เจาะลึกอาชีพ #นักกฎหมาย รายได้สูงปี 2020
รู้ลึก รู้จริง แต่ละอาชีพนักกฎหมาย ที่มีรายได้สูง และเป็นที่ต้องการในโลกธุรกิจ
ทำงานอย่างไร?
มีหน้าที่อะไรบ้าง?
ได้เงินเดือนเท่าไหร่?
ต้องเรียนจบอะไรบ้าง
ที่มา : https://adecco.co.th/salary-guide/2019/00008/341#job-des
อยากเป็นนักกฎหมาย #รายได้สูง ต้องเริ่มต้นด้วยการเป็น #เด็กนิติ เพียงแค่ แสกน QR Code หรือ
CLICK : https://forms.gle/vxXfmkQo7y8kMgqE7
ทนายความ ( Lawyer/Attorney ) – 150,000 บาท
บทบาทของทนายความในศาล คือการเป็นตัวแทนของลูกความ และในองค์กรธุรกิจ ทนายความสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ทั้งงานคดีความ ทั้งการดำเนินการในชั้นศาลและนอกศาล และรวมถึงการให้คำปรึกษา คำแนะนำด้านกฎหมาย และการตรวจ/ร่างสัญญาต่างๆ ของบริษัทอีกด้วย
หน้าที่หลากหลาย พร้อมด้วยประสบการณ์การทำงาน มาพร้อมกับเงินเดือนที่มีโอกาสขยับขึ้นได้ตลอดเวลา ในองค์กรธุรกิจ
จบป.ตรี นิติศาสตรบัณฑิต
สอบผ่านใบอนุญาตว่าความ
ผู้จัดการฝ่ายกฎหมาย (Legal Manager) – 150,000 บาท
หน้าที่หลักส่วนใหญ่คล้ายๆ กับทนาย เพียงแต่ไม่ต้องว่าความ ขึ้นศาล และบางบริษัทไม่ได้กำหนดให้ผู้จัดการฝ่ายกฎหมายต้องมีตั๋วทนาย ฉะนั้นรายละเอียดงานหลักๆ จึงเกี่ยวข้องกับนิติกรรมสัญญา หนังสือมอบอำนาจ เจรจาต่อรอง และการปฏิบัติตามข้อกฎหมายต่างๆ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของบริษัท
จบป.ตรี นิติศาสตรบัณฑิต
สอบผ่านใบอนุญาตว่าความ (บางหน่วยงาน)
เนติบัณฑิตไทย (บางหน่วยงาน)
ผู้จัดการฝ่ายดูแลการปฏิบัติตามกฎหมาย (Compliance Manager) 150,000 บาท
หน้าที่สำคัญในบริษัท เพราะเป็นผู้ที่มีหน้าที่ประสานงานระหว่างบริษัทกับองค์กรภายนอกในด้านกฎหมาย และดูแล กำกับ ติดตามการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับของบริษัท และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
อาจไม่ใช่งานกฎหมายโดยตรงเช่นเดียวกับทนายความ แต่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และมีความรู้ ความสามารถเกี่ยวกับธุรกิจของบริษัทเป็นอยู่
เลขานุการบริษัท (Company Secretary) – 70,000 บาท
มีหน้าที่กำกับ ดูแล และดำเนินงานให้บริษัทปฏิบัติตามข้อกำหนด ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับกฎหมายหุ้นส่วนและบริษัท ไม่ว่าจะเป็นบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทมหาชนก็ตาม หน้าที่หลักๆ ได้แก่
– ประสานงานระหว่างคณะกรรมการบริษัทและผู้ถือหุ้น
– จัดการประชุมคณะกรรมการ / ผู้ถือหุ้น ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย (Legal Consultant) – 70,000 บาท
เป็นทนายความ แต่มีหน้าที่หลักคือให้คำแนะนำ และคำปรึกษาด้านกฎหมาย ให้กับหน่วยงาน องค์กร ต่างๆ ซึ่งสามารถเป็นที่ปรึกษาให้กับหลายหน่วยงานได้ในเวลาเดียวกัน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ และที่สำคัญหากมีความเชี่ยวในกฎหมายเฉพาะด้าน เช่น กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายภาษี กฎหมายหุ้นส่วนบริษัท ฯลฯ ค่าวิชาชีพก็จะสูงขึ้นตามความสามารถและประสบการณ์อีกด้วย
จบป.ตรี นิติศาสตรบัณฑิต
สอบผ่านใบอนุญาตว่าความ
เนติบัณฑิตไทย (บางหน่วยงาน)