บทนำ
การเรียนการสอนแบบ Lecture based ที่เรียนกันในมหาวิทยาลัยโดยทั่วไปนั้นมีการค้นพบว่าระดับการเรียนรู้ของนักศึกษาที่ได้จากวิธีการบรรยายในห้องเรียนนั้นต่ำ คือประมาณ 5 % หมายความว่าอาจารย์สอนไป 100 % นักศึกษาได้ความรู้ติดตัวไป 5 % ในขณะที่การอ่านหนังสือด้วยตนเองที่บ้าน (นอกเวลาเรียน) ของนักศึกษาเกิดการเรียนรู้ประมาณ 10 % ตาม Learning Pyramid ของ National Training Laboratories Bethel, Maine การดูโทรทัศน์ การฟังวิทยุ สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้ที่มากกว่าการบรรยายในชั้นเรียน จึงทำให้เกิดห้องเรียนกลับด้าน หรือ Flipped Classroom ขึ้นเพื่อต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาในชั้นเรียน แต่เนื่องจากระบบการบรรยายในชั้นเรียนนั้นฝังรากลึกในระบบการสอนในมหาวิทยาลัย ทำให้การที่จะนำแนวคิดใหม่ในการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้กระทำได้ยาก ในการทำวิจัยในครั้งนี้เพื่อทดสอบการใช้วิธีห้องเรียนกลับด้านเปรียบเทียบกับวิธีบรรยายในชั้นเรียนแบบดั้งเดิม
โดยทดสอบกับวิชา LSM 321การจัดการและควบคุมสินค้าคงคลัง ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โดย LSM 321 เป็นวิชา เอกบังคับในหลักสูตร การจัดการ โลจิสติกส์ และโซ่อุปทาน ทำให้นักศึกษาที่เรียนต้องได้รับเกรดตั้งแต่ C เป็นต้นไป เนื่องจากเป็นเงื่อนไขในการจบการศึกษา ทำให้เป็นรายวิชาที่มีนักศึกษาลงเรียนรอบที่สองเป็นจำนวนมากตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองของ Vygotsky เรียนรู้
คำถามการวิจัย
Flipped class room สามารถช่วยในการพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษาได้ดีกว่าในห้องเรียนแบบ Lecture Basedหรือไม่ สำหรับห้องเรียนที่มีนักศึกษา 80 คน
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ รายวิชา LSM321 การจัดการและควบคุมสินค้าคงคลัง ของนักศึกษาสาขาการจัดการโลจิสติกส์ วิทยาลัยโลจิสติกส์ ด้วยวิธีการสอนแบบห้องเรียนกลับทาง และวิธีการสอนแบบบรรยาย
เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ รายวิชา LSM321 การจัดการและควบคุมสินค้าคงคลัง ของนักศึกษาสาขาการจัดการโลจิสติกส์ วิทยาลัยโลจิสติกส์ ด้วยวิธีการสอนแบบห้องเรียนกลับทาง กับวิธีการสอนแบบบรรยาย
เพื่อศึกษาแนวทางในการนำวิธีการสอนแบบห้องเรียนกลับทาง มาช่วยพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา
สมมติฐานการวิจัย
นักศึกษาที่เรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบห้องเรียนกลับทาง มีผลการเรียนรู้รายวิชา LSM321 การจัดการและควบคุมสินค้าคงคลัง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
นักศึกษาที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบบรรยาย มีผลการเรียนรู้รายวิชา LSM321 การจัดการและควบคุมสินค้าคงคลัง หลังเรียนไม่แตกต่างกับก่อนเรียน
นักศึกษาที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบห้องเรียนกลับทางมีผลการเรียนรู้รายวิชารายวิชา LSM321 การจัดการและควบคุมสินค้าคงคลัง สูงกว่า นศ.ที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบบรรยาย
ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรต้น
– วิธีสอนแบบห้องเรียนกลับทาง
– วิธีสอนแบบบรรยาย
ตัวแปรตาม คือ ผลการเรียนรู้รายวิชา LSM321 การจัดการและควบคุมสินค้าคงคลัง ของนักศึกษา วัดจาก
– คะแนน ก่อน-หลังการสอนครั้งที่ 2
– คะแนนสอบกลางภาค
– คะแนนสอบปลายภาค
ตัวแปรควบคุม คือ ผู้สอน ข้อสอบในการทดสอบ ห้องเรียน มหาวิทยาลัย
ขอบเขตการวิจัย
ประชากร คือ นักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชา LSM321 ปีการศึกษา 1/2559 จำนวน 335 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชา LSM321 ปีการศึกษา 1/2559
กลุ่ม 01 เป็นกลุ่มทดลองกลุ่มที่ 1 สอนด้วยวิธีห้องเรียนกลับด้าน
กลุ่ม 02 เป็นกลุ่มทดลองกลุ่มที่ 2 สอนด้วยวิธีห้องเรียนกลับด้าน
กลุ่ม 03 เป็นกลุ่มควบคุม สอนด้วยบรรยาย
เนื้อหาการวิจัย ศึกษาพัฒนาการในการเรียนรู้ ในรายวิชา LSM321 ปีการศึกษา 1/2559ระยะเวลา 6 เดือน กันยายน พ.ศ 2559 ถึง มีนาคม พ.ศ. 2560
นิยามศัพท์เฉพาะ
Flipped classroom คือ ห้องเรียนกลับด้าน โดยให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตัวเองจากนอกเวลาเรียน และผู้สอนมีหน้าที่กระตุ้นการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
ประโยชน์ที่ได้รับ
ผลสัมฤทธิ์ของการเรียนแบบ Lecture based เปรียบเทียบวิธีเรียนแบบ Flipped class room
เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการจัดการเรียนการสอนแบบ ห้องเรียนกลับด้านสำหรับชั้นเรียนที่มีนักศึกษาจำนวนมาก
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
จากงานของ Scott (2016) พบว่าในการใช้วิธีเรียนแบบ Flipped classroom สามารถให้ผลที่ดีได้สำหรับวิชาคำนวณอย่าง Calculus เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับการสอนแบบ Lecture based Julia (2016) ได้นำ Flipped classroom มาประยุกต์ใช้กับห้องเรียนที่มีนักศึกษาจำนวนมากพบว่าสามารถให้ผลที่ดีต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
ระเบียบวิธีวิจัย
ขั้นตอนในการดำเนินการในการวิจัย
แบบแผนการวิจัย เชิงทดลอง ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยในชั้นเรียน เพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษาที่เรียนในรายวิชา LSM321 ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โดยเป็นการเปรียบเทียบ วิธีการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped classroom) จำนวน 1 กลุ่มเรียน กับวิธีการสอนแบบบรรยายในชั้นเรียน (Lecture based) จำนวน 1 กลุ่มเรียนซึ่งเป็นกลุ่มควบคุม
แบบแผนการวิจัย
Hypothesis test
H0: µ1 = µ2
H1: µ1 > µ2
วิธีในการวัดผล วัดจากการเรียนรู้ของนักศึกษาในห้องจากการทดสอบโดยแบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหลังเรียน การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค เพื่อนำมาเปรียบเทียบผลระหว่าง 2 กลุ่มตัวอย่าง
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชาการที่ใช้ในการวิจัย คือนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชา LSM321 จำนวน 160 คน ประกอบด้วย
กลุ่มตัวอย่างที่ 1 คือ นักศึกษาที่ลงทะเบียนวิชา LSM321 กลุ่มเรียนที่ 01 ภาคการศึกษาที่ 1/2559 จำนวน 80 คน (สอนแบบ Lecture based)
กลุ่มตัวอย่างที่ 2 คือ นักศึกษาที่ลงทะเบียนวิชา LSM321 กลุ่มเรียนที่ 02 ภาคการศึกษาที่ 1/2559 จำนวน 80 คน (สอนแบบ Flipped classroom)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ข้อสอบ Pre-test, Post-test, ข้อสอบกลางภาค, ข้อสอบปลายภาค
โดยข้อสอบ Pre-test และ Post-test นั้นเป็นข้อสอบชุดเดียวกันทั้ง 2 กลุ่มเรียนโดยมีข้อสอบจำนวน 5 ข้อ ทำการทดสอบจำนวน 5 ครั้ง ตลอดภาคการศึกษา
ข้อสอบกลางภาคใช้ข้อสอบชุดเดียวกันทั้ง 2 กลุ่มเรียน
ข้อสอบปลายภาคใช้ข้อสอบชุดเดียวกันในการสอบทั้ง 2 กลุ่มเรียน
เอกสารประกอบการเรียนการสอน
วีดีทัศน์สำหรับนักศึกษากลุ่มเรียนที่ 2
รูปที่ 1 แสดงถึงการนำวิดีโอช่วยเป็นสื่อการสอน
ในการเรียนของกลุ่มเรียนที่ 2 ที่เป็นแบบห้องเรียนกลับด้านนั้นมีการนำวีดีทัศน์ให้นักศึกษา นำไปศึกษาเรียนรู้ก่อนการเรียน รูปแบบในการเรียนจะเป็นการเรียนรู้จากการตั้งถามจากสิ่งที่ศึกษามาในวีดีทัศน์ที่ให้ไปใน Facebook Group
การเก็บรวบรวมข้อมูล
การรวบรวมข้อมูล ใช้ Facebook group สำหรับให้นักศึกษาส่งงานโดยให้นักศึกษาเขียนลงในสมุดจดของนักศึกษา (เพื่อเก็บงานที่ทำไว้ทบทวนตอนสอบ) แล้วให้ถ่ายรูปงาน Upload ลงใน Event ที่สร้างใน Group ดังรูปที่.2 และ 3. โดยการส่งงานจะต้องส่งหลังจากคาบเรียนไม่เกิน 1 ชั่วโมง โดยสามารถกำหนดระยะเวลาในการส่งได้ใน Event ของ Facebook ส่วนการเฉลยจะทำในสัปดาห์ถัดไปและให้นักศึกษาจดเพิ่มเติมต่อจากในสัปดาห์ก่อนหน้า
รูปที่ 2 แสดงถึงการสร้าง Event ใน Facebook group
เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ การทดสอบ Pre-test, Post-test, ข้อสอบกลางภาค, ข้อสอบปลายภาค
รูปที่ 3 รูปแบบในการส่งงาน
โดยการส่งงานใน Event ของ Facebook นั้นมีข้อดีคือเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ ที่นักศึกษาสามารถ และ อาจารย์สามารถตรวจสอบ และพิจสูจน์ว่าได้ส่งงานหรือไม่ รวมไปถึงวันเวลาในการส่งงาน
รูปที่ 4 แสดงถึง Facebook group ที่เป็น Closed Group
การวิเคราะห์ข้อมูล
ข้อมูลการกระจายของคะแนนกลางภาคของกลุ่มเรียนที่ 1 คะแนนเต็ม 20 คะแนนอยู่แนวนอน ส่วนแนวตั้งเป็นความถี่ของนักศึกษาที่ได้คะแนน
รูปที่ 5.แสดงถึงการกระจายคะแนนสอบกลางภาคของกลุ่มเรียนที่1
Mean | 10.09195 |
Standard deviation | 2.098627 |
Skew | -0.21897 |
Median | 10 |
Kurtosis | -0.13392 |

Mean | 10.08152 |
Standard deviation | 1.853534 |
Skew | 0.049595 |
Median | 10 |
Kurtosis | -0.83069 |

Mean | 47.11494 |
Standard deviation | 9.98886 |
Skew | 0.127927 |
Median | 47 |
Kurtosis | -0.51924 |

Mean | 46.48913 |
Standard deviation | 8.870862 |
Skew | 92 |
Median | 0.49351 |
Kurtosis | 46 |
จากผลการคำนวณข้อมูลคะแนนสอบปลายภาคของกลุ่มเรียนที่ 2 พบว่ามีการกระจายเป็นแบบ Normal Distribution ตามค่า Skew กับ ค่า Kurtosis และค่า Mean เทียบกับค่า Median จากการทำการ
ค่าผลสัมฤทธิ์ในการเรียนของนักเรียนกลุ่มเรียนที่ 1 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 47.115
ค่าผลสัมฤทธิ์ในการเรียนของนักเรียนกลุ่มเรียนที่ 2 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 46.489
Hypothesis test H0: µ1 = µ2
H1: µ1 > µ2
แทนค่าในสูตร
ที่ α = 0.05 Z จากการคำนวณ > Z จากการเปิดตาราง ทำให้ยอมรับ H1 นั่นหมายความว่า โดยเฉลี่ยระดับคะแนนของนักเรียนในกลุ่มเรียนที่ 1 มีระดับผลสัมฤทธิ์สูงกว่านักเรียนในกลุ่มเรียนที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
สรุป
จากการทดลองในกลุ่มเรียนทั้ง 2 กลุ่มพบว่าค่าระดับคะแนนโดยเฉลี่ยของการใช้วิธีห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) นั้นให้ผลสัมฤทธิ์ ที่ดีกว่าวิธีสอนแบบบรรยายในห้องเรียน (Lecture Based) เนื่องจากในการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้านนั้นมีทางเลือกให้นักศึกษาที่หลากหลายได้แก่การเรียนด้วยตนเองโดยมีคลิปวิดีโอ ให้เรียนรู้เมื่อมีความต้องการที่จะเรียนรู้ เนื่องจากช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่จะเรียนรู้คือช่วงเวลาที่อยากเรียน แต่ถ้าอยากเรียนในช่วงเวลาที่ไม่มีการเรียนการสอน เช่น ตอนกลางคืน หรือในวันหยุด สื่อ วิดีโอที่สามารถดู ออนไลน์ สามารถดูได้จากโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต หรืออุปกรณ์อื่น ทำให้การเรียนรู้ไม่จำเป็นที่ต้องเรียนจากภายในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว รวมไปถึงรูปแบบในการเรียนรู้จากวิดีโอนั้นเมื่อต้องการที่จะหยุด หรือ ดูซ้ำในประเด็นที่ไม่เข้าใจก็สามารถ ทำได้ แต่การกระทำข้างต้นนั้นไม่สามารถทำได้ในห้องเรียน ทำให้นักศึกษาที่เรียนในห้องพร้อมกับมีการดูสื่อการเรียนรู้อื่นควบคู่กัน ทำให้มีความได้เปรียบนักศึกษาที่ต้องเรียนรู้จากในห้องเรียน หรือ จากตำราเพียงอย่างเดียว
ขอบคุณข้อมูลจาก https://kmtlcspu.com/2017/06/15/flippedlsm/