SPU : ครั้งหนึ่งในชีวิต!! “พีรัช”นศ.ม.ศรีปทุม ตั้งเป้าเป็นตัวแทนทีมชาติไทยลงแข่ง “อีสปอร์ต” เอเชียนเกมส์ 2022

 

พีรัช อิงคุทานนท์  ตั้งเป้าเป็นตัวแทนทีมชาติไทยลงแข่งขันกีฬาอีสปอร์ต ในมหกรรมกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชียอย่าง กีฬาเอเชียนเกมส์ 2022 ที่ประเทศจีน หลังจากสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย หรือ โอซีเอ ได้บรรจุ อีสปอร์ต เข้าแข่งขันในกีฬาเอเชียนเกมส์เป็นที่เรียบร้อย เริ่มตั้งแต่เอเชียนเกมส์ 2018 ที่ประเทศอินโดนีเซีย ที่บรรจุ “อีสปอร์ต” เป็นกีฬาสาธิตเป็นที่เรียบร้อย

หลังจากที่ประชุมคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย หรือ บอร์ด กกท. ได้มีมติเห็นชอบประกาศให้ อีสปอร์ต  เป็นชนิดกีฬาที่สามารถจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬาได้ตาม พ.ร.บ.การกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 รวมถึง โอซีเอ ก็ได้บรรจุอีสปอร์ตลงชิงชัยเหรียญรางวัลในกีฬาเอเชียนเกมส์ 2022 ที่จีนด้วยนั้น
ทำให้กระแสกีฬา อีสปอร์ต ในเอเชีย รวมถึงประเทศไทยเริ่มตื่นตัวมากขึ้น อีกทั้งหลายมหาวิทยาลัยเริ่มมีการจัดตั้งคณะขึ้นมาเพื่อรองรับกีฬาอีสปอร์ตอย่างจริงจัง และมีนักกีฬาฝีมือดีอยู่ในประเทศไทยหลายคน

หนึ่งในนั้นก็คือ “น้องพี” พีรัช อิงคุทานนท์ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขา คอมพิวเตอร์แอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต์คณะดิจิทัลมีดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม นักกีฬาอีสปอร์ต ที่มีความเก่งกาจในเกม Counter Strike โดย “น้องพี” ใช้เวลาแค่เพียง 1 ปีไต่อันดับขึ้นมาเป็นมือวางอันดับ 9 ของโลก และเป็นอันดับที่ 4 ของเอเชีย ได้เป็นที่เรียบร้อย
โดย “น้องพี” เล่าถึงที่มาของการหันมาสนใจกีฬาอีสปอร์ตอย่างจริงจังว่า เริ่มสนใจกีฬาชนิดนี้ หลังจากกลับจากออสเตรเลีย โดยเพื่อนๆ แนะนำให้เล่น จากนั้นเริ่มเล่นและแข่งขันกับทีมต่างๆ โดยใช้ชี่อเล่นเกมว่า Olivia

“น้องพี” อันดับ 9 ของโลกในเกม Counter Strike และอันดับ 4 ของเอเชีย

นอกจากนี้ “น้องพี” ยังเคยเป็นหนึ่งในนักกีฬาของทีม ซิกเนเจอร์ เกมมิ่ง ทีมอันดับ 1 ของประเทศไทย เป็นเวลา 1ปี ก่อนจะออกมาตั้งทีมร่วมกับเพื่อนอีก 4 คน ใช้ชื่อ Glassy Sky และตระเวนแข่งขันทั้งในประเทศ และต่างประเทศ จนทีม NSPR Gaming สวีเดน เห็นผลงานยอดเยี่ยมจึงเซ็นสัญญาเป็นสปอนเซอร์เป็นเวลา 1 ปี แลกกับชัยชนะในการแข่งขันเกมโดยต้องเข้ารอบ Final e-Sport ให้ได้
“หลายคนมองว่า เด็กที่เล่นเกม เป็นเด็กที่ติดเกม ทำให้เสียเงินทอง เสียเวลา และเสียการเรียน แต่ในความเป็นจริงไม่ใช่แบบนั้น เช่นตัวผมเอง ผมใช้เวลาฝึกฝนเกมเพียงวันละ 3 ชั่วโมง เล่นเพื่อเป็นนักกีฬา และสามารถสร้างรายได้เลี้ยงตัวเองได้ด้วย ที่สำคัญเกมทำให้คนมีวินัย” น้องพี ให้ข้อคิดถึงกีฬาอีสปอร์ต

ส่วนเป้าหมายสำคัญที่วางเอาไว้หลังจากนี้คือ ฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ และตั้งเป้าที่จะเป็นตัวแทนทีมชาติไทยในกีฬาเอเชียนเกมส์ ปี 2022 ที่ประเทศจีน และการเรียนหนังสือในระดับมหาวิทยาลัย เพราะยุครุ่งเรืองของนักกีฬาอีสปอร์ต คือ ช่วงอายุ 21-23 ปี เมื่อถึง 24-26 จะเริ่มช้าลง มีเด็กรุ่นใหม่ที่กระหายชัยชนะจะทุ่มเทกับเกมและจะแซงขึ้นมาเมื่อถึงเวลานั้นเตรียมวางแผนจะผันตัวเองเปลี่ยนจากผู้เล่นเกม ไปเป็นผู้จัดการเกมอีสปอร์ต ดังนั้นจึงเลือกเรียนหลักสูตรอีสปอร์ตเพื่อเลี้ยงชีพในอนาคต
“ใน สวีเดน จีน และอีกหลายประเทศ มีการเปิดสอน อีสปอร์ต มานานกว่า 4ปี ผมไม่คิดว่า เมืองไทยจะมีการเปิดสอนหลักสูตรนี้ด้วย จนคุณแม่บอกว่าที่มหาวิทยาลัยศรีปทุมมีการเปิดหลักสูตรอีสปอร์ต จึงมาสมัครเรียน เพราะรู้สึกว่า เป็นหลักสูตรที่ตรงกับความต้องการและใช้ได้ในชีวิตจริง” น้องพี กล่าว

นอกจากนี้ “น้องพี” ยังฝากถึงทุกคนที่จะหันมาเอาดีเป็นนักกีฬาอีสปอร์ตว่า อยากให้ทุกคนพัฒนาอาชีพนี้จากความชอบก่อน แล้วค่อยเพิ่มความจริงจังเพื่อเป็นอาชีพ เพราะถ้าหากเรามีความชอบเป็นตัวขับเคลื่อน เราก็จะทำอาชีพนั้นได้ดี
โดยหลังจากนี้หวังว่า จะได้มีโอกาสเป็นตัวแทนนักกีฬาอีสปอร์ตของประเทศไทยเพื่อไปแข่งขันเอเชียนเกมส์ 2022 และสำหรับทุกคนที่รักและชื่นชอบในกีฬาอีสปอร์ตเหมือนกัน ควรหมั่นฝึกฝน และหาความรู้เพื่อพัฒนาให้กลายเป็นนักกีฬาอีสปอร์ตที่มีความสามารถ

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคณะดิจิทัลมีเดีย  มหาวิทยาลัยศรีปทุม
โทร. 0-2579-1111 ต่อ 2000   โทรสาร 0 2579 1111 ต่อ 1999
อีเมล์ :  เว็บไซต์ https://www.spu.ac.th/fac/sdm/
หรือติดตามกิจกรรมต่างๆได้ที่  https://www.facebook.com/sdmspu
หรือเยี่ยมชมวิดีทัศน์แนะนำมหาวิทยาลัยศรีปทุมได้ที https://www.youtube.com/user/Schoolofdigitalmedia
#SRIPATUM #SPU #มหาวิทยาลัยศรีปทุม #เรียนกับตัวจริง ประสบการณ์จริง #SPUสร้างผู้ประกอบการ #ดิจิทัลมีเดียม.ศรีปทุม

Share:

Facebook
Twitter
Pinterest
LinkedIn

Most Popular

Categories

News

Related Posts

คณะนิเทศฯ SPU ต้อนรับ ผู้บริหาร ม.แม่โจ้ เยี่ยมชมการเรียนการสอน SPUCA 2.0 ผสานเทคโนโลยี-ความคิดสร้างสรรค์ เสริมแกร่งนักนิเทศศาสตร์ยุคใหม่

ผศ.มานินทร์ เจริญลาภ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ พร้อมคณะผู้บริหาร มหาวิทยาลัยศรีปทุม

‘อ.เมธี’ ร่วมเวที ‘AI for Teaching and Learning’ แชร์กรณีศึกษาการใช้ AI ยกระดับห้องเรียนยุคใหม่

อาจารย์เมธี วิเชียรสรรค์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม

SPU ร่วมยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยด้านโลจิสติกส์อบรมหลักสูตร ‘Transport Safety Manager (TSM)’ เสริมศักยภาพบุคลากรขนส่งไทย

วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม ร่วมกับ สมาคมขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ไทย (TTLA)