รีวิวสาขาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

วิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ เป็นสื่อที่ใช้การสื่อสารผ่านภาพ และเสียงเป็นหลัก เรียกได้ว่าเป็นหัวใจของสาขานี้เลยก็ว่าได้ ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนไปแค่ไหน ศาสตร์ของการสื่อสารก็ยังคงอยู่ การเล่าเรื่องราวต่างๆ ก็เปรียบเหมือนการเปิดมุมมองใหม่ๆ สะท้อนให้เห็นถึงเรื่องราว ความเป็นจริงทั้งในแง่บวก และแง่ลบที่มีหลากหลายมิติ บทพิสูจน์ของการเป็นนักเล่าเรื่องต้องสามารถถ่ายทอดเรื่องราวที่ส่งผ่านสื่อจากภาพและเสียงสู่การรับฟังหรือรับชม เพื่อสร้างอารมณ์ร่วมแทรกความขบขัน มีจุดสุดยอดที่ตื่นเต้นเร้าใจ และทำให้เกิดความเข้าใจใคร่ติดตาม
UploadImage
“เราเชื่อเรื่องการทำพรีโปรดักชั่นที่ดี เพราะการทำพรีโปรดักชั่นที่ดีจะการันตีผลงานที่ออกมาเป็นมืออาชีพ”
อาจารย์ มานินทร์ เจริญลาภ
คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ และ ผู้อำนวยการศูนย์มีเดีย
เนื่องจากยุคสมัยที่สื่อมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การพัฒนาหลักสูตรต้องมีการปรับให้รองรับกับการเปลี่ยนแปลงด้วยทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ เช่น สื่อคอมพิวเตอร์, มัลติมีเดีย และกราฟฟิก
การเรียนการสอนสาขาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จึงเป็นหลักสูตรที่สอนนักศึกษาให้เป็นนักเล่าเรื่องที่ดีเริ่มต้นจากการสร้างนักศึกษาให้มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถเข้าใจแก่นหลักของการทำงานในอุตสาหกรรมสื่อ ทั้งการใช้เครื่องมือทางด้านอุตสาหกรรม และซอฟ์แวร์ต่างๆ ที่เป็นมาตราฐานอุตสาหกรรม ทำให้นักศึกษาได้มีโอกาสสัมผัสใกล้ชิดกับงานจริงเน้นให้เข้าใจ แพลตฟอร์ม (Platform) วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์มากยิ่งขึ้น

UploadImage

“ครูเชื่อว่าการเรียนจริงๆ แล้วเด็กสามารถเรียนได้ด้วยตัวเองแต่จะยากตรงที่ว่า
จะทำอย่างไรเพื่อผลักดันให้เด็กเกิดแรงบันดาลใจ”
ผศ. นับทอง ทองใบ
หัวหน้าสาขาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุทรทัศน์
เริ่มต้นการเรียนปีที่ 1 น้องๆ หลายคนคงเบื่อกับวิชาเรียนไม่ตรงสายเช่น วิชาพละศึกษา พุทธศาสนาแน่นอนว่าเป็นวิชาที่นอกกรอบสำหรับสาขานี้ แต่สาขาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จะให้น้องๆ เริ่มเรียนในส่วนพื้นฐานของสาขาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เลยไม่ต้องรอ โดยการสอนผ่านการทดลองจับอุปกรณ์, การทำ MV แบบสั้นๆ หรือการเชิญวิทยากรจากแกรมมี่ มาพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อให้เห็นภาพ และเกิดแรงบัลดาลใจในการสร้างผลงาน

กระบวนการเรียนในส่วนของชั้นปีที่ 2 ปีที่ 3 และปีที่ 4 จะพาน้องๆ ลงลึกไปในหลักสูตรการเรียนมากยิ่งขึ้น โดยอาจารย์ผู้สอนจะคำนึงถึงโปรเจคจบของน้องๆ เป็นหลักซึ่งแน่นอนว่าจะต้องเกี่ยวข้องกับวิทยุและโทรทัศน์แน่นอนดังนั้นน้องๆ จะได้เรียนรู้กระบวนการทั้งหมดผ่านโปรเจคจบ เพราะฉะนั้นในชั้นปีที่ 2, 3, 4 สาขาจะผลักดันให้น้องๆ แตกยอดความคิด และหาช่องทางการผลิตผลงาน โดยจะมีห้องแล็บ และอุปกรณ์ให้น้องๆ เลือกใช้ตามความถนัดทั้ง ห้องตัดต่อ ห้องวิทยุชุมชน ห้องสตูลดิโอ และอีกหลายๆ ห้องที่น้องๆ  สามารถใช้งานอุปกรณ์กันได้อย่างเต็มที่

UploadImage
ตลาดงานด้านวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ เป็นที่ยอมรับกันดีอยู่แล้วว่าการสื่อสารอยู่รอบตัวเราตลอดเวลาแม้กระทั่งการใช้ชีวิตประจำวันเราก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการสื่อสาร เพราะระบบการสื่อสารในยุคปัจจุบันได้ก้าวเข้าสู่ตลาดแรงงานที่กว้างขว้าง ฉะนั้นน้องๆ ที่จบจากสาขาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์สามารถมีตลาดแรงงานรองรับมากมายแน่นอน เพราะอย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า “จริงๆแล้วหัวใจของสาขานี้คือ การแพร่ภาพและเสียงเพราะฉะนั้นไม่ว่าช่องทางการสื่อสารจะเปลี่ยนไปอย่างไรการเล่าเรื่องด้วยภาพและเสียงปัจจุบันก็ยังคงมีอยู่และเราก็ควรรองรับตรงจุดนี้ให้ได้”

“สาขาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์” เราต้องการสร้างนักศึกษาให้มีความเป็นมืออาชีพในการทำงาน เริ่มต้นจากกระบวนการทางความคิดให้มีการคิดเป็นระบบ เริ่มตั้งแต่ Main Idea และนำไอเดียนั้นๆ ไปวิเคราะห์และตีความออกมาเป็น Storyboard ผมย้ำกับอาจารย์ประจำสาขาวิชาเสอมว่า ต้องใส่ใจเรื่องการทำงานทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็น Pre-production, Production และ Post-production ให้ดี ในส่วนของกระบวนการทำงาน เราเชื่อเรื่องการทำงานอย่างมาตราฐานอุตสาหกรรมจริง ไม่ว่าจะใช้เครื่องมือที่เป็นมาตราฐานอุตสาหกรรมจริง ใช้ซอร์ฟแวร์ต่างๆ ที่เป็นมาตรฐานของอุตสาหกรรมจริง ทำให้นักศึกษาได้มีโอกาสสัมผัสการทำงานใกล้เคียงของจริงมากที่สุด จากนั้นเด็กต้องเข้าใจเรื่องรูปแบบและการตลาดของดิจดทัลทีวี เพราะปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมากจากรูปแบบในอดีต และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นักศึกษาจะต้องเข้าใจเรื่องของอินแท็กทีฟทีวี เข้าใจเรื่องของอีคอมเมิร์ส ต้องเข้าใจธรรมชาติของผู้ชม เพื่อที่จะสามารถผสมผสานองค์ความรู้ต่างๆ สามารถทำชิ้นงานที่ตอบโจทย์ในยุคปัจจุบัน ณ ปัจจุบันนี้เราต้องการสร้างนักศึกษาที่สามารถสร้างรายการที่สร้างสรรค์และแตกต่างได้ และนอกจากนั้นต้องเข้าใจเรื่องของธุรกิจเรื่องการตลาดเพื่อจะสร้างรายการที่ดี และขายได้ด้วย หลักสูตรของเราจึงมีรายวิชารองรับที่จะสอนนักศึกษาให้เข้าใจเรื่องเหล่านี้ทั้งหมด เพราะว่าวันนี้คนที่จบออกไปต้องเป็นคนที่เก่งในหลากหลายมิติ เพื่อที่จะรองรับการแข่งขันในตลาดยุคปัจจุบัน

สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์คณะนิเทศศาสตร์ปรับวิธีการเรียนการสอนเป็นขั้นตอนการเรียนรู้ตามลำดับดังนี้

ในชั้นปีการศึกษาที่ 1 เป็นการศึกษาพื้นฐานทางการสื่อสารเช่นทฤษฎีการสื่อสารสื่อสารมวลชนการคิดการพูดการเขียนและการใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกเพื่อการสื่อสารและในงานนิเทศศาสตร์โดยมีการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ

ในชั้นปีการศึกษาที่ 2 เป็นการศึกษาการสื่อสารที่สูงขึ้นเช่นการสื่อสารการตลาดการวิจัยเป็นต้นนอกจากนั้นยังเป็นการเริ่มต้นศึกษาวิชาเอกตั้งแต่พื้นฐานการแพร่ภาพและการกระจายเสียงการเขียนบทพื้นฐานการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์การผลิตรายการทั้งวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รวมถึงการสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักศึกษาเพื่อสร้างความสนใจในการศึกษาสาขาวิชานี้

ในชั้นปีการศึกษาที่ 3 เป็นการศึกษาที่เน้นความเป็นมืออาชีพของสาขาวิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รวมถึงบริบทอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษามีความพร้อมเข้าสู่โลกการทำงานจริง

ในชั้นปีการศึกษาที่ 4 เป็นการเตรียมความพร้อมในขั้นสุดท้ายก่อนที่นักศึกษาจะได้ฝึกปฏิบัติงานจริงในหน่วยงานภายนอกโดยการเตรียมตัวนี้เป็นการประมวลความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติโดยการจัดทำโครงงานหลังจากนั้นนักศึกษาจะได้ฝึกปฏิบัติกับหน่วยงานภายนอกในภาคการศึกษาที่ 2

 

อาชีพ

– นักสร้างสรรค์รายการ
– นักเขียนบทรายการ
– ผู้เชี่ยวชาญทางการผลิตรายการ
– ช่างภาพ
– ช่างตัดต่อเสียง
– ช่างตัดต่อภาพ
– ช่างควบคุมภาพ
– ช่างควบคุมเสียง
– ผู้ผลิตรายการ
– ผู้ช่วยผู้ผลิตรายการ
– ผู้กำกับรายการ
– ผู้ช่วยผู้กำกับรายการ
– พิธีกร
– ผู้ดำเนินรายการ
– ผู้ประกาศ
– นักข่าว
– ฝ่ายการตลาดรายการ

เบอร์โทร โทร 0 2579 1111 ต่อ 2335, 2336
อีเมล์ pornpun.ya@spu.ac.th,commarts@spu.ac.th
เว็บไซต์ http://www.spu.ac.th/fac/commarts/th/
Facebook https://www.facebook.com/CommArtsSPU
Youtube https://www.youtube.com/user/spucommarts/featured
เว็บไซต์คณะสาขา http://www.spu.ac.th/fac/commarts/th/program.php?bid=19

Share:

Facebook
Twitter
Pinterest
LinkedIn

Most Popular

Categories

News

Related Posts

เด็กสื่อสารการแสดง SPU จัดแสดงละครเวทีรูปแบบ Stage Reading เรื่อง ‘ดินแดนคนตาบอด’ ถ่ายทอดประเด็นร่วมสมัยจากวรรณกรรมคลาสสิก

นักศึกษาสาขาสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดแสดงละครเวที ในรูปแบบ

คณะดิจิทัลมีเดีย ม.ศรีปทุม ต้อนรับผู้บริหาร ม.แม่โจ้ ศึกษาดูงาน-แลกเปลี่ยนแนวทางพัฒนาหลักสูตร พร้อมนำเสนอนวัตกรรมการเรียนรู้สู่ภาคอุตสาหกรรมดิจิทัล

คณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม เปิดบ้านต้อนรับคณะผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาหลักสูตร พร้อมนำเสนอผลงานสร้างสรรค์จากนักศึกษา

ม.ศรีปทุม จับมือ สป.อว. จัดอบรมสร้างสื่อดิจิทัล ยกระดับการเรียนรู้ครู-นักเรียนโรงเรียนบางบัว เดินหน้ายกระดับการศึกษาสู่ชุมชนอย่างยั่งยืน

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ร่วมกับสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.)