คณะบริหารธุรกิจ ม.ศรีปทุม พัฒนาศักยภาพคณาจารย์ “Researcher as PEER REVIEWER” มุ่งพัฒนางานวิจัยสู่ผลงานทางวิชาการ

ผศ.ดร.รวิภา อัครจินดานนท์ คณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม นำทีมคณาจารย์คณะบริหารธุรกิจ เข้าร่วมการอบรมเชิงปฎิบัติการ ในโครงการ “Researcher as PEER REVIEWERเพื่อพัฒนาศักยภาพคณาจารย์มุ่งสู่การพัฒนางานวิจัยและต่อยอดไปสู่ตำแหน่งทางวิชาการ โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ประกอบด้วย รศ.ดร.สุบิน  ยุรรัช ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการวิจัยและการประกันคุณภาพการศึกษา,ผศ.ดร.กัลยารัตน์  ธีระธนชัยกุล หัวหน้าสาขาวิชาการบริหารและการจัดการสมัยใหม่  และ ผศ.ดร.ประเสริฐ  สิทธิจิรพัฒน์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบริหารและการจัดการสมัยใหม่  ร่วมถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการพัฒนางานวิจัยเพื่อมุ่งไปสู่ตำแหน่งทางวิชาการ ณ ห้องประชุมคณะบริหารธุรกิจ ชั้น 9 อาคาร 9 มหาวิทยาลัยศรีปทุม กทม.(บางเขน) เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งจัดโดย สาขาวิชาการบริหารและการจัดการสมัยใหม่ คณะบริหารธุรกิจ SPU

UploadImage

ทั้งนี้ ผศ.ดร.ประเสริฐ  สิทธิจิรพัฒน์ ได้กล่าวว่า ตำแหน่งทางวิชาการถือเป็นความก้าวหน้าในวิชาชีพสำหรับอาจารย์ในสถาบันการศึกษา เป็นตัวชี้วัดอันดับของสถาบันการศึกษา และเป็นตัวชี้วัดการประกันการศึกษาของอุดมศึกษาไทยด้วย การขอตำแหน่งวิชาการจึงถือเป็นภารกิจสำคัญของอาจารย์ประจำทุกคน แต่ยังมีอาจารย์ไม่น้อยที่ยังมีความเข้าใจในกระบวนการเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการไม่เพียงพอ รวมทั้งมีอาจารย์ใหม่ที่ยังขาดการชี้แนะอย่างเพียงพอจากผู้เชี่ยวชาญ

UploadImage

อนึ่ง เกณฑ์ที่ใช้ในการเสนอขอพิจารณากำหนดตำแหน่งวิชาการที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ บทความวิจัย ซึ่งเป็นบทความทางวิชาการที่ต้องการนำเสนอผลการศึกษา ค้นคว้าผลการศึกษาทดลอง ข้อค้นพบ ข้อเท็จจริง องค์ความรู้จากการวิจัย บทความวิจัยจึงเป็นช่องทางในการเผยแพร่ผลงานวิจัย หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความรู้ ความสามารถในการศึกษา ค้นคว้าและวิจัยในศาสตร์ของตน โดยทั่วไปเมื่อผู้วิจัยทำงานแล้วเสร็จ จะเขียนรายงานวิจัยเป็นเล่มใหญ่เพื่อเผยแพร่ผลงาน แต่ผู้ที่จะอ่านรายงานการวิจัยเล่มใหญ่จะมีเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษาหรือผู้สนใจจริงเท่านั้น แต่การเผยแพร่ผลงานวิจัยในรูปแบบของบทความวิจัยจะทำให้ผลงานวิจัยได้มีโอกาสเผยแพร่ได้กว้างขวางมากขึ้น เนื่องจากผลงานวิจัยในรูปบทความจะมีความยาวไม่มากนัก การเรียบเรียง การเขียนจะสั้นกระทัด ได้ใจความ บทความจึงป็นช่องทางในการเผยแพร่ผลงานวิจัยได้ดีมากช่องทางหนึ่ง

UploadImage

อย่างไรก็ตามการเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการไม่ได้หมายความว่าจะได้รับการตอบรับการตอบรับการตีพิมพ์เผยแพร่เสมอไป มีข้อพิจารณาหลักเกณฑ์ของวารสารวิชาการแต่ละแห่งแตกต่างกันบ้าง รวมทั้งความคิดเห็นและมุมมองของผู้ทรงคุณวุฒิแต่ละคนต่อบทความวิจัยแต่ละแห่งก็แตกต่างกันไปด้วย ดังนั้นในโครงการนี้จะเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ของผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินบทความวิจัยกับผู้เข้าร่วมสัมมนาด้วย

UploadImage

UploadImage

UploadImage

UploadImage

UploadImage

UploadImage

UploadImage

UploadImage

UploadImage

UploadImage

UploadImage
 

Share:

Facebook
Twitter
Pinterest
LinkedIn

Most Popular

Categories

News

Related Posts

SPU จัดโครงการ ‘AI for Active Learning Challenge in Higher Education 2025’ เวทีประชันนวัตกรรมการสอนด้วย AI หนุนอาจารย์พัฒนาการเรียนรู้เชิงรุก

ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดกิจกรรมโครงการ “AI for

SPU ต้อนรับ ม.ราชภัฏนครราชสีมา แลกเปลี่ยนแนวทางพัฒนาอาจารย์สู่มาตรฐานวิชาชีพ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารและบุคลากรจาก ศูนย์พัฒนามาตรฐานอาจารย์มืออาชีพ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ในโอกาสเข้าศึกษาดูงานและเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ

SPU ต้อนรับ ‘Murata & Eagles Air & Sea’ เยี่ยมชมระบบอัตโนมัติ ยกระดับการเรียนรู้สู่โลกอุตสาหกรรมจริง

คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับ วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม ให้การต้อนรับคณะผู้แทนจาก