ผู้ช่วยศาสตราจารย์เจียมจิต สุวรรณน้อย สำเร็จการศึกษาด้านนิติศาสตรบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยศรีปทุม และนิติศาสตรมหาบัณฑิตสาขากฎหมายธุรกิจจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง รวมถึงเนติบัณฑิตไทย แห่งเนติบัณฑิตยสภา โดยมีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายอาญา และมีประสบการณ์จากการเป็นทนายความในคดีอาญาหลาย ๆ คดี และปัจจุบันท่านยังได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ประนีประนอมประจำศาลแรงงานกลาง ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงาน และได้รับแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์
เกียรติบัตรและรางวัล
– ได้รับคัดเลือกเป็น “ครูในดวงใจ” มหาวิทยาลัยศรีปทุม บางเขน
– โล่รางวัลการสอนดีเด่น ปีการศึกษา 2553 (The Best Teaching Award Year 2012)
– โล่รางวัลที่ปรึกษาดีเด่น ชมรมยุติธรรม ประจำปีการศึกษา 2555
ตำราและเอกสารประกอบการสอน
– ตำราวิชา “ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยหนี้”
– เอกสารประกอบการสอนวิชา “ประมวลกฎหมายอาญา ภาคทั่วไป”
บทความ
– หลักธรรมาภิบาลสำหรับการใช้อำนาจของสภาทนายความตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 หนังสือประมวลบทความ (Proceedings) การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 17 และการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ครั้งที่ 7 มหาวิทยาลัยศรีปทุม ออนไลน์ เรื่อง วิจัยและนวัตกรรมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
– บทความวิจัยตีพิมพ์ในวารสารศรีปทุมปริทัศน์ พ.ศ.2553 เรื่อง “ผลกระทบจากการแก้ไขกฎหมายแรงงาน : ศึกษาเปรียบเทียบพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 กับ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2551
– บทความที่ความในวารสารบทบัณฑิตย์
1. แชร์รถเช่า : ลักทรัพย์โดยใช้กลอุบายหรือฉ้อโกงประชาชน (เล่มที่ 66 ตอน 4 ธันวาคม 2553)
2. ภัยก่อการร้าย : ข้อยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันวินาศภัย (เล่มที่ 68 ตอน 4 ธันวาคม 2555)
3. การบังคับใช้โทษประหารชีวิตกับนักโทษยาเสพติด (เล่มที่ 68 ตอน 2 มิถุนายน 2555)
4. ปัญหาบทบัญญัติความผิดฐานเสพแอมเฟตามีน ในขณะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ขับรถ (เล่มที่ 69 ตอน 3 กันยายน 2556)
5. การตอบโต้กลับของภริยาผู้ถูกระทำความรุนแรงในครอบครัว กับเหตุลดหย่อนโทษตามกฎหมายอาญา (เล่มที่ 70 ตอน 3 กันยายน 2557)
งานวิจัย
– งานวิจัยองค์ความรู้ เรื่อง “ผลกระทบจากการแก้ไขกฎหมายแรงงาน : ศึกษาเปรียบเทียบพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 กับ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2551”
– งานวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง “การศึกษาผลสอบย้อนกลับของนักศึกษาที่เรียนวิชากฎหมายอาญา 1 เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา”
– ปริญญาโท: น.ม. (กฎหมายธุรกิจ) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
– ปริญญาตรี: น.บ. (นิติศาสตร์) มหาวิทยาลัยศรีปทุม
– ประกาศนียบัตร น.บ.ท. (เนติบัณฑิตไทย) จากสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
– ประกาศนียบัตร “หลักสูตรการบริหารงานยุติธรรมระดับกลาง รุ่นที่ 4” จากสำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม
– ประกาศนียบัตร “หลักสูตรนักบริหารระดับสูง เพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัย รุ่นที่ 25 (นบม.25)” จากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
โทร : 0 2579 1111 ต่อ 2385
แฟกซ์ : 0 2579 1111 ต่อ 2384
อีเมล์ : cheamchit.su@spu.ac.th
Email:cheamchit.su@spu.ac.th
โทร:0 2579 1111 ต่อ 2385
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทัชชภร มหาแถลง เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายธุรกิจ การค้าระหว่างประเทศ และกฎหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ มีประสบการณ์เคยเป็นผู้ช่วยสมาชิกวุฒิสภาด้านกฎหมาย เป็นวิทยากรและที่ปรึกษาด้านกฎหมายธุรกิจให้กับผู้ประกอบการ โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม และเป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมายให้กับหน่วยงานเอกชนอีกหลายแห่ง
สาขาที่เชี่ยวชาญ
– กฎหมายธุรกิจ
– กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ
– กฎหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลงาน
– บทความวิชาการ “การอนุญาโตตุลาการกับงานด้านกีฬาในประเทศไทย” งานประชุมวิชาการระดับชาติ พะเยาวิจัย ครั้งที่ 12 มหาวิทยาลัยพะเยา
– บทความเรื่อง “พ่อแม่ยิ่งต้องรู้ สิทธิเด็กโลกออนไลน์” สกู๊ปหน้า 1 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
– บทความเรื่อง ” ภัยเด็กในรถยนต์รู้ไว้..ก่อนเสียใจ” สกู๊ปหน้า 1 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับวันที่ 25 พฤศจิกายน 2558.
– งานวิจัยเรื่อง “ปัญหาในทางกฎหมายในการใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ. การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550”
– สารนิพนธ์ “Consumer Protection Measure of Buying in E-commerce” ซึ่งได้รับการนำเสนอในที่ประชุมนักเรียนแลกเปลี่ยนไทย-ญี่ปุ่น ณ มหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 2006
ปริญญาโท: น.ม. (กฎหมายธุรกิจ) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ประกาศนียบัตร น.บ.ท. (เนติบัณฑิตไทย) สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
ปริญญาตรี: น.บ. (นิติศาสตร์) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โทร : 0 2579 1111 ต่อ 2238
โทร:0 2579 1111 ต่อ 2238
– International & Comparative Law
– กฎหมายว่าด้วยละเมิด และมรดก
– กฎหมายธุรกิจ
ปริญญาโท : LL.M. Chicago-Kent College of Law, Illinois Institute of Technology (2007)
ปริญญาตรี : นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง (2006)
เบอร์โทรศัพท์: 085-498-9003
เบอร์ภายใน 02-579-1111 ต่อ 2386
E-mail: Pirapat.pr@spu.ac.th
E-mail: Pirapat.pr@spu.ac.th
สาขาที่เชี่ยวชาญและสนใจ
– กฎหมายภาษี
– กฎหมายไซเบอร์
ผลงานที่ผ่านมา
• โครงการวิจัย เรื่อง “สาเหตุและความจำเป็นในการบูรณาการกฎหมายยาเสพติดในประเทศไทย” โครงการวิจัยที่ทำให้กับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
• โครงการวิจัย เรื่อง “การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” โครงการวิจัยที่ทำให้กับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
• โครงการวิจัย เรื่อง “การส่งเสริมการใช้อนุญาโตตุลาการในการระงับข้อพิพาททางธุรกิจเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยเมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน”
• ผู้ช่วยวิจัยโครงการวิจัย เรื่อง “บทบาทของศาลภาษีอากรในการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีอากรในศตวรรษที่ 21” ว่าจ้างโดย ศาลภาษีอากรกลาง
• ร่วมเขียนหนังสือเรื่อง “ภาษีอากรสำหรับการทำธุรกรรมตราสารหนี้” อำนวยการผลิตโดย สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เพื่อให้ผู้ปฎิบัติงาน ผู้เกี่ยวข้อง และประชาชนทั่วไป มีความรู้ความเข้าใจในการทำธุรกรรมประเภทต่างๆ ในตลาดตราสารหนี้ และได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีอากรที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมดังกล่าว
ปริญญาโท: น.ม. (กฎหมายภาษี) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประกาศนียบัตร น.บ.ท. (เนติบัณฑิตไทย) สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
ประกาศนียบัตร International Tax and US–Thai Relations; Thammasart University and University of Wisconsin Law School
ปริญญาตรี: น.บ. (นิติศาสตร์) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อีเมล์ : pittaya.ch@spu.ac.th
Email:pittaya.ch@spu.ac.th
อาจารย์สุภัสสร ภู่เจริญศิลป์ มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายครอบครัวและกฎหมายอาญา รวมถึงกฎหมายธุรกิจ ซึ่งอาจารย์สุภัสสรเคยได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายเรื่องการกู้ยืมเงินให้กับเกษตรกรสวนยางภาคเหนือ 5 จังหวัด รวมถึงเป็นผู้ริ่เริ่มจัดทำระบบ E-Learning เรื่องการกู้ยืมเงิน และเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาในการทำ E-Learning วิชากฎหมายครอบครัวของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมด้วย
สาขาที่เชี่ยวชาญ:
– กฎหมายครอบครัว
– กฎหมายแรงงาน
– กฎหมายธุรกิจ
ผลงาน:
บทความเรื่อง “ความผิดฐานกระทำความรุนแรงในครอบครัวกับการยอมความตามประมวลกฎหมายอาญา ศึกษาเฉพาะความผิดฐานกระทำอนาจารตามมาตรา 278 (ที่เกิดต่อหน้าธารกำนัล) และความผิดต่อเสรีภาพตามมาตรา 310 ทวิ”
ปริญญาโท: น.บ. (กฎหมายอาญา) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประกาศนียบัตร น.บ.ท. (เนติบัณฑิตไทย) จากสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
ปริญญาตรี: น.บ. (นิติศาสตร์) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ช้องนาง วิพุธานุพงษ์ จบการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เคยมีประสบการณ์ด้านกฎหมายในฐานะนิติกร กลุ่มกฎหมายการสื่อสารและโทรคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา นอกจากนี้ ยังมีประสบการณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสื่อสารมวลชน โดยเคยร่วมงานในฐานะกองบรรณาธิการ นักแปล และนักเขียนอิสระให้กับสำนักพิมพ์ต่างๆ
ด้วยประสบการณ์ที่หลากหลายเหล่านี้ จึงเป็นแรงบันดาลใจให้ศึกษาต่อปริญญาโทและปริญญาเอกด้านกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา โดยมีความสนใจเป็นพิเศษในประเด็นกฎหมายลิขสิทธิ์
ตลอดจนกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และปัจจุบันยังคงสนใจที่จะทำงานวิจัยด้านนี้อย่างต่อเนื่อง
สาขาวิชาที่สนใจ/มีความชำนาญพิเศษ
– Intellectual Property Law: Copyright and Authorship
– Human Rights: Property Right and Freedom of Expression
– Media Law: Internet and Communication
– Traditional Knowledge and Traditional Cultural Expressions
ผลงานทางวิชาการ
บทความวิจัย
– ช้องนาง วิพุธานุพงษ์, สินีนาฏ กริชชาญชัย, พิทยา ไชยมหาพฤกษ์, สุรีย์ฉายพลวัน และสุภัสสร ภู่เจริญศิลป์. (2563). ศึกษาเปรียบเทียบกลไลการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารในกลุ่มประเทศที่ประสบผลสำเร็จในการควบคุมราคายา.รายงานสืบเนื่อง การประชุมวิชาการระดับชาติ เวทีวิจัยมนุษย์ศาสตร์ไทย, ครั้งที่ 14, ประจำปี 2563. คณะสังคมศาสตราจารย์และมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา นครปฐม. หน้า 26-42.
– โครงการวิจัยกฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายประเทศไทยกับกฎหมายของประเทศสมาชิกกลุ่ม AEC รวมถึงกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) (SiPA) (2559)
– “Copyright for Digital Era: Are We Aiming at Individuals”, research submitted for PhD in Intellectual Property Law, University of Nottingham (2016)
บทความทางวิชาการ
– ช้องนาง วิพุธานุพงษ์. (2564). แนวทางการตีความมาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ 2537 เพื่อให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์แก่งานดัดแปลงที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์พิจารณาตามแนวทางของสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา. วารสารกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ, หน้า 241-255.
– ช้องนาง วิพุธานุพงษ์. (2564). ผู้ประกอบวิชาชีพทนายความกับบทบาทสำคัญในกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท. รายงานสืบเนื่อง (Proceedings) การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ, ครั้งที่ 16, ประจำปี 2564. มหาวิทยาลัยศรีปทุม. หน้า 514-524.
– Copyright is an Engine of Free Expression’ or ‘Free Expression is an Engine of Copyright’? : A Revisit of Expressions and Copyright for International Copyright Mechanisms’ International Association for the Advancement of Teaching and Research of Intellectual Property (ATRIP Congress 2016), Jagiellonian University, Kraków, Poland (2016)
– “ถกลิขสิทธิ์ กรณีแปลงานโดยไม่ขออนุญาต และแปลงภาพในมานีมีแชร์”, 12 กันยายน 2556, http://prachatai.com/journal/2013/09/48714.
– “ชวนคุยต่อประเด็นลิขสิทธิ์ถ่ายทอดบอล-สิทธิเผยแพร่ต่อสาธารณะในงานดนตรี”, ประชาไท, 5 กรกฎาคม 2555, http://prachatai.com/journal/2012/07/41404.
– “การจัดการทรัพย์สินทางปัญญาในมหาวิทยาลัยของไทย (The management of intellectual property in Thailand university)”, วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ( ม.ค.-มิ.ย. 2552 ) หน้า 87-95
– “กระบวนการสร้างจำเลยสังคมจากฟอร์เวิร์ดเมล”, มติชน, 26 เมษายน 2552
– “ครีเอทีฟคอมมอนส์: ลิขสิทธิ์กับสิทธิมนุษยชน”, กรุงเทพธุรกิจ, 24 กรกฎาคม 2552.
– Ph.D. (Intellectual Property Law) University of Nottingham, UK
– LL.M. (Intellectual Property Law) Queen Mary University of London
– น.บ.ท. (เนติบัณฑิตไทย) สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
– น.บ. (นิติศาสตร์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อีเมล์ : chongnang.wi@spu.ac.th
Email:chongnang.wi@spu.ac.th
คณะดิจิทัลมีเดีย
คณะนิเทศศาสตร์
คณะการสร้างเจ้าของธุรกิจ
วิทยาลัยการบินและคมนาคม
วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ
คณะศิลปศาสตร์
คณะบริหารธุรกิจ
วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
คณะบัญชี
คณะวิศวกรรมศาสตร์
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะการออกแบบและสถาปัตยกรรมศาสตร์
คณะนิติศาสตร์
Sripatum International College
British College
ปริญญาโท-เอก