ว.บัณฑิตศึกษาฯ ม.ศรีปทุม จัดอบรมการเรียนรู้ภาษาพม่า หวังปูทางเรียนรู้ เปิดประตูสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

“มิงกลาบา” หรือ “สวัสดี” “เจซูติน บาแด” หรือ “ขอบคุณมาก” “ควินโละ บ่าหน่อ” หรือ “ขอโทษ” “เหล่เส่ะ แปลว่า สนามบิน เป็นหนึ่งในภาษาพม่าที่เรามักได้ยินกันอยู่บ่อยๆ ซึ่งหลายๆคนกำลังเรียนรู้เพื่อปรับตัวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ด้วยความเป็น Dynamic University ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จึงได้ร่วมกับ วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน เปิดห้องเรียน ด้วยการจัดอบรม การเรียนรู้ภาษาพม่าเพื่อการสื่อสาร โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรพิเศษ 2 ท่าน อาจารย์เรวดี จะเรียมพันธ์ และอาจารย์ ทวิช บุญธรรม ร่วมถ่ายทอดความรู้ด้านภาษาพม่า ให้กับนักศึกษาวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน คณาจารย์ บุคลากร และผู้ที่สนใจได้รับฟัง

เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจด้วยภาษาและวัฒนธรรม และเรียนรู้ “รู้เขา รู้เรา” ติดอาวุธ พร้อมเปิดประตูสู่ตลาดงานและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยภายหลังเสร็จสิ้นการอบรม ผู้ช่วยศาสตราจารย๋ ดร.ธรินี มณีศรี คณบดีวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ได้มอบของที่ระลึกให้กับวิทยากรเพื่อแสดงความขอบคุณ ณ ห้อง Convention Room 1 ชั้น 4 อาคาร 11 มหาวิทยาลัยศรีปทุม กทม.(บางเขน)

ดร.อุทัยรัตน์ เมืองแสน ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจกรรมนักศึกษาและกิจการพิเศษ และผู้อำนวยการหลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต ในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการฯ กล่าวว่า การก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ในช่วงปลายปี 2015 ที่ผ่านมาส่งผลให้อาเซียนกลายเป็นตลาดที่มีความสำคัญ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมา และ เวียดนาม) ทั้งนี้ด้วยปัจจัยหลายอย่าง อาทิ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ค่าจ้างแรงงานที่มีราคาต่ำ การมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ การดำเนินนโยบายของภาครัฐ ทั้งในด้านของการเปิดการค้าเสรี การจัดตั้งศูนย์อำนวยความสะดวกทางธุรกิจ และการเพิ่มสิทธิประโยชน์ในการลงทุนต่างๆ ให้กับนักลงทุน

สำหรับในด้านของภูมิศาสตร์จะเห็นได้ว่ากลุ่มประเทศ CLMV ตั้งอยู่ใจกลางของภูมิภาคอาเซียน ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อของเส้นทางการค้าใหญ่ๆ จากทุกมุมโลก นอกจากนี้ กลุ่มประเทศ CLMV ได้รับการวางแผนพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่องโดยการสนับสนุนจากประเทศมหาอำนาจ เช่น ญี่ปุ่น จีน สหรัฐฯ เยอรมัน ดังนั้นปัจจัยเหล่านี้จึงส่งผลให้กลุ่มประเทศ CLMV เหมาะแก่ผู้ประกอบการในการย้ายฐานการผลิตเพื่อลดต้นทุน รวมถึงเป็นภูมิภาคที่มีโอกาสในการขยายตลาดค่อนข้างสูง

ทางวิทยาลัยฯได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดโครงการอบรมภาษาพม่าสำหรับ นักศึกษาคณาจารย์ บุคลากร และผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฯ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะการใช้ภาษาพม่า ซึ่งจะทำให้ได้ฝึกทักษะภาษาพม่าจากผู้ประกอบการไทยที่ไปทำธุรกิจมาเป็นเวลานานใน  สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า  และได้เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมของพม่า อีกทั้งสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปใช้ในการเรียนหรือการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ดร.อุทัยรัตน์ กล่าว

Share:

Facebook
Twitter
Pinterest
LinkedIn

Most Popular

Categories

News

Related Posts

คณะเทคโนโลยีฯ ศรีปทุม ผนึกพันธมิตร จัดแข่งขัน ‘SPU AI Prompt Mini Hackathon 2025’ ชวนเยาวชนพิชิตภารกิจ AI ชิงรางวัลรวมกว่า 30,000 บาท

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC),

วิทยาลัยการบิน การท่องเที่ยวและการบริการ ม.ศรีปทุม ต้อนรับผู้บริหารจากสถาบันการศึกษาชั้นนำประเทศฟิลิปปินส์ เดินหน้าขยายความร่วมมือทางวิชาการสู่ระดับนานาชาติ

วิทยาลัยการบิน การท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดกิจกรรม Campus Visit ต้อนรับคณะผู้บริหารจากสถาบัน Dream

ศิลปศาสตร์ SPU ลงพื้นที่เยี่ยมชมบริษัท LOPIA ณ ประเทศญี่ปุ่น เตรียมส่งนักศึกษาฝึกสหกิจ เสริมประสบการณ์จริง สู่อนาคตมืออาชีพระดับนานาชาติ

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม โดย ดร.ณัฐชัย ศรีเอี่ยม

นักศึกษาคณะการสร้างเจ้าของธุรกิจ SPU สุดปัง! ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ ‘Innovator Journey’ เรียนรู้จากสนามจริงกับ 6 บริษัทชั้นนำ

นักศึกษาคณะการสร้างเจ้าของธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ “Innovator Journey”