EN

วิทยาการคอมพิวเตอร์และนวัตกรรมการพัฒนาซอฟต์แวร์

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และนวัตกรรมการพัฒนาซอฟต์แวร์ (CSI) ได้รับการออกแบบมาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ Full Stack ซึ่งปัจจุบัน การขับเคลื่อนธุรกิจในยุคดิจิทัล มีความต้องการใช้งานซอฟต์แวร์แอปพลิเคชันและดิจิทัลแพลตฟอร์มที่สามารถทำงานแบบฉลาด (Smart) เช่น ระบบการซื้อ-ขายอัจฉริยะ ที่สามารถวิเคราะห์พฤติกรรมความต้องการของลูกค้า (Customer Insight) สามารถคาดการณ์ ทำนาย ความต้องการใหม่ๆ และยอดขายในอนาคตได้

จุดเด่นของสาขา

ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและภาคปฏิบัติควบคู่กันไป

1. หลักสูตร CSI เน้นการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้เป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ Full Stack “เขียน ครบ จบในคนเดียว” ซึ่งมีความทันสมัยและอุตสาหกรรมดิจิทัลของประเทศมีความต้องการบุคคลากรในสายงานนี้สูงมาก

2. หลักสูตร CSI ได้เสริมทักษะเทคโนโลยีดิจิทัล A B C D I
                A: AI (Artificial Intelligence)
                B: Block chain
                C: Cloud Computing
                D: Big Data
                I: IoT (Internet of Things)
                เป็นเครื่องมือช่วยให้ผู้เรียนสามารถนำเทคโนโลยีไปสู่การสร้างนวัตกรรมใหม่

ค่าเทอม

ค่าเทอมที่ 1

41100
36,100 ค่าเทอมปีการศึกษาที่ 1
  • ค่าเทอม (4 ปี) / 362,000
Popular

กองทุนกู้ยืมฯ

60,000 บาท ลักษณะที่ 2 + Human*
  • ผู้จบ ม.6/ปวช/กศน.
  • ภาคเรียนปกติ

การชำระเงินลงทะเบียน

Option 1 : ชำระโดยการกู้ยืม กยศ. เริ่มต้นเพียง 4,000 บาท ที่เหลือเป็นการกู้ยืมจาก กยศ.
Option 2 : ชำระด้วยตนเองเต็มจำนวน
Option 3 : ชำระด้วยตนเองบางส่วน 15,000 บาท และชำระส่วนที่เหลือภายในวันที่มหาวิทยาลัยกำหนด

โครงสร้างหลักสูตร​

แผนการเรียน

วิทยาการคอมพิวเตอร์และนวัตกรรมการพัฒนาซอฟต์แวร์ (New)

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และนวัตกรรมการพัฒนาซอฟต์แวร์ (CSI) ได้รับการออกแบบมาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ Full Stack ซึ่งปัจจุบัน การขับเคลื่อนธุรกิจในยุคดิจิทัล มีความต้องการใช้งานซอฟต์แวร์แอปพลิเคชันและดิจิทัลแพลตฟอร์มที่สามารถทำงานแบบฉลาด (Smart) เช่น ระบบการซื้อ-ขายอัจฉริยะ ที่สามารถวิเคราะห์พฤติกรรมความต้องการของลูกค้า (Customer Insight) สามารถคาดการณ์ ทำนาย ความต้องการใหม่ๆ และยอดขายในอนาคตได้

นอกจากนี้ ธุรกิจใหม่ที่เกิดจากเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น ปัญญาประดิษฐ์ บล็อกเชน ในรูปแบบสกุลเงินดิจิทัล (คริปโตเคอเรนซี) การลงทุนแบบใหม่ เช่น DeFi, NFT, Metaverse ล้วนต้องการความสามารถของนักพัฒนาซอฟต์แวร์สมัยใหม่ที่มีความสามารถทั้งด้านการวิเคราะห์ความต้องการทางธุรกิจ การออกแบบการใช้งานซอฟต์แวร์ การพัฒนาซอฟต์แวร์ส่วนติดต่อกับผู้ใช้ (Front-end) และการพัฒนาซอฟต์แวร์ส่วนติดต่อการทำงานกับระบบสนับสนุนต่างๆ เช่น ระบบฐานข้อมูล ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ระบบคลาวด์ อาจเรียกได้ว่า นักพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ Full Stack ในแบบ “เขียน ครบ จบในคนเดียว”

ปัจจุบัน ทั้งภาครัฐ และภาคอุตสาหกรรมดิจิทัล มีความต้องการบุคลากรในตำแหน่งงาน นักพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ Full Stack เป็นจำนวนมาก สาขาวิชา “วิทยาการคอมพิวเตอร์และนวัตกรรมการพัฒนาซอฟต์แวร์” จึงเป็นหลักสูตรที่ตอบโจทย์ความต้องการผลิตบุคลากร สายการพัฒนาซอฟต์แวร์ของประเทศ โดยผู้เรียนจะได้รับการพัฒนาทั้งองค์ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ ร่วมกับภาคอุตสาหกรรม ทั้งวิทยากร และสภาพแวดล้อมการทำงานร่วมกับตัวจริงประสบการณ์จริง

1)  หมวดวิชาศึกษาทั่วไป       30      หน่วยกิต
2)  หมวดวิชาเฉพาะด้าน        88      หน่วยกิต
     (2.1) วิชาพื้นฐานวิชาชีพ   12      หน่วยกิต

รหัสวิชาชื่อวิชาหน่วยกิต
CSI101การโปรแกรมดิจิทัล3(2-3-5)
CSI102คณิตศาสตร์สำหรับการใช้คอมพิวเตอร์3(3-0-6)
CSI103คณิตศาสตร์เพื่อการคิดวิเคราะห์3(3-0-6)
CSI104สถิติและความน่าจะเป็นสำหรับการใช้คอมพิวเตอร์3(3-0-6)

     (2.1) วิชาชีพบังคับ          46      หน่วยกิต

รหัสวิชาชื่อวิชาหน่วยกิต
CSI105ขั้นตอนวิธีและการแก้ปัญหาปัญญาประดิษฐ์3(2-3-5)
CSI106กระบวนการคิดเชิงออกแบบเพื่อนวัตกรรม3(3-0-6)
CSI199เปิดโลกทัศน์สู่เส้นทางอาชีพทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์
และนวัตกรรมการพัฒนาซอฟต์แวร์
1(0-2-1) 
CSI201วิเคราะห์ความต้องการทางธุรกิจเพื่อการพัฒนาซอฟต์แวร์3(3-0-6)
CSI202วิเคราะห์และออกแบบระบบงานธุรกิจดิจิทัล3(2-3-5)
CSI203สถาปัตยกรรมดิจิทัลและระบบปฏิบัติการ3(2-3-5)
CSI204ดิจิทัลแพลตฟอร์มสำหรับพัฒนาซอฟต์แวร์3(2-3-5)
CSI205การพัฒนาโปรแกรมส่วนหน้า6(4-6-10)
CSI206ฐานข้อมูลและการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่3(2-3-5)
CSI207เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์3(2-3-5)
CSI208การออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้และการเชื่อมต่อประสานผู้ใช้3(2-3-5)
CSI301การพัฒนา Smart Contract3(2-3-5)
CSI498เตรียมสหกิจศึกษาวิทยาการคอมพิวเตอร์และนวัตกรรมการพัฒนาซอฟต์แวร์3(1-4-4)
CSI499สหกิจศึกษาวิทยาการคอมพิวเตอร์และนวัตกรรมการพัฒนาซอฟต์แวร์6(0-40-0)

     (2.3) วิชาชีพเลือก        30      หน่วยกิต
      ให้นักศึกษาเลือกกลุ่มวิชาซอฟต์แวร์แบบ Full Stack จำนวน 15 หน่วยกิต และเลือกเรียนในกลุ่มวิชาอื่นอีก 1 กลุ่มจำนวน 15 หน่วยกิต จากกลุ่มวิชาต่อไปนี้
      กลุ่ม 1 กลุ่มวิชาซอฟต์แวร์แบบ Full Stack (Software Full Stack)

รหัสวิชาชื่อวิชาหน่วยกิต
CSI400เว็บเซอร์วิส3(2-3-5)
CSI401การพัฒนาโปรแกรมส่วนหลัง6(4-6-10)
CSI402การเชื่อมต่อโปรแกรมส่วนหน้ากับโปรแกรมส่วนหลัง3(2-3-5)
CSI403การพัฒนาโปรแกรมแบบ Full Stack3(2-3-5)

       กลุ่ม 2 กลุ่มวิชาวิทยาการข้อมูล (Data Science)

รหัสวิชาชื่อวิชาหน่วยกิต
CSI410วิทยาการข้อมูล3(2-3-5)
CSI411การเรียนรู้ของเครื่องจักร3(2-3-5)
CSI412การรวบรวม การเตรียม และการทำความสะอาดข้อมูล3(2-3-5)
CSI413การวิเคราะห์ข้อมูลและการพัฒนาแบบจำลองธุรกิจ3(2-3-5)
CSI414ดาต้าวิชวลไลเซชัน3(2-3-5)

       กลุ่ม 3 กลุ่มวิชาโมบายแอปพลิเคชัน (Mobile Application)

รหัสวิชาชื่อวิชาหน่วยกิต
CSI420การเขียนชุดคำสั่งบนอุปกรณ์โมบาย 13(2-3-5)
CSI421การเขียนชุดคำสั่งบนอุปกรณ์โมบาย 23(2-3-5)
CSI422ดิจิทัลแพลตฟอร์มสำหรับการพัฒนาโมบายแอปพลิเคชัน3(2-3-5)
CSI423การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชัน 13(2-3-5)
CSI424การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชัน 23(3-0-6)

       กลุ่ม 4 กลุ่มวิชาอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things)

รหัสวิชาชื่อวิชาหน่วยกิต
CPE100เทคโนโลยีระบบสมองกลฝังตัวเบื้องต้น3(3-0-6)
CPE345ระบบสมองกลฝังตัว 13(2-3-5)
CPE346ระบบสมองกลฝังตัว 23(2-3-5)
CPE451โปรแกรมประยุกต์ 13(2-3-5)
CPE407เครือข่ายสื่อสารคอมพิวเตอร์3(3-0-6)

       กลุ่ม 5 กลุ่มวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

รหัสวิชาชื่อวิชาหน่วยกิต
CSI290การบูรณาการการเรียนกับการทํางาน 13(0-20-0)
CSI296การบูรณาการการเรียนกับการทํางาน 23(0-20-0)
CSI297การบูรณาการการเรียนกับการทํางาน 36(0-40-0)
CSI298การบูรณาการการเรียนกับการทํางาน 46(0-40-0)

3)  หมวดวิชาเลือกเสรี        15      หน่วยกิต

ชื่อปริญญา

  • ชื่อเต็ม (ไทย) : วิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาการคอมพิวเตอร์และนวัตกรรมการพัฒนาซอฟต์แวร์)
  • ชื่อย่อ (ไทย) : วท.บ. (วิทยาการคอมพิวเตอร์และนวัตกรรมการพัฒนาซอฟต์แวร์)
  • ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Bachelor of Science (Computer Science and Software Development Innovation)
  • ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.S. (Computer Science and Software Development Innovation)  

 

 

 

ระยะเวลาการศึกษา หลักสูตร 4 ปี (ภาคปกติ)

ภาคปกติ
เรียนในเวลาราชการ  จันทร์ – ศุกร์  เวลา 9.00 – 17.00 น.

CAREER PATH

วิทยาการคอมพิวเตอร์และนวัตกรรมการพัฒนาซอฟต์แวร์ (New)

  • นักพัฒนาซอฟต์แวร์
  • นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ
  • งานซอฟต์แวร์
  • นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล
  • นักวิเคราะห์ข้อมูล
  • โปรแกรมเมอร์

สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และนวัตกรรมการพัฒนาซอฟต์แวร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มาสวีร์ มาศดิศรโชติ

หัวหน้าสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และนวัตกรรมการพัฒนาซอฟต์แวร์

อาจารย์มาลิวรรณ บุญพลอย

ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา

อาจารย์ทิพย์อรุณ เขี้ยวแก้ว

อาจารย์ประจำ

Review
สิ่งใหม่ จุดเด่น จุดแตกต่าง

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เป็นหนึ่งในคณะวิชาที่มีปณิธานที่จะพัฒนานักศึกษาให้มีความโดดเด่นทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ที่นำไปสู่การสร้างความสำเร็จในแบบฉบับที่เป็นตัวตนของนักศึกษา ภายใต้คำกล่าว “Make IT Your Way: สร้างความสำเร็จในแบบฉบับที่เป็นคุณ”  

ทุนการศึกษา

ทุน SPU โควตา

ทุนดีดี ที่ไม่ใช้คะแนน TCAS
ไม่ต้องสอบสัมภาษณ์ ไม่ต้องส่ง Portfolio