มุ่งเน้นการพัฒนาการเรียนการสอน เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมไฟฟ้า ทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติโดยการเรียนรู้จากการลงมือทำจริง
นักศึกษาจะได้รับการพัฒนาทั้งองค์ความรู้ทางทฤษฎีและปฏิบัติ ในด้านพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิศวกรรม, การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงระบบควบคุม วิศวกรรมสนามแม่เหล็ก วิศวกรรมเครื่องจักรกลไฟฟ้า และเมื่อนักศึกษามีพื้นฐานทางวิศวกรรมไฟฟ้าเพียงพอ นักศึกษาจะเลือกเรียนในแขนงไฟฟ้ากำลังหรือแขนงไฟฟ้าสื่อสาร และก่อนสำเร็จการศึกษานักศึกษาจะได้มีโอกาสประมวลความรู้ที่ได้เรียนมาทำสหกิจศึกษา
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ประยุกต์ มีคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิในระดับปริญญาเอกและปริญญาโท ที่มีความเชี่ยวชาญ และได้รับการยอมรับจากภาครัฐและเอกชน มีผลงานวิจัยและมีการพัฒนาการเรียนการสอน เพื่อต่อยอดองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ประยุกต์ มีห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานและทันสมัย พร้อมสำหรับการเรียนการสอนในสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้และได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยมีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำและดูแลอย่างใกล้ชิด
วิศวกรรมไฟฟ้า (ไฟฟ้ากำลัง/ระบบหุ่นยนต์และการควบคุมอัตโนมัติ) (ภาคปกติ, นอกเวลาราชการ)
เป็นสาขาที่ศึกษาทฤษฏีและการประยุกต์ใช้ ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ระบบควบคุมอัตโนมัติ ผู้ที่ประกอบวิชาชีพในสาขานี้เรียกว่า วิศวกรไฟฟ้า สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าเป็นสาขาที่กว้างประกอบไปด้วยหลายสาขาย่อย โดยนักศึกษาสามารถเลือกเรียน มุ่งเน้นกลุ่มวิชาความเชี่ยวชาญ
– ระบบหุ่นยนต์และการควบคุมอัตโนมัติ
– ไฟฟ้ากำลัง
จุดเด่น
มีคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิในระดับปริญญาเอกและปริญญาโท ที่มีความเชี่ยวชาญ และได้รับการยอมรับจากภาครัฐและเอกชน มีผลงานวิจัยและมีการพัฒนาการเรียนการสอน เพื่อต่อยอดองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง
โอกาสทางวิชาชีพ
วิศวกรไฟฟ้าคือผู้ที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เพื่อแก้ปัญหาทางวิศวกรรมไฟฟ้าอย่างสมเหตุสมผลทางเศรษฐศาสตร์ งานของวิศวกรไฟฟ้าจึงเกี่ยวข้องกับการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ และเชื่อมโยงกับการประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาทางวิศวกรรม นอกจากนี้งานของวิศวกรไฟฟ้ายังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการออกแบบ วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ รวมทั้งการทดสอบผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐาน งานของวิศวกรรมไฟฟ้ายังมีโอกาสเกี่ยวข้องกับโรงงานอุตสาหกรรมในการดูแลระบบไฟฟ้าและกระบวนการผลิต ซึ่งต้องใช้การวิเคราะห์ทั้งทางด้านวิศวกรรม การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม ประกอบการดำเนินงาน วิศวกรไฟฟ้ายังอาจทำงานที่เกี่ยวข้องกับการขายการตลาดสำหรับ อุปกรณ์ หรือ ระบบ ที่ต้องใช้ความรู้ทางวิศวกรรมไฟฟ้าในการให้คำปรึกษาทางเทคนิกการใช้งาน ติดตั้ง และการวางแผนของระบบ
อาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา
– วิศวกรออกแบบ ติดตั้งระบบไฟฟ้า
– วิศวกรระบบหุ่นยนต์อุตสาหกรรมและเมคคาทรอนิกส์
– วิศวกรวางแผน ออกแบบระบบโครงข่ายโทรคมนาคม
– วิศวกรโรงงาน
– วิศวกรดูแลเครื่องจักรกลไฟฟ้า
– วิศวกรระบบโทรคมนาคม
– วิศวกรผู้จัดการอาคาร
– วิศวกรระบบไฟฟ้ากำลัง
– วิศวกรออกแบบแผ่นพิมพ์วงจร
– วิศวกรด้านสมองกลฝังตัว
– สร้างผลิตภัณฑ์
– ที่ปรึกษาด้านพลังงาน
– วิศวกรขายผลิตภัณฑ์ด้านวิศวกรรมไฟฟ้า
– เป็นผู้ประกอบการ
ฯลฯ
ตัวอย่างสถานที่ทำงาน
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
การไฟฟ้านครหลวง
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเดิม)
บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
บริษัทเอกชนผู้ประกอบการที่ใช้บริการด้านการสื่อสาร เครือข่ายโทรคมนาคม
บริษัทผลิตไฟฟ้าเอกชน
บริษัทสำรวจและผลิต ผลิตภัณฑ์ด้านปิโตเลียม
บริษัทผู้ประกอบการด้านปูนซีเมนต์
บริษัทเอกชนที่รับงานด้านวิศวกรรมไฟฟ้าจากหน่วยงานของรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานของรัฐ
บริษัทเอกชนที่ผลิต จำหน่าย ผลิตภัณฑ์ทางวิศวกรรมไฟฟ้า
โรงงานอุตสาหกรรม
บริษัทออกแบบ-ติดตั้งระบบไฟฟ้า ระบบเครือข่ายโทรคมนาคม
ฯลฯ
รายละเอียดหลักสูตร
ชื่อปริญญา
วิศวกรรมไฟฟ้า (ไฟฟ้ากำลัง/ระบบหุ่นยนต์และการควบคุมอัตโนมัติ)
วศ.บ. (วิศวกรรมไฟฟ้า)
Bachelor of Engineering (Electrical Engineering)
B.Eng. (Electrical Engineering)
ระยะเวลาการศึกษา
หลักสูตร 4 ปี (ภาคปกติ)
เรียนในวันเวลาราชการ จันทร์ – วันศุกร์ เวลา 09.00 -17.00 น.
หลักสูตร 4 ปี (นอกเวลาราชการ)
เรียนนอกเวลาราชการ เสาร์-อาทิตย์ เวลา 09.00 – 07.00 น.
แขนงความเชี่ยวชาญในอาชีพวิศวกรรม แขนงไฟฟ้ากำลัง