‘วิศวกรรมระบบราง SPU’ เรียนลึก ฝึกจริง ผลิตมืออาชีพตอบโจทย์อุตสาหกรรมแห่งอนาคต

ในยุคที่ “ระบบราง” กำลังกลายเป็นแกนกลางของการพัฒนาระบบขนส่งในประเทศไทยและทั่วทั้งภูมิภาค มหาวิทยาลัยศรีปทุม (SPU) เดินหน้าสร้างความร่วมมือกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีระบบรางระดับโลก เพื่อผลิตวิศวกรระบบรางรุ่นใหม่ ตอบโจทย์ตลาดแรงงานที่กำลังเติบโตแบบก้าวกระโดด พร้อมส่งนักศึกษาเข้าร่วมแข่งขันเวทีนานาชาติและคว้ารางวัลมาแล้วหลายรายการ สะท้อนถึงศักยภาพในการผลิตบุคลากรคุณภาพเพื่ออนาคตของอุตสาหกรรมระบบรางไทย

ผศ.ดร.ชวลิต มณีศรี หัวหน้าสาขาวิศวกรรมระบบราง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เปิดเผยว่า ขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในช่วงการขยายเครือข่ายระบบรางทั้งในเมืองและระหว่างเมืองอย่างต่อเนื่อง อาทิ โครงการรถไฟทางคู่กว่า 4,000 กม. รถไฟฟ้าในเมืองไม่น้อยกว่า 250 กม. และรถไฟความเร็วสูงมากกว่า 2,000 กม. ภายใน 10–20 ปีข้างหน้า ซึ่งล้วนต้องการบุคลากรเฉพาะทางหลักหมื่นตำแหน่ง

“บุคลากรระบบรางไม่ใช่แค่ช่างก่อสร้างหรือช่างเทคนิคทั่วไป แต่รวมถึงวิศวกรปฏิบัติการ พนักงานขับรถไฟ พนักงานควบคุมสัญญาณ นายสถานี ฝ่ายซ่อมบำรุงและอื่นๆ อีกมาก ทุกตำแหน่งล้วนต้องอาศัยทักษะเฉพาะทางและความเข้าใจเทคโนโลยีขั้นสูง”

มหาวิทยาลัยศรีปทุมจึงวางแนวทางพัฒนาหลักสูตรที่ตอบรับกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยร่วมมือกับ Hunan Vocational College of Railway Technology ประเทศจีน ซึ่งเป็นหนึ่งในสถาบันด้านระบบรางที่ทันสมัยที่สุดของจีน เปิดโอกาสให้นักศึกษา SPU ได้ไปศึกษาและฝึกประสบการณ์ตรงในประเทศจีนเป็นระยะเวลา 1 ปีเต็ม ได้สัมผัสเทคโนโลยีจริง ฝึกงานจริง และเรียนรู้วัฒนธรรมที่หลากหลาย รวมถึงมีโอกาสเข้าแข่งขันเวทีระดับชาติและนานาชาติของจีน

ล่าสุด นักศึกษาวิศวกรรมระบบราง SPU ได้ร่วมทีมกับนักศึกษาจีนในโครงการนวัตกรรมด้านระบบราง และสามารถคว้ารางวัลจากการแข่งขันในประเทศจีนได้หลายรายการ โดยความสำเร็จนี้เกิดจากความกล้าแสดงออก ความสามารถด้านภาษา ทักษะการทำงานเป็นทีม และความรู้เชิงลึกด้านเทคโนโลยี ซึ่งได้รับการบ่มเพาะอย่างเข้มข้นจากทั้งในไทยและระหว่างการไปเรียนรู้ในต่างประเทศ

ผศ.ดร.ชวลิต เผยว่า หลักสูตรของ SPU ไม่เพียงเน้นทฤษฎี แต่ให้น้ำหนักกับการปฏิบัติจริงอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปีการศึกษาแรก และใช้สื่อการเรียนทันสมัย เช่น ระบบ Simulation เสริมความเข้าใจ โดยเนื้อหาครอบคลุมทั้งสายงานซ่อมบำรุง (ตัวรถ, ทางวิ่ง, อาณัติสัญญาณ) และสายปฏิบัติการ (สถานี, ควบคุมการเดินรถ, ขับเคลื่อนรถไฟ) พร้อมเสริมทักษะภาษาไทย-อังกฤษ-จีน เพื่อให้บัณฑิตสามารถทำงานในระบบนานาชาติได้

สำหรับน้อง ๆ มัธยมที่กำลังมองหาเส้นทางชีวิต ผศ.ดร.ชวลิต แนะนำว่า การเรียนด้านวิศวกรรมระบบราง คือการลงทุนเพื่ออนาคตที่คุ้มค่า” เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่กำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มเติบโตสูงในระยะยาว โดยเฉพาะเมื่อลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานแล้ว ก็ยังต้องมีบุคลากรคอยให้บริการและบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ ทำให้มีโอกาสในการทำงานสูง และเป็นสายงานเฉพาะที่มีการแข่งขันต่ำเมื่อเทียบกับสาขาวิศวกรรมอื่น

สำหรับน้อง ๆ มัธยมที่กำลังมองหาเส้นทางชีวิต ผศ.ดร.ชวลิต แนะนำว่า การเรียนด้านวิศวกรรมระบบราง คือการลงทุนเพื่ออนาคตที่คุ้มค่า เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่กำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มเติบโตสูงในระยะยาว โดยเฉพาะเมื่อลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานแล้ว ก็ยังต้องมีบุคลากรคอยให้บริการและบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ ทำให้เป็นสายงานเฉพาะทางที่มีโอกาสได้งานสูง ยิ่งเรียนตรงสายด้านวิศวกรรมระบบราง ก็ยิ่งเพิ่มความได้เปรียบในการเข้าสู่ตลาดแรงงานอย่างมั่นใจ

#ระบบรางSPU #วิศวกรรมระบบราง #วิศวะศรีปทุม #spusoe #SPURailwayEngineering #เรียนลึกฝึกจริง #spuAIเพื่อนซี้24ชม

Share:

Facebook
Twitter
Pinterest
LinkedIn

Most Popular

Categories

News

Related Posts

นักศึกษาบริหารธุรกิจ SPU คว้า Certificate จาก Guangxi Minzu University ยกระดับประสบการณ์ สู่อนาคตระดับสากล

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาสาขาธุรกิจระหว่างประเทศ ที่ได้รับ Certificate

SE Sandbox เสริมทักษะนักศึกษา SPU สู่เจ้าของธุรกิจ ผ่านโจทย์จริงจากโรงพยาบาลสัตว์ Pawsville

นักศึกษาคณะการสร้างเจ้าของธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้ลงพื้นที่เยี่ยมชมโรงพยาบาลสัตว์ Pawsville ในกิจกรรม