“Engineering SPU” สอนน้องทำอาชีพวิศวกรยุคโควิดครองเมือง จากประสบการณ์สู่การปฎิบัติจริง

“Engineering SPU” สอนน้องทำอาชีพวิศวกรยุคโควิดครองเมือง จากประสบการณ์สู่การปฎิบัติจริง

ผศ.ดร.ชลธิศ เอี่ยมวรวุฒิกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม (SPU) เปิดเผยว่า Engineering SPU จัดให้มีโครงการ”การประชุมนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2563” ในรูปแบบออนไลน์ Live สดผ่าน Facebook Fanpage: EngineerringSripatum โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้นำความรู้จากห้องเรียนและการเรียนกับตัวจริง ประสบการณ์จริง สู่การประยุกต์ใช้กับการปฎิบัติงานจริงในอนาคต ลักษณะกิจกรรมเป็นการเสวนาร่วมพูดคุย ในหัวข้อเรื่อง “อาชีพวิศวกร ยุคโควิดครองเมือง”  ซึ่งแบ่งเป็น 3 ช่วง โดยมี ผศ.ดร.ชลธิศ เอี่ยมวรวุฒิกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ,ผศ.ดร.ชวลิต มณีศรี ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางวิศวกรรม และผศ.ดร.ชิษณุ อัมพรายน์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา เป็นพิธีกรดำเนินรายการ (online)

“Engineering SPU” สอนน้องทำอาชีพวิศวกรยุคโควิดครองเมือง จากประสบการณ์สู่การปฎิบัติจริง

จากสถานการณ์การระบาดของโควิด เกิดความไม่แน่นอนในทั้งในด้านการเรียนการสอน และการประกอบวิชาชีพ ทุกๆอย่างกำลังเปลี่ยนไป คำศัพท์หนึ่งที่พูดถึงในยุค New Normal คือ V.U.C.A.
(Volatility) เหวี่ยงๆ ขึ้นๆลงๆ (Uncertainty) ไม่แน่นอน U-Turn ตลอด (Complexity) ซับซ้อน ยุ่งยาก(Ambiguity) อืมมมม….คลุมเครือ ไม่ชัดเจน

“Engineering SPU” สอนน้องทำอาชีพวิศวกรยุคโควิดครองเมือง จากประสบการณ์สู่การปฎิบัติจริง

สำหรับช่วงที่ 1 เป็นช่วงอาจารย์รับเชิญ ได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.ภรชัย จูอนุวัฒนกุล หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ประยุกต์ ,ผศ.ดร.ไพจิตร ผาวัน หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโยธาและการพัฒนาเมือง และดร.เทพฤทธิ์ ทองชุบ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมระบบเครื่องกลและนวัตกรรมอุตสาหกรรม เป็นการเสวนาพูดคุยเกี่ยวกับการ Update…ใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรม และ การเรียนในยุค New Normal
•ปัจจุบันการขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมยังเป็นการสอบวัดผลอยู่  อย่างไรก็ตามในอนาคตอันใกล้นี้ จะไม่มีการสอบแต่เปลี่ยนรูปแบบเป็นอย่างอื่น โดยเน้นความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพบนพื้นฐานขององค์ความรู้ที่จำเป็นของแต่ละสาขา  ซึ่งสอดคล้องกับการปรับปรุงหลักสูตรของคณะเช่นกัน
•การเรียนในยุค New Normal มีการปรับตัวและยืดหยุ่นตามสถานการณ์ ใช้การจัดการการที่มีประสิทธิภาพและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนโดยคงไว้ซึ่งคุณภาพตามหลักวิชาการ เช่น การแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติให้เล็กลง (Small Lot)  การฝึกสหกิจศึกษาแบบระบบปิด เป็นต้น
จากนั้นอาจารย์ได้เล่าเรื่องเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพต่อว่า การประยุกต์ใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพกับการปฏิบัติงานจริง ร่วมกับการใช้งานเทคโนโลยี  จากการพูดคุยนี้จึงมีหัวข้อที่อาจจะมีการจัดเสวนาออนไลน์อีกหลายหัวข้อ เช่น BIM (Building Information Modeling)  Smart Farm  ระบบราง  การออกแบบระบบปรับอากาศในสถานการณ์โควิด เป็นต้น  โดยรายละเอียดแต่ละสาขาคือ
•ด้านวิศวกรรมไฟฟ้าฯ – การประยุกต์ใช้ความรู้ด้านระบบอัตโนมัติในการเกษตร (โครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ หลักสูตรระยะสั้น รุ่นที่ 3)  การออกแบบระบบพลังงานทางเลือกโซล่าเซลล์ทั้งในการเรียนการสอนและการบริการวิชาการด้วยโปรแกรม PVSYST และ Designer ของ Solar Edge   การออกแบบและใช้งานเครื่องตัดไฟรั่ว (Residual Current Device: RCD) การแก้ปัญหาระบบไฟฟ้าและอนุรักษ์พลังงานในอาคารอุตสาหกรรม รวมถึงการใช้ BIM ในการออกแบบและจัดการงานระบบอาคาร
•ด้านวิศวกรรมโยธาฯ – แนะนำผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมโยธาทั้งในด้านโครงสร้าง การทดสอบวัสดุ  การวางผังเมือง การบริหารจัดการก่อสร้าง เป็นต้น การทำงานด้านโยธายังมีการปฏิบัติหน้างานอยู่เหมือนเดิม แต่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เช่น BIM ในการออกแบบและจัดการงานก่อสร้าง
•ด้านวิศวกรรมเครื่องกลฯ – ถือเป็นส่วนสำคัญในปัจจุบันที่อยู่ในสถานการณ์โควิด คือ การออกแบบระบบปรับอากาศ ทั้งห้องความดันบวกและห้องความดันลบที่ใช้ในรถพยาบาล ห้องผ่าตัด ห้องทันตกรรม และตู้ตรวจเคลื่อนที่ (Swap Mobile Unit)  และมีอีกสาขาหนึ่งที่ใช้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เช่น BIM ในการออกแบบส่วนงานระบบและการขึ้นแบบ 3 มิติ
•นอกเหนือจากหลักสูตรระดับปริญญาแล้ว หลักสูตรระยะสั้นเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่มีผู้ให้ความสนใจมาก เช่น Smart Farm  ระบบราง  และยานยนต์สมัยใหม่  การเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ปรับตัวตลอดเวลาเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในยุดโควิด

“Engineering SPU” สอนน้องทำอาชีพวิศวกรยุคโควิดครองเมือง จากประสบการณ์สู่การปฎิบัติจริง

ช่วงที่ 2 ศิษย์ปัจจุบันรับเชิญ 2 ท่าน ซึ่งเป็นเจ้าของรางวัลสหกิจศึกษา ในยุคโควิดครองเมือง นางสาวชนินาถ แสงสิน รหัส 60041994 และนางสาวสกุลทิพย์ ปัณฑิตธาดาพงศ์ รหัส 60029218 ร่วมเสวนาพูดคุยเล่าเรื่องเกี่ยวกับ “รางวัลสหกิจศึกษาระดับประเทศ”
•เข้าไปทำอะไรและอะไรที่ทำให้ได้รับรางวัล – การปรับปรุงการทำงานเพื่อลดของเสียในสายการผลิต สิ่งที่คิดว่าทำให้ได้รางวัลคือ การประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนมา และผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม โดยสามารถลดต้นทุนได้ 400,000 ต่อปี  ขณะที่อีกหัวข้อเป็นการประยุกต์ใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการควบคุมวัสดุคงคลัง ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนมาเช่นกัน ทำให้เจ้าของกิจกรรมสามารถตัดสินใจในการสั่งวัตถุดิบ ควบคุมวัสดุคงคลัง และสั่งผลิตได้แม่นยำและรวดเร็วมากขึ้น
•สิ่งที่ทำให้ประสบความสำเร็จ – ความตั้งใจ ความขยัน ความอดทน  ความพร้อมรับความรู้ใหม่ประสบการณ์ใหม่  และการกล้าที่จะถามในสิ่งที่สงสัย

“Engineering SPU” สอนน้องทำอาชีพวิศวกรยุคโควิดครองเมือง จากประสบการณ์สู่การปฎิบัติจริง

และช่วงที่ 3 ช่วงสุดท้าย เป็นช่วงศิษย์เก่ารับเชิญ 3 ท่าน ได้แก่ นายทินกฤต มีชัย ตำแหน่งวิศวกรเครื่องกล ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ,นายวัชรินทร์ ขวัญซ้าย ตำแหน่งผู้จัดการโครงการ บริษัทแสงฟ้าก่อสร้าง จำกัด และนายสาธิต มาเฮง กรรมการผู้จัดการ บริษัท 12 มิถุนายน วิศวกรรม จำกัด. ร่วมพูดคุยถ่ายทอดความรู้และแชร์ประสบการณ์ตรงในการทำงาน เกี่ยวกับ“วิชาชีพวิศวกรรมและผลกระทบจาก COVID -19”

“Engineering SPU” สอนน้องทำอาชีพวิศวกรยุคโควิดครองเมือง จากประสบการณ์สู่การปฎิบัติจริง

•ศิษย์เก่าเล่าประวัติความเป็นมาในการเรียน การทำงานตั้งแต่จบการศึกษาจนถึงปัจจุบัน  ทำให้เห็นพัฒนาการ และแนวคิดในการทำงาน

“Engineering SPU” สอนน้องทำอาชีพวิศวกรยุคโควิดครองเมือง จากประสบการณ์สู่การปฎิบัติจริง

•การปรับตัวในยุคโควิด  โดยเฉพาะการบริหารโครงการบริษัทเอกชน และเจ้าของกิจการ มีหลักการสำคัญคือ การรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์  การประเมินความเสี่ยงและการบริหารจัดการเพื่อให้เป็นไปตามแผนงาน  การเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส เช่น  การบำรุงรักษาอุปกรณ์ที่สามารถเข้าไปทำได้สะดวกมากขึ้นจากการที่ลูกค้าส่วนใหญ่ WFH  โดยเพิ่มทักษะให้ทีมติดตั้งซึ่งงานลดลงมาสนับสนุนและปรับเปลี่ยนเป็นทีมซ่อมบำรุง  ทำให้ธุรกิจยังคงอยู่รอดได้

“Engineering SPU” สอนน้องทำอาชีพวิศวกรยุคโควิดครองเมือง จากประสบการณ์สู่การปฎิบัติจริง

•สิ่งที่อยากฝากให้กับรุ่นน้อง – ทัศนคติต่อการทำงาน  การปรับตัว  การเรียนรู้สิ่งใหม่ และการเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส

“Engineering SPU” สอนน้องทำอาชีพวิศวกรยุคโควิดครองเมือง จากประสบการณ์สู่การปฎิบัติจริง

ผศ.ดร.ชลธิศ เอี่ยมวรวุฒิกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ เผยต่อว่า กิจกรรมการเสวนาออนไลน์ดังกล่าว จะพูดเกี่ยวกับประเด็น ดังนี้ การสรุปทักษะที่ต้องมี ในวิชาชีพวิศวกรรม ยุคหลังโควิด ครองเมือง ,การประยุกต์ใช้หลักวิศวกรรมอย่างถูกต้อง… ใช้ข้อมูล ไม่ใช้ความเชื่อ ,การรู้จักใช้เทคโนโลยีดิจิทัล อย่างมืออาชีพ ,การใช้ทักษะในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ภายใต้ความไม่แน่นอนและคลุมเครือ ,การยืดหยุ่นปรับตัว เรียนรู้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง… และการรอบรู้ข้ามศาสตร์ตระหนักเรื่องความปลอดภัย คุณภาพชีวิตที่ดี  ….ที่นี่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เราสร้างวิศวกรมืออาชีพ ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม

“Engineering SPU” สอนน้องทำอาชีพวิศวกรยุคโควิดครองเมือง จากประสบการณ์สู่การปฎิบัติจริง

“Engineering SPU” สอนน้องทำอาชีพวิศวกรยุคโควิดครองเมือง จากประสบการณ์สู่การปฎิบัติจริง

“Engineering SPU” สอนน้องทำอาชีพวิศวกรยุคโควิดครองเมือง จากประสบการณ์สู่การปฎิบัติจริง

“Engineering SPU” สอนน้องทำอาชีพวิศวกรยุคโควิดครองเมือง จากประสบการณ์สู่การปฎิบัติจริง

“Engineering SPU” สอนน้องทำอาชีพวิศวกรยุคโควิดครองเมือง จากประสบการณ์สู่การปฎิบัติจริง

“Engineering SPU” สอนน้องทำอาชีพวิศวกรยุคโควิดครองเมือง จากประสบการณ์สู่การปฎิบัติจริง

“Engineering SPU” สอนน้องทำอาชีพวิศวกรยุคโควิดครองเมือง จากประสบการณ์สู่การปฎิบัติจริง

Share:

Facebook
Twitter
Pinterest
LinkedIn

Most Popular

Categories

News

Related Posts

คณะเทคโนโลยีฯ ศรีปทุม ผนึกพันธมิตร จัดแข่งขัน ‘SPU AI Prompt Mini Hackathon 2025’ ชวนเยาวชนพิชิตภารกิจ AI ชิงรางวัลรวมกว่า 30,000 บาท

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC),

วิทยาลัยการบิน การท่องเที่ยวและการบริการ ม.ศรีปทุม ต้อนรับผู้บริหารจากสถาบันการศึกษาชั้นนำประเทศฟิลิปปินส์ เดินหน้าขยายความร่วมมือทางวิชาการสู่ระดับนานาชาติ

วิทยาลัยการบิน การท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดกิจกรรม Campus Visit ต้อนรับคณะผู้บริหารจากสถาบัน Dream

ศิลปศาสตร์ SPU ลงพื้นที่เยี่ยมชมบริษัท LOPIA ณ ประเทศญี่ปุ่น เตรียมส่งนักศึกษาฝึกสหกิจ เสริมประสบการณ์จริง สู่อนาคตมืออาชีพระดับนานาชาติ

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม โดย ดร.ณัฐชัย ศรีเอี่ยม

นักศึกษาคณะการสร้างเจ้าของธุรกิจ SPU สุดปัง! ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ ‘Innovator Journey’ เรียนรู้จากสนามจริงกับ 6 บริษัทชั้นนำ

นักศึกษาคณะการสร้างเจ้าของธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ “Innovator Journey”