5

สาขาวิชา

เชี่ยวชาญ

AIot (ai+iot)

พร้อมรับงาน

สร้างรายได้ระหว่างเรียน

สร้างนักพัฒนา

ซอฟต์แวร์

ติด 1 ในคณะ

ที่มีรายได้สูง

รู้จักคณะ

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เป็นหนึ่งในคณะวิชาที่มีปณิธานที่จะพัฒนานักศึกษาให้มีความโดดเด่นทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ที่นำไปสู่การสร้างความสำเร็จในแบบฉบับที่เป็นตัวตนของนักศึกษา ภายใต้คำกล่าว “Make IT Your Way: สร้างความสำเร็จในแบบฉบับที่เป็นคุณ”

ทั้งนี้ เป็นที่ทราบกันดีว่า พวกเราทุกคนก้าวสู่ยุคดิจิทัลที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีใหม่และนวัตกรรมดิจิทัลที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคมของประเทศไปสู่การเป็นประเทศในรูปแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่นักศึกษาของคณะต้องมีความสามารถในการพัฒนา ประยุกต์และปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการผู้ใช้งานบัณฑิต ทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เป็นไปอย่างรวดเร็วและรุนแรง (Disruptive Technology) จึงได้มีกระบวนการทบทวนและปรับปรุงทั้งองค์ความรู้และทักษะที่สำคัญต่อการนำไปใช้ในวิชาชีพของนักศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการใช้งานของภาคอุตสาหกรรม โดยได้ออกแบบแกนความรู้เทคโนโลยีดิจิทัลออกเป็น 5 แกน ประกอบด้วย เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เทคโนโลยีบล๊อกเชน (Block chain) เทคโนโลยีคลาว์ดคอมพิวติ้ง (Cloud computing) เทคโนโลยีบิ๊กดาต้า (Big Data) และ เทคโนโลยีไอโอที (IoT) ซึ่งถูกเรียกกล่าวในคำว่า “เทคโนโลยีดิจิทัล : ABCDI” โดยบูรณาการให้เกิดการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติในทุกๆหลักสูตรของคณะ

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้มีการบริหารหลักสูตรในสายเทคโนโลยีทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก ซึ่งหลักสูตรในระดับปริญญาตรีเน้นให้ผู้เรียนมีความสามารถนำความรู้และทักษะไปพัฒนา ประยุกต์ร่วมกับผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม ประกอบด้วย

หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer engineering) มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยี IoT ไปทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรมใหม่ของประเทศ เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า (EV) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะเป็นต้น ประกอบกับแนวโน้มที่เกิดการบูรณาการการหลอมรวมของเทคโนโลยีดิจิทัลให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงได้มีการพัฒนาหลักสูตรเป็นการบูรณาการระหว่างเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เข้ากับเทคโนโลยีไอโอที AIOT (AI + IoT) ซึ่งบุคลากรในสายอาชีพวิศวกรด้านเอไอโอทีนี้เป็นที่ต้องการในโลกอุตสาหกรรมใหม่เป็นจำนวนมาก
หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT) มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถทำงานดูแล บริหารจัดการและแก้ปัญหาทางเทคนิคทางโครงสร้างงานระบบพื้นฐานของสายงานด้านเทคโนโลยี (IT Infra Structure) ทั้งในส่วนงานบริหารจัดการระบบงาน Server และ ระบบ Cloud โดยมีการพัฒนาความรู้เชิงลึกลงไปในเรื่องการดูแลบริหารความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security) ซึ่งตลาดงานในปัจจุบัน มีความต้องการบุคลากรในสาขาอาชีพนี้เป็นจำนวนมากเช่นกัน
หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์และนวัตกรรมการพัฒนาซอฟต์แวร์ (Computer Science and Software Development Innovation : CSI) เป็นหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่เน้นการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะในสายงานพัฒนาซอฟต์แวร์สมัยใหม่ ซึ่งตลาดงานมีความขาดแคลนบุคลากรด้านนี้จำนวนมากเช่นกัน โดยหลักสูตรนี้มีจุดเด่นที่ได้ออกแบบให้ผู้เรียนได้ลงมือทำในกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำในแบบSoftware Full Stack Development ร่วมกับภาคอุตสาหกรรม โดยผู้เรียนจะได้ฝึกปฏิบัติการทำงานร่วมกับแพลตฟอร์มดิจิทัลที่สนับสนุนการทำงานกับเทคโนโลยีดิจิทัล ABCDI
ทั้งนี้ นักศึกษาจะมีภาคปฏิบัติงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรมตั้งแต่เริ่มต้นศึกษาไปจนถึงช่วงเวลาสิ้นสุดของการศึกษา ที่ฝึกประสบการณ์จริงกับทางผู้ประกอบการ โดยทุกหลักสูตรจะมีการผสมผสานเทคโนโลยีดิจิทัลทั้ง 5 แกน ABCDI ไว้อย่างลงตัว เพื่อให้บัณฑิตได้เป็นบัณฑิตที่สมบูรณ์แบบ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของสังคมและประเทศ
นอกจากการศึกษาขั้นต้นในระดับปริญญาตรีแล้ว คณะเทคโนโลยีสารสนเทศยังมีหลักสูตรในระดับบัณฑิตศึกษา ทั้งในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกในสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ MS.IT. และ PhD.IT. เพื่อพัฒนาองค์ความรู้เชิงลึกในการนำวิทยาการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้เชิงวิจัย ซึ่งมีบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษามามากกว่า 27 รุ่นในระดับปริญญาโท และ 18 รุ่นในระดับปริญญาเอก โดยมีรางวัลผลงานวิจัยวิทยานิพนธ์ดีเด่นระดับประเทศจากสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนประเทศไทย (สสอท) มากกว่า 15 รางวัล ติดต่อกันมาตลอดเวลากว่า 10 ปี ที่ผ่านมา จึงเป็นที่มั่นใจได้ว่า ผู้ที่สนใจพัฒนาตนเองให้ก้าวทันวิทยาการใหม่ๆ ของโลกดิจิทัล สามารถเข้ามาเรียนรู้พัฒนาตนเองได้ที่คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

Are You Ready To Start?

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

ปีการศึกษาจำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
ปริญญาโท
สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ48630,000

หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

ปีการศึกษาจำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
ปริญญาโท
ภาคเรียน เสาร์-อาทิตย์36200,000

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ภาคปกติ,วันอาทิตย์

ปีการศึกษา เทอม 1 เทอม 2 เทอม 3
ภาคเรียน ปกติ
ปีการศึกษาที่ 1 52,400  47,400 50,800 22,700
ปีการศึกษาที่ 2 48,500 19,200 23,700
    ค่าเทอม (2ปี) 217,300
ภาคเรียน วันอาทิตย์
ปีการศึกษาที่ 1 52,400  47,400 43,400 22,700
ปีการศึกษาที่ 1 44,300 34,000 20,500
    ลักษณะการกู้ยืมฯ 1
    ค่าเทอม (2ปี) 217,300

วิศวกรรมคอมพิวเตอร์

ปีการศึกษา เทอม 1 เทอม 2 เทอม 3
สาขา วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
ปีการศึกษาที่ 1 46,200 41,200 42,800 15,300
ปีการศึกษาที่ 2 45,700 44,400 13,500
ปีการศึกษาที่ 3 43,100 48,600 10,900
ปีการศึกษาที่ 4 44,900 19,200
    ลักษณะการกู้ยืมฯ 1
    ค่าเทอม (4ปี) 374,600

วิทยาการคอมพิวเตอร์และนวัตกรรมการพัฒนาซอฟต์แวร์

ปีการศึกษา เทอม 1 เทอม 2 เทอม 3
สาขา วิทยาการคอมพิวเตอร์และนวัตกรรมการพัฒนาซอฟต์แวร์
ปีการศึกษาที่ 1 41,000 36,400 45,800 10,900
ปีการศึกษาที่ 2 33,100 50,800 12,900
ปีการศึกษาที่ 3 43,100 49,600 8,700
ปีการศึกษาที่ 4 48,500 19,200
    ลักษณะการกู้ยืมฯ 1
    ค่าเทอม (4ปี) 364,000

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ปีการศึกษา เทอม 1 เทอม 2 เทอม 3
คณะ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ปีการศึกษาที่ 1 42,000 37,000 37,000 17,300
ปีการศึกษาที่ 2 40,500 39,200 14,500
ปีการศึกษาที่ 3 41,100 42,600 17,300
ปีการศึกษาที่ 4 41,100 19,200
    ลักษณะการกู้ยืมฯ 1
    ค่าเทอม (4ปี) 351,800

ค่าเทอมสาขา

คณะ/สาขาวิชา ลักษณะการกู้ยืมฯ เทอม 1 ตลอด หลักสูตร
สาขา เทคโนโลยีสารสนเทศ
วิทยาการคอมพิวเตอร์และนวัตกรรมการพัฒนาซอฟต์แวร์ 2 41,400 36,400 364,000
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 1 42,000 37,000 351,800
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 2 46,200 41,200 374,600