“ทุกวิกฤติ มีโอกาสเสมอ” คำๆนี้น่าจะเหมาะกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของ covid-19 ในช่วงนี้ที่สุดแล้ว! ในขณะที่ทุกคนกำลังตั้งคำถามที่ว่า เมื่อไหร่? สถานการณ์การแพร่ระบาดของ covid-19 จะหยุดแพร่กระจายหรือหายไปสักที่! ซึ่งก็ยังไม่มีใครยืนยันได้ เราจึงเปลี่ยนวิกฤติที่เกิดขึ้นมาเป็นเรียนรู้และปรับตัวเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้ดียิ่งกว่่า
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลธิศ เอี่ยมวรวุฒิกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิยาลัยศรีปทุม ได้ขยายความคำว่า “ทุกวิกฤติ มีโอกาสเสมอ” ไว้คือ ในทุกวิกฤติ มีโอกาส และทักษะการปรับตัว โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ความรู้ความสามารถที่มีอยู่ การเรียนรู้สิ่งใหม่ (Re-Learn) และการทิ้งสิ่งเก่า (Un-Learn) เป็นสิ่งสำคัญ ในโลกปัจจุบันและอนาคต เพราะ Disruption เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แต่สำหรับคณะวิศวกรรมศาสตร์จะมีมุมมองและเตรียมพร้อมกับเรียนการสอนผ่าน”ออนไลน์”อย่างไรบ้าง ผศ.ดร.ชลธิศ มีคำตอบ?
ก่อนหน้านี้ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้มีการจัดการเรียนการสอน ในรูปแบบ Online บ้างไหม ผลตอบรับเป็นอย่างไรบ้าง?
ผศ.ดร.ชลธิศ : ขอบอกก่อนเลยว่าการปรับตัวสำหรับเรียนออนไลน์เป็นเรื่องที่ไม่ได้ใหม่สำหรับเราเลยครับ เพราะมีการนำเทคโนโลยี online มาช่วยในการเรียนการสอนในทุกวิชา มาหลายปีก่อนหน้านี้แล้วครับ โดยจะเป็นการบันทึก VDO การสอนในชั้นเรียนที่นักศึกษาจะสามารถทบทวนได้ ในหลายวิชามี VDO on-demand สำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาก่อนและหลังการเรียนในชั้นเรียน ในรูปแบบของ Flipped Classroom รวมถึงการมอบหมายงาน ทดสอบและส่งงานผ่าน ระบบ e-Learning ของมหาวิทยาลัย ตลอดจนการใช้สื่อ Social Media และ Applications ต่างๆประกอบ สำหรับการสื่อสาร การจัดการชั้นเรียน เช่น Facebook หรือ LINE Group สำหรับแต่ละรายวิชา และการใช้ Google Drive, Form, Document ฯลฯ ช่วยในการจัดการเอกสารการเรียนการสอน ที่นักศึกษาสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก สามารถใช้เครื่องมือ online เหล่านี้ในการเรียนรู้ได้อย่างดี และอาจารย์ทุกท่านมีความคุ้นเคยกับการใช้เครื่องมือต่างๆเหล่านี้เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน ที่แต่ละท่านได้ออกแบบไว้ได้เป็นอย่างดีอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม การเรียนการสอน ในส่วนของการบรรยายสดผ่านระบบ Online 100% แทนการบรรยายในชั้นเรียน ยังไม่ได้มีโอกาสได้ทำในวงกว้าง อย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้ จึงต้องมีการปรับตัวบ้าง เฉพาะในส่วนนี้ครับ นอกจากนั้นกระบวนการสอบปลายภาคที่ปกติ เป็นการเข้าสอบในห้องสอบพร้อมๆกัน ต้องปรับเป็นกระบวนการวัดผลที่อาจารย์ผู้สอนสามารถออกแบบให้เหมาะสมกับลักษณะวิชาของตนเองมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องจำกัดอยู่ในรูปแบบเดิมที่เหมือนกันทั้งมหาวิทยาลัย จึงถือได้ว่า “วิกฤติ COVID-19 ครั้งนี้ เป็นโอกาสในการสร้างสรรค์พัฒนา การเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น”
ผศ.ดร.ชลธิศ : ความแตกต่างที่ชัดเจน คือการมีปฏิสัมพันธ์แบบตัวเป็นๆระหว่างผู้สอนและผู้เรียน และระหว่างผู้เรียนด้วยกัน ดังที่กล่าวข้างต้นในส่วนเนื้อหาการเรียนรู้ วิธีการทาง Online จะมีเครื่องมือช่วยได้ดีกว่าการบรรยายในชั้นเรียน แต่การสร้างอรรถรส แรงบันดาลใจ และการกระตุ้นการเรียนรู้ทาง online จะทำได้ยากกว่าโดยจำเป็นต้องมีเทคนิค กิจกรรม เครื่องมืออื่นๆเสริมเข้ามา
ผศ.ดร.ชลธิศ : นักศึกษาส่วนใหญ่มีการตอบรับที่ดีและปรับตัวได้ครับ โดยอาจมีบางส่วนที่บ่นๆบ้างเป็นธรรมดาเนื่องจากรูปแบบการเรียนเปลี่ยนไปจากรูปแบบที่คุ้นเคยไปมาก ซึ่งคณะฯและผู้สอนทุกๆท่านเข้าใจได้ และก็หาทางปรับแก้ปัญหาสำหรับนักศึกษาแต่ละคนได้ครับ
