“อ.ช้าง – วรสรวง” ผู้ผลักดัน E-Learning ศรีปทุม สู่เวทีระดับชาติ

ชื่อ-สกุล ดร.วรสรวง ดวงจินดา
ชื่อเล่น อ.ช้าง
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการ สำนักการจัดการศึกษาออนไลน์
ประวัติการศึกษา
ปริญญาโท 2 ใบ
Master of Information Technology (M.I.T.) Queensland University of Technology (QUT) 1997-1998
Master of Technology Management (MTM), Information Technology Project Management Griffith University 1998 – 1999
ปริญญาเอก
Doctor of Philosophy (Ph.D.), Information Technology 2014 Sripatum University
รู้จักมหาวิทยาลัยศรีปทุมได้อย่างไร
ได้รู้จักศรีปทุมเพราะได้ยินชื่อเสียงว่าเป็น มหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำ โดยเข้ามาโดยสมัครทุนปริญญาเอกและได้รับโอกาสศึกษาต่อทางด้านไอที โดยส่วนตัวเพราะเชื่อมั่นในศรีปทุมและในคุณภาพของมหาวิทยาลัยศรีปทุมด้วยครับ รู้สึกภูมิใจที่ศรีปทุมให้โอกาสในการเป็นอาจารย์ในคณะไอที ปฏิบัติหน้าที่ในวิเทศสัมพันธ์
การก้าวเข้ามาในบทบาทใหม่
เริ่มเข้าสู่บทบาทผู้เชียวชาญด้าน ที่มหาวิทยาลัยศรีปทุม ในการช่วยการวางแผนการจัดการ e-learning ซึ่งระบบ e-learning ของ ศรีปทุม ปัจจุบัน เริ่มมาตั้งแต่2006 อยู่แล้ว ดูแล้ว น่าจะเป็นระบบธรรมดา ตามความจริงเป็นระบบ ที่มีความสามารถสูง เราเชื่อมโยงระบบ e-learning เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์กับนักศึกษา ฐานข้อมูล ทำให้ง่ายแก่การเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยศรีปทุม ซึ่งมหาวิทยาลัยอื่นไม่มี ที่ศรีปทุม เป็นระบบอัตโนมัติ เพื่อตอบโจทย์ นักศึกษาทั้งมหาลัย ทำให้เราได้รับการชนะเลิศการจัดการระบบ e-learning ในระดับอุดมศึกษา จากกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อปี 2011 โดยในปีนั้นคะแนนเราโดดเด่นมาก
ผลงานด้านการพัฒนา e-learning
การเรียนการสอนออนไลน์ ในระบบe-Learning นั้นถือได้ว่ามีบทบาทสำคัญในการศึกษาปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะปัจจุบัน มีเครื่องไม้เครื่องมือ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโมบายโฟน แท็ปแล็ต โน๊ตบุ๊ค สิ่งเหล่านี้ ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายและสะดวก มหาวิทยาลัยศรีปทุมได้เห็นความสำคัญของการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ จึงได้จัดทำระบบ e-Learning ขึ้นมา ซึ่งระบบe-Learning ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม เป็นการจัดการที่ดี และได้รับการยอมรับในระดับสากล ซึ่งถือว่าเป็นความสำเร็จ มหาวิทยาลัยก็ว่าได้ เนื่องจากระบบจัดการe-Learning ของมหาวิทยาลัย ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในองค์กร ทั้งคณะผู้บริหาร อาจารย์ เจ้าหน้าที่ เช่น e-Learning ที่ทุกคณะจะต้องให้ความร่วมมือ ,ระบบ อินฟาร์สตรัคเจอร์ หรือ ระบบโครงสร้างพื้นฐาน โดยศูนย์ICT จะดูแลเรื่อง เซิฟเวอร์ ,สำนักการจัดการออนไลน์ จะต้องจัดระบบให้เกิดประโยชน์ อย่างไรก็ตามการจัดระบบ e-Learning ของมหาวิทยาลัย จะเรียกว่าเป็นสิ่งใหม่ ก็ไม่แปลก แต่สิ่งเหล่านี้ย่อมมีอุปสรรค หรือปัญหาอยู่บ้าง เนื่องจากระบบของมหาวิทยาลัย ไม่เคยบูรณาการอัพเดทเวอร์ชั่นเลย แต่ก็ยังพบว่า สถิติ การเข้าใช้ระบบ e-Learning ในนักศึกษาทุกคนเข้ามาใช้สัปดาห์ละครั้งเป็นอย่างต่ำ ถือเป็นสถิติที่สูงมาก นอกจากนั้น ระบบ e-Learning ของมหาวิทยาลัย ยังลิ้งค์หน้าจอแบบอัตโนมัติ ซึ่งนักศึกษา สามารถเข้าไปดูวีดีโอการสอนของอาจารย์ได้ หากไม่สามารถเข้าเรียนในรายวิชานั้นได้ ซึ่งระบบนี้จะเหมือน มหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาก็ใช้เช่นเดียวกัน
ความภาคภูมิใจ
-บทความที่ใช้ในการเป็นส่วนประกอบของการเรียนได้รับรางวัล Best Paper วารสารระดับนานาชาติที่เกาหลี ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงระบบการจัดการที่ดีของศรีปทุม ที่ทำให้ผมได้รับรางวัล
-ได้รับทุนจาก APEC ให้ไปอบรมที่เกาหลี โดยได้รับเลือกเป็นอาจารย์จาก ม.เอกชน เพียงผู้เดียว
-ได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้ประสานงานโครงการต่างๆของ APEC ประจำประเทศไทยตั้งแต่ปี 2006-2016
-2017 ได้ร่วมทำโครงการกับ APEC โดยใช้ e-Learning
-ยูเนสโก ขอให้แปลปฑินญา โดยร่วมมือกับสำนักกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ โดยทางยูเนสโกนำบทความจากการแปลครั้งนี้ไปวางไว้บนหน้าเวปของยูเนสโก
-สกอ.เอาข้อมูล e-Learning ไปแขวนไว้เป็นตัวอย่างในระดับอุดมศึกษา อยู่บนเว็ปของ ม.ไซเบอร์ไทย จนถึงทุกวันนี้
-การเป็นมหาวิทยาลัยต้นแบบในการใช้เทคโนโลยีเสริมการเรียนรู้ ของ ควอท.
-ได้รับเชิญเป็นวิทยากร เกี่ยวกับด้าน e-Learning ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม ในเวทีต่างประเทศมาแล้วหลายประเทศ
ทิศทางการพัฒนาระบบในอนาคต
ตอนนี้ทิศทางการพัฒนาระบบของมหาวิทยาลัยศรีปทุม เน้นไปที่การเรียนการสอนออนไลน์ เพื่อเสริมทักษะของนักศึกษายุคใหม่โดยจะมุ้งเน้นการใช้ virtual reality โดยที่ทางเราจะพยายามหาระบบที่เหมาะกับความเป็นตัวตนของมหาวิทยาลัยศรีปทุมจริงๆ โดยไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณมหาศาล ทั้งนี้ในทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น อาจเป็นเพราะโอกาส อยากขอบคุณ ท่านอธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีปทุม ที่ได้ให้โอกาสนี้