Bachelor of Accountancy

บัญชีมหาบัณฑิต (M. Acc) 1 ปี 4 เดือน

หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม มีวัตถุประสงค์ มุ่งผลิตมหาบัณฑิตให้เป็นผู้บริหารทางด้านบัญชี นักวิชาการด้านบัญชี และนักวิจัยที่มีคุณลักษณะที่ยอดเยี่ยม

จุดเด่นของสาขา

” มุ่งสร้างผู้สำเร็จการศึกษาให้มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการภาษี “

– สร้างผู้บริหารระดับสูงทางด้านการบัญชีและการเงินให้องค์กร
– มีคณาจารย์ผู้สอนที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละวิชา จาคภาครัฐ เอกชน สถาบัน และสมาคมที่เกี่ยวข้องกับวิชานั้นๆ
– มีการสอนโดยใช้กรณีศึกษาเพื่อเสริมสร้างผู้เรียนให้ก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงในวิชาชีพ
– นักบัญชีที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีกับสภาวิชาชีพบัญชีฯ สามารถนำมาเก็บชั่วโมงในการสะสมการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ (Continuing Professional Development : CPD)
– ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาโทและต้องการศึกษาปริญญาที่ 2 สามารถเทียบโอนได้ตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
– รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาอื่นๆ ที่ไม่จบปริญญาตรีทางบัญชีสามารถเข้าศึกษาต่อได้
– ระยะเวลาในการศึกษา 1 ปี 4 เดือน เรียน เสาร์ – อาทิตย์

ค่าเทอมสาขา

ค่าเทอมที่ 1

บัญชีมหาบัณฑิต (M. Acc) 1 ปี
180,000 ตลอดหลักสูตร
  • จำนวนหน่วยกิต / 36
Popular

*ค่าหน่วยกิตเสริมวิชาพื้นฐาน (ถ้ามี)   3,000 บาท/วิชา

ค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียน ปริญญาโท

  1. ค่าประกันของเสียหาย 2,000 บาท * ได้รับคืน เมื่อยื่นขอสำเร็จการศึกษาเรียบร้อยแล้ว
  2. ค่าประกันอุบัติเหตุ 200 บาท
  3. ค่าทำบัตรนักศึกษา 200 บาท
  4. ค่าสมัครเรียนปริญญาโท 200 บาท
  5. ค่าสมัครเรียนปริญญาเอก 1,000 บาท

โครงสร้างหลักสูตร​

แผนการเรียน

การพัฒนาทางธุรกิจของประเทศและของโลกในยุคโลกาภิวัฒน์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  รวมทั้งการค้าระหว่างประเทศได้ขยายเป็นลักษณะไร้พรมแดน ทำให้การดำเนินธุรกิจทั้งภายในประเทศและต่างประเทศจำเป็นต้องอาศัยเงินลงทุนเป็นจำนวนมาก การจัดสรรเงินลงทุนที่มีอยู่จำกัดเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจำเป็นอย่างยิ่งที่นักลงทุนจะต้องอาศัยข้อมูลทางการบัญชีเพื่อเป็นเครื่องมือในการตัดสินใจ เนื่องจากข้อมูลทางการบัญชีที่มีคุณภาพจะต้องสะท้อนภาพที่แท้จริงของกิจการ  และส่งสัญญาณเตือนภัยให้กับนักลงทุนตามที่ควร จึงมีผู้กล่าวว่าการบัญชี คือ ภาษาของธุรกิจ

หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต  จึงตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นของการพัฒนาคุณภาพวิชาชีพบัญชี  โดยมุ่งเน้นให้มีโครงสร้างลักษณะวิชา และเนื้อหาวิชาที่ทันสมัยตามการเปลี่ยนแปลงของมาตรฐานการบัญชี กฎหมายทางวิชาชีพ และการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก  เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสฝึกฝนทักษะในการวิเคราะห์ วิจัยองค์ความรู้ทางทฤษฎี สามารถผสมผสานวิชาการ เทคโนโลยีที่ทันสมัย และความรู้จากศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจมาใช้ในการตัดสินใจ และสามารถประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ในการประกอบวิชาชีพได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้หลักสูตรได้เล็งเห็นความสำคัญของการมีจริยธรรม จึงบรรจุวิชา ธรรมาธิบาลและจริยธรรมวิชาชีพ เพื่อให้ผู้เรียนทุกคนได้ตระหนักในความสำคัญของหลักธรรมาภิบาลและจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ  สามารถก้าวสู่สังคมอย่างภาคภูมิใจ

ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมาหลักสูตรได้ผลิตมหาบัณฑิตก้าวสู่ความสำเร็จในวิชาชีพบัญชีได้ตามความมุ่งหวัง ไม่ว่าการก้าวสู่ตำแหน่งผู้บริหารฝ่ายบัญชีและการเงิน อาจารย์ผู้สอนบัญชีในสถาบันอุดมศึกษา ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ผู้ตรวจสอบภายใน นักวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศ นักวิชาการ นักวิจัย เจ้าของสำนักงานบัญชี และที่ปรึกษาบัญชีและภาษีอากร  เป็นต้น

สำหรับการก้าวสู่ปีที่ 21 หลักสูตรหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะสามารถสานฝันของท่านให้สมหวังในสิ่งที่ตั้งใจ  จึงขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยศรีปทุมด้วยความยินดียิ่ง

หนังสือ สกอ.รับทราบหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2555) – ไฟล์แนบ
หนังสือ สกอ.รับทราบหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2558) – ไฟล์แนบ
หนังสือ สกอ.รับทราบหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2563) – ไฟล์แนบ

ข้อมูลหลักสูตร

หมวดวิชาศึกษาเฉพาะด้าน

———————————————————————————————————-

หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน หน่วยกิต
รหัสวิชาชื่อวิชา   หน่วยกิตวิชาบังคับก่อน
ACT501สถิติเพื่อการวิจัยNC 
ACT502ภาษาอังกฤษแบบเร่งรัดเพื่อการบัญชีNC 
ACT503เศรษฐศาสตร์การจัดการNC 
หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
รหัสวิชาชื่อวิชาหน่วยกิตวิชาบังคับก่อน
ACT511ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชี3 (3-0) 
ACT512นโยบายทางการเงินและการ3 (3-0) 
ACT513นโยบายธุรกิจและการกำกับดูแล3 (3-0) 
ACT514การจัดการความเสี่ยงและอนุพันธ์ทางการเงิน3 (3-0) 
วิชาบังคับทางการบัญชี หน่วยกิต
รหัสวิชาชื่อวิชาหน่วยกิตวิชาบังคับก่อน
ACT521ทฤษฎีบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงิน3 (3-0) 
ACT522การวิเคราะห์รายงานทางการเงินและการประเมินค่าธุรกิจ3 (3-0) 
ACT523การวิเคราะห์และการออกแบบระบบบัญชี3 (3-0) 
ACT524นโยบายและการวางแผนภาษีอากร3 (3-0) 
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
รหัสวิชาชื่อวิชาหน่วยกิตวิชาบังคับก่อน
ACT631การจัดการต้นทุนเชิงกลยุทธ์3 (3-0) 
ACT632สัมมนาการสอบบัญชีและบริการให้ความเชื่อมั่นเชิงวิชาชีพ3 (3-0) 
ACT633ศิลปะและศาสตร์ในการเป็นผู้บริหารฝ่ายบัญชี3 (3-0) 
ACT634สัมมนาการบัญชีภาษีอากร3 (3-0) 
ACT635สัมมนาการควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน3 (3-0) 
ACT636การจัดการระบบสารสนเทศทางการบัญชี3 (3-0) 
ACT637การบัญชีร่วมสมัย3 (3-0) 
ACT638สัมมนากฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจข้ามชาติ3 (3-0) 
หมวดวิชาอื่น ๆ หน่วยกิต
รหัสวิชาชื่อวิชาหน่วยกิตวิชาบังคับก่อน
ACT690การค้นคว้าอิสระ3(0 – 9) 
ACT699วิทยานิพนธ์12(0 – 36)

———————————————————————————————————-
คุณสมบัติของผู้สมัคร
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา ผู้มีสิทธิเข้าศึกษาในหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต ต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติ ดังนี้:
1. ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
2. ผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีในสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

ชื่อปริญญา

  • ภาษาไทย (ชื่อเต็ม) : บัญชีมหาบัณฑิต
  • (อักษรย่อ) : บช.บ. 
  • ภาษาอังกฤษ (ชื่อเต็ม) : Bachelor of Accountancy 
  • (อักษรย่อ) : B.Acc. 

ชื่อหลักสูตร

  • ภาษาไทย : บัญชีมหาบัณฑิต
  • ภาษาอังกฤษ : Master of Accountancy Program

ระยะเวลาการศึกษา หลักสูตร 1 ปี (ภาคปกติ)

CAREER PATH

บัญชีมหาบัณฑิต (M. Acc) 1 ปี

– ผู้บริหารระดับสูงทางด้านการบัญชีและการเงิน (Chief Financial Officer : CEO)
– เป็นผู้ประกอบกิจการตนเอง : เป็นเจ้าของสำนักงานบัญชี
– ปฏิบัติงานในฐานะที่ปรึกษา : ที่ปรึกษาทางด้านการบัญชีและการเงิน, ด้านการสอบบัญชี, ด้านการตรวจสอบภายใน, ด้านภาษีอากร และด้านสารสนเทศทางการบัญชี
– เป็นอาจารย์ผู้สอนในสถาบันการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและระดับอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน

คณาจารย์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์
คณบดีคณะบัญชี รักษาการผู้อำนวยการหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต

รองศาสตราจารย์ กัลยาภรณ์ ปานมะเริง เบอร์ค
ผู้ช่วยอธิการบดีด้านแผนและประกันคุณภาพ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดารณี เอื้อชนะจิต
ผู้อำนวยการหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี

Review
สิ่งใหม่ จุดเด่น จุดแตกต่าง

คณะเล็งเห็นถึงความสำคัญในการผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญ มีวิสัยทัศน์ สามารถประกอบอาชีพได้ทัดเทียมระดับนานาชาติ โดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียนอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล จึงมีความร่วมมือกับองค์กร สมาคมในวิชาชีพ หน่วยงานภาครัฐ และภาคธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ