
” มุ่งสร้างผู้สำเร็จการศึกษาให้มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการภาษี “
– สร้างนักวิชาการ นักวิจัย และผู้บริหารระดับสูง ที่มีคุณภาพระดับมืออาชีพและมีจรรยาบรรณ สามารถสร้างนวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่ในการพัฒนาองค์กรและประเทศ
– มีคณาจารย์ผู้สอนที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในแต่ละรายวิชาจากภาครัฐ เอกชน สถาบันและสมาคมที่เกี่ยวข้องกับวิชานั้นๆ
– มีคณาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัย ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิดระหว่างจัดทำวิทยานิพนธ์
– นักบัญชีที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชี สามารถนับชั่วโมงในการสะสมการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ (Continuing Professional Development : CPD)
– รับทั้งผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทบัญชีหรือเทียบเท่า และสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง
*ค่าหน่วยกิตเสริมวิชาพื้นฐาน (ถ้ามี) 3,000 บาท/วิชา
โครงสร้างหลักสูตร
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม มีวัตถุประสงค์มุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิตให้เป็นผู้บริหารทางด้านบัญชี นักวิชาการด้านบัญชี และนักวิจัยที่มีคุณลักษณะ ดังนี้
– มีความเป็นผู้นำ ที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ในการนำความรู้ด้านบัญชีไปประยุกต์ใช้ในการทำงานอย่างมืออาชีพ
– มีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และมีทักษะในการแสวงหาความรู้ในเชิงลึกในระดับประเทศและนานาชาติ โดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นเครื่องมือช่วยบริหารจัดการบัญชีให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพสูงสุด
– มีวิสัยทัศน์กว้างไกลในการบริหารบัญชีให้สอดคล้องกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน
– มีคุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพบัญชี และสามารถใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการด้านบัญชีจนทำให้องค์กรมีผลดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมาย
– มีความรู้และทักษะในการทำวิจัยในหัวข้อเกี่ยวกับการบัญชี การสร้างองค์ความรู้ใหม่ หรือนวัตกรรมทางด้านการบัญชี ตลอดจนสามารถนำผลการวิจัยมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์กรและหน่วยงานที่รับผิดชอบได้
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตได้รับความเห็นชอบจาก สกอ. – ไฟล์แนบ
หลักสูตรได้รับการรับรองคุณวุฒิเพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคคลากร – ไฟล์แนบ
หนังสือ สกอ. รับทราบหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี (หลักสูตรปรับปรุง พศ.2558) – ไฟล์แนบ
โครงสร้างหลักสูตร
เน้นการวิจัยโดยมีการทำวิทยานิพนธ์ที่มีคุณภาพสูงและก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพ โดยจะต้องทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
รายวิชา
หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน (Remedial Course) (ไม่นับหน่วยกิต)
หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|
ACT602 | การอ่าน เขียน และนำเสนอทางวิชาการระดับนานาชาติ (International Academic Reading, Writing and Presentation) | NC |
ACT603 | การบัญชีร่วมสมัย (Contemporary Accounting) | NC |
ACT606 | สถิติขั้นสูงเพื่อการวิจัย (Advanced Statistics for Research) | NC |
หมวดวิชาบังคับ (Required Course) (3 หน่วยกิต)
หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|
ACT710 | ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชีขั้นสูง (Advanced Research Methodology in Accounting) | 3(3-0-9) |
หมวดวิชาเลือก (Elective Course) (9 หน่วยกิต)
หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|
ACT720 | สัมมนาการวิจัยการบัญชีการเงินและการบัญชีบริหาร (Seminar in Financial Accounting and Managerial Accounting Research) | 3(3-0-9) |
ACT721 | สัมมนาการวิจัยการสอบบัญชีและการตรวจสอบภายใน (Seminar in Auditing and Internal Auditing Research) | 3(3-0-9) |
ACT722 | สัมมนาการวิจัยการวางระบบบัญชีและระบบสารสนเทศทางการบัญชี (Seminar in Accounting System Design and Accounting Information System Research) | 3(3-0-9) |
ACT723 | สัมมนาการวิจัยการภาษีอากร (Seminar in Taxation Research) | 3(3-0-9) |
ACT724 | สัมมนาการวิจัยการกำกับดูแลกิจการ (Seminar in Corporate Governance Research) | 3(3-0-9) |
ACT725 | สัมมนาหัวข้อพิเศษในการวิจัยทางการบัญชี (Seminar in Special Topics of Accounting Research) | 3(3-0-9) |
หมวดอื่นๆ (Others)
หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|
QEA700 | การสอบวัดคุณสมบัติข้อเขียน (Written Qualifying Examination) | NC |
QEA701 | การสอบวัดคุณสมบัติปากเปล่า (Oral Qualifying Examination) | NC |
ACT898 | วิทยานิพนธ์ (Thesis) | 48 |
ACT899 | วิทยานิพนธ์ (Thesis) | 36 |
คุณสมบัติของผู้สมัคร
ผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโทบัญชีหรือเทียบเท่า
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทบัญชีหรือเทียบเท่า จากสถาบันการศึกษาทั้งภายในหรือต่างประเทศที่ได้รับการรับรองวิทยฐานะแล้ว และเป็นผู้มีผลการเรียนคะแนนเฉลี่ยสะสม ในระดับปริญญาโทไม่น้อยกว่า 3.25 หรือเป็นผู้ที่มีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาการบัญชีอย่างน้อย 5 ปี และมีผลการสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด
ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ โดยผู้เข้าศึกษาอาจจะต้องศึกษาวิชาปรับพื้นฐานทางการบัญชีเพิ่มเติม
ผู้สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทในสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันจากสถาบันการศึกษาทั้งภายในหรือต่างประเทศที่ได้รับการรับรองวิทยฐานะแล้ว และเป็นผู้มีผลการเรียนคะแนนเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาโทไม่น้อยกว่า 3.25 และเป็นผู้ที่มีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาการบัญชีอย่างน้อย 5 ปี และมีผลการสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด
ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ โดยผู้เข้าศึกษาจะต้องศึกษาวิชาปรับพื้นฐานทางการบัญชีเพิ่มเติม
การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา
เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยศรีปทุมว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
ชื่อหลักสูตร
– ผู้บริหารระดับสูงขององค์กร
– ผู้ประกอบกิจการตนเอง อาทิ เป็นเจ้าของสำนักงานบัญชี
– ที่ปรึกษา อาทิ ที่ปรึกษาทางด้านการบัญชีและการเงิน ด้านบัญชีบริหาร ด้านการสอบบัญชี ด้านการตรวจสอบภายใน ด้านภาษีอากร และด้านสารสนเทศทางการบัญชี
– อาจารย์ผู้สอนในสถาบันการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและระดับอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน ฯลฯ
คณะเล็งเห็นถึงความสำคัญในการผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญ มีวิสัยทัศน์ สามารถประกอบอาชีพได้ทัดเทียมระดับนานาชาติ โดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียนอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล จึงมีความร่วมมือกับองค์กร สมาคมในวิชาชีพ หน่วยงานภาครัฐ และภาคธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ
คณะดิจิทัลมีเดีย
คณะนิเทศศาสตร์
คณะการสร้างเจ้าของธุรกิจ
วิทยาลัยการบินและคมนาคม
วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ
คณะศิลปศาสตร์
คณะบริหารธุรกิจ
วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
คณะบัญชี
คณะวิศวกรรมศาสตร์
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะการออกแบบและสถาปัตยกรรมศาสตร์
คณะนิติศาสตร์
Sripatum International College
British College
ปริญญาโท-เอก