คอมพิวเตอร์แอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต์
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์แอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต์ เป็นหลักสูตรที่เน้นให้บัณฑิตได้ศึกษาเกี่ยวกับการขั้นตอนการทำงานการผลิตแอนิเมชันด้วยคอมพิวเตอร์และวิชวลเอฟเฟกต์สำหรับงานภาพยนตร์และงานโฆษณา แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มวิชาชีพเลือก ดังนี้ 1. กลุ่มวิชาชีพเลือกคอมพิวเตอร์แอนิเมชัน ศึกษาเกี่ยวกับการขั้นตอนการทำงานการผลิตแอนิเมชันด้วยคอมพิวเตอร์ เช่น การวาดสตอรี่บอร์ด การออกแบบตัวละครและฉาก การผลิตแอนิเมชันด้วยการใช้โปรแกรม 3 มิติและ 2 มิติ เป็นต้น 2.กลุ่มวิชาชีพเลือกวิชวลเอฟเฟกต์ ศึกษาเกี่ยวกับขั้นตอนการสร้างเทคนิคพิเศษด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในงานภาพยนตร์และงานโฆษณา เช่น การสร้างหมอก ควัน ฝุ่น ไฟ ระเบิด การจำลองเหตุการณ์ทางภัยธรรมชาติ และการสร้างภาพตัวละครจำลอง เป็นต้น
จุดเด่น
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์แอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต์ เป็นหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนทางด้านศิลปะโดยตรง และมีการสอนศิลปะตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นสำหรับคนที่ไม่มีพื้นฐานการวาดรูปก็สามารถเรียนได้ รวมถึงมีการจัด workshop ติววาดเส้นให้น้องใหม่เพื่อเตรียมพร้อมก่อนเปิดเทอม นอกจากนี้หลักสูตร คอมพิวเตอร์แอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต์ ยังเปิดโอกาสให้เรียนรู้ขั้นตอนการผลิตแอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต์ตั้งแต่ต้นจนจบ นักศึกษาจึงมีโอกาสในการเรียนวิชาชีพที่หลากหลาย ทำให้สามารถค้นพบสิ่งที่ตัวเองชอบและถนัด เพื่อนำไปประกอบอาชีพต่อไปได้ในอนาคต
อาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์แอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต์ อาชีพที่บัณฑิตสามารถทำได้เมื่อสำเร็จการศึกษามีหลากหลายสาขา เช่น – Visual Effects Artist ศิลปินผู้สร้างสรรค์เทคนิคพิเศษสำหรับงานภาพยนตร์และงานโฆษณาทางโทรทัศน์ – Visual Effects Compositor ผู้ทำหน้าที่ประกอบภาพที่ถ่ายทำจริง (Live Action) กับภาพที่สร้างจากคอมพิวเตอร์ (CGI) – 3D SLR Artist ศิลปินผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดแสง-เงาและการสร้างพื้นผิวต่างๆให้กับวัตถุในโปรแกรมสามมิติ – 3D Modeller นักสร้างโมเดลสามมิติ ออกแบบและสร้างสรรค์โมเดลสามมิติประเภทต่างๆ – Technical Director ผู้กำกับเทคนิคที่มีความเชี่ยวชาญทั้งด้านศิลปะและการเขียนโปรแกรม ดูแลการทำงานด้านเทคนิคของวิชวลเอฟเฟกต์
รายละเอียด
ชื่อปริญญา
ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (คอมพิวเตอร์แอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต์)
ศป.บ. (คอมพิวเตอร์แอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต์)
Bachelor of Fine and Applied Arts (Computer Animation and Visual Effects)
B.F.A. (Computer Animation and Visual Effects)
ระยะเวลาการศึกษา หลักสูตร 4 ปี (ภาคปกติ)
เรียนในเวลาราชการ จันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00 – 17.00 น.
รายละเอียดการเรียน
ปี 1: ปูพื้นฐานและฝึกทักษะทางด้านศิลปะทั้งในแบบดั้งเดิม (วาดด้วยมือ)และแบบดิจิทัล (วาดในคอมพิวเตอร์) เช่น วาดเส้น ดิจิทัลเพ้นท์เบื้องต้น การถ่ายภาพ เป็นต้น
ปี 2 : เริ่มเลือกสายที่จะเรียนระหว่างแอนิเมชันกับวิชวลเอฟเฟกต์ ซึ่งมีการเรียนวิชาพื้นฐานด้านการผลิตด้วยกัน เช่น สตอรี่บอร์ด การออกแบบ Pre production ในขณะที่จะมีรายวิชาที่เพิ่มความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของแต่ละสายโดยตรง เช่น 2D AnimationและAnatomy สำหรับสายแอนิเมชัน และ พื้นฐานการถ่ายทำวิชวลเอฟเฟกต์ และการ Composite สำหรับสายวิชวลเอฟเฟกต์
ปี 3 : เตรียมความพร้อมก่อนการเข้าสู่โลกของการทำงานจริงด้วยโปรเจคท์แอนิเมชัน หรือโปรเจคท์หนังสั้นผสมเทคนิคพิเศษ ภายในระยะเวลา 1 เทอม และการฝึกงานภาคฤดูร้อน (สำหรับนักศึกษาไม่เลือกสหกิจ)
ปี 4 : โครงงานจบการศึกษาในรูปแบบแอนิเมชันขนาดสั้น หรือหนังสั้นผสมเทคนิคพิเศษ (สำหรับนักศึกษาไม่เลือกสหกิจ) หรือฝึกงานสหกิจศึกษาและโครงงานจบการศึกษา (สำหรับนักศึกษาเลือกสหกิจ)
อาชีพ
– 3D Modeller
นักสร้างโมเดลสามมิติ ออกแบบและสร้างสรรค์โมเดลสามมิติประเภทต่างๆ เช่น ตัวละคร ฉาก และสิ่งของประกอบฉาก ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สามมิติ ทั้งในรูปแบบเหมือนจริงและแบบการ์ตูน เพื่อนำไปใช้การผลิตแอนิเมชันในขั้นตอนต่อไป
– 3D Animator
นักสร้างแอนิเมชันสามมิติ ออกแบบและสร้างสรรค์ผลงานแอนิเมชันในรูปแบบสามมิติ มีเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการสร้างตัวละครสามมิติให้เคลื่อนไหวได้อย่างมีชีวิตชีวาสมจริง
– 3D SLR Artist
ศิลปินผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดแสง-เงาและ การสร้างพื้นผิวต่างๆให้กับวัตถุในโปรแกรมสามมิติ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานแอนิเมชันสามมิติให้ดูมีมิติสมจริง ได้บรรยากาศและอารมณ์ตามที่กำหนดไว้ในขั้นตอนการออกแบบเบื้องต้น
– 2D Animator
นักสร้างแอนิเมชันสองมิติ ออกแบบและสร้างสรรค์ผลงานแอนิเมชันในรูปแบบสองมิติ มีความชำนาญด้านการเขียนภาพตัวละครสองมิติให้เคลื่อนไหวได้อย่างมีชีวิตชีวา แสดงออกถึงออกถึงบุคลิกของตัวละครได้อย่างสมจริง
– Storyboard Artist
ศิลปินผู้ชำนาญด้านการวาดภาพเล่าเรื่องราว โดยคำนึงถึงลำดับและความต่อเนื่องของการเล่าเรื่องเป็นหลัก เพื่อนำ Storyboard ไปใช้สำหรับการผลิตแอนิเมชันทั้งในรูปแบบสองมิติและสามมิติ
เส้นทางอาชีพและความก้าวหน้า
อาชีพที่บัณฑิตสามารถทำได้เมื่อสำเร็จการศึกษามีหลากหลายสาขา อาทิ
– Visual Effects Artist ศิลปินผู้สร้างสรรค์เทคนิคพิเศษสำหรับงานภาพยนตร์และงานโฆษณาทางโทรทัศน์
– Visual Effects Compositor ผู้ทำหน้าที่ประกอบภาพที่ถ่ายทำจริง (Live Action) กับภาพที่สร้างจากคอมพิวเตอร์ (CGI)
– 3D SLR Artist ศิลปินผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดแสง-เงาและการสร้างพื้นผิวต่างๆให้กับวัตถุในโปรแกรมสามมิติ
– 3D Modeller นักสร้างโมเดลสามมิติ ออกแบบและสร้างสรรค์โมเดลสามมิติประเภทต่างๆ
– Technical Director ผู้กำกับเทคนิคที่มีความเชี่ยวชาญทั้งด้านศิลปะและการเขียนโปรแกรม ดูแลการทำงานด้านเทคนิคของวิชวลเอฟเฟกต์