Web Site) อินสตอลเลชัน(Installation) สื่อการเรียนการสอน(e-Learning) ดิจิทัลแม็กกาซีน(Digital Magazine) รวมถึงการพัฒนาเกม ซึ่งจะเรียนรู้การออกแบบเกม(Game Design) การออกแบบวิธีการเล่นเกม และการเขียนโปรแกรม(Game Programming) และการพัฒนาเกมหรือแอปพลิเคชัน เพื่อธุรกิจดิจิทัล (Tech Startup)

 

เรียนจบแล้วทำอาชีพอะไร?
– Interactive Programmer
โปรแกรมเมอร์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเขียนโปรแกรมกราฟิกเพื่อใช้ในการพัฒนามัลติมีเดียประเภทต่างๆ เช่น เว็บไซต์ สื่อการเรียนการสอนในรูปแบบ CD-ROM Kioskแบบหน้าจอทัชสกรีน และเกมแฟลช เป็นต้น
– Web Developer
นักพัฒนาเว็บไซต์ ผู้สร้างระบบสำหรับเว็บไซต์เพื่อเชื่อมโยงส่วนประกอบต่างๆของหน้าเว็บเข้าด้วยกัน รวมถึงการค้นคว้าวิจัยเทคโนโลยี่ใหม่ๆ สำหรับการประมวลผลเว็บไซต์และการเขียนโปรแกรมเกี่ยวกับการจัดทำเว็บไซต์
– Web Designer
นักออกแบบเว็บไซต์ ผู้ที่ทำงานด้านการออกแบบจัดวางข้อมูลต่างๆของเว็บไซต์ ให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการแสดงเนื้อหาหรือข้อมูลได้อย่างชัดเจน เข้าใจง่าย และน่าสนใจ รวมถึงการออกแบบเว็บไซต์และส่วนประกอบต่างๆของเว็บไซต์
– Game Designer
นักออกแบบเกม ผู้ออกแบบวิธีการเล่นเกม(Gameplay) กฎเกณฑ์ในการเล่น รวมถึงระบบและโครงสร้างของเกมโดยคำนึงถึงความสนุกและความน่าสนใจในการเล่นเกม
– Concept Artist for game
ศิลปินผู้ออกแบบและสร้างสรรค์งานภาพของเกมจากแนวความคิดในขั้นเบื้องต้น เช่น ตัวละคร ฉาก และไอเท็ม เป็นต้น เพื่อแสดงให้เห็นภาพรวมของเกมและกำหนดแนวทางเริ่มต้นในการทำงานออกแบบเกมในขั้นตอนต่อไป

#เรียนกับตัวจริงประสบการณ์จริง #มหาวิทยาลัยศรีปทุม #คณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม #ดิจิทัลมีเดีย ศรีปทุม #สาขาการออกแบบอินเทอร์แอคทีฟและเกม มหาวิทยาลัยศรีปทุม #คณะดิจิทัลมีเดีย สาขาการออกแบบอินเทอร์แอคทีฟและเกม #อินเตอร์แอคทีฟและเกม #อินเตอร์แอคทีฟ มัลติมีเดีย #ศรีปทุม คณะดิจิทัลมีเดีย

Share:

Facebook
Twitter
Pinterest
LinkedIn

Most Popular

Categories

News

Related Posts

คณะเทคโนโลยีฯ SPU ผนึก BDI ต่อยอดความสำเร็จ! เปิดหลักสูตร Data Science รุ่น 2 เสริมแกร่งทักษะวิเคราะห์ข้อมูล

กลับมาอีกครั้ง กับความร่วมมือของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม และสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน)

คณะการออกแบบฯ SPU พานักศึกษาเปิดโลกเรียนรู้จริงที่ Saint-Gobain ผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้างระดับโลก

นักศึกษาคณะการออกแบบและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้มีโอกาสเปิดโลกการเรียนรู้แบบมืออาชีพ ด้วยการเยี่ยมชมและลงมือปฏิบัติจริง ณ

เด็กการออกแบบฯ SPU ปี 1 โชว์ผลงาน ‘Cubes’ จากเทคโนโลยี 3D Printing ในงานสถาปนิก’68

คณะการออกแบบและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ร่วมจัดแสดงนิทรรศการผลงานของสถาบันการศึกษาในงาน “สถาปนิก’68” ณ

นักศึกษาสถาปัตย์ ม.ศรีปทุม คว้ารางวัล Final Production ระดับดี-ดีเยี่ยม เวที ASA WORKSHOP 2025 ในงานสถาปนิก’68

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาจากคณะการออกแบบและสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาสถาปัตยกรรม ได้แก่ นางสาวณัฐรีย์