IT SPU นำเทรนด์ดิจิทัล จัดอบรม Upskill/Reskill กับ 3 หน่วยงานรัฐ

IT SPU นำเทรนด์ดิจิทัล! จับมือ 3 หน่วยงานรัฐ ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา (สป.อว.), สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Institute) และสถาบันพัฒนาบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล (TDGA) สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ร่วมกันยกระดับทักษะและผลิตบุคลากรยุคใหม่ ตอบโจทย์ความต้องการด้าน AI & IoT, Data Science และ Digital Literacy
เตรียมความพร้อมให้ข้าราชการก้าวสู่รัฐบาลดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ พร้อมหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สร้างวิศวกรพันธุ์ใหม่ รองรับการเติบโตของเทคโนโลยีแห่งอนาคต ตอกย้ำการเป็นผู้นำด้านไอทีของ SPU ด้วยการ Upskill/Reskill ครบทุกมิติ พร้อมขับเคลื่อนประเทศสู่ยุคดิจิทัลอย่างยั่งยืน
 
 

1. โครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ฯ หลักสูตรปริญญา (Degree) ชื่อหลักสูตรสร้างวิศวกรรุ่นใหม่ที่เชี่ยวชาญเทคโนโลยี AI, IoT และ Digital Skills สำหรับการพัฒนาโซลูชันอัจฉริยะในโลกดิจิทัล (วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์) ร่วมกับสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ (สป.อว.)

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ม.ศรีปทุม ร่วมกับ สป.อว. พัฒนาหลักสูตร “Next-Gen Engineers: AI, IoT and Digital Skills for Smart Solutions” (วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์) เพื่อสร้าง “วิศวกรรุ่นใหม่” ให้เชี่ยวชาญด้าน AI, IoT และ Digital Skills พร้อมตอบโจทย์ภาคการผลิตและอุตสาหกรรมในยุค New S-Curve ตามนโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย พ.ศ. 2568

จุดเด่นของหลักสูตรอยู่ที่การออกแบบร่วมกัน (Co-Designed Curriculum) กับหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น สมาคมไทยไอโอที (TIoT), AIAT, MFEC และ TDGA เน้นยกระดับทักษะ (Upskill/Reskill) ด้าน AI และ IoT ให้เกิดการประยุกต์ใช้งานจริงผ่านโมเดล Non-Degree Certificates สามหลักสูตร ได้แก่

  1. Connected Intelligence: AIoT in Action – เน้นเชื่อมต่อเทคโนโลยี IoT และ AI
  2. Mastery AI: The Next-Gen Skill Booster – มุ่งยกระดับผู้เรียนให้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน AI
  3. Digital Technology Skills for Next-Gen – พัฒนาทักษะดิจิทัลครอบคลุม Data Governance, Cybersecurity และ Digital Service

ทุกหลักสูตรออกแบบตามกรอบ “Skill Gap” ที่อุตสาหกรรมต้องการจริง เน้นฝึกปฏิบัติ (Hands-On) ร่วมกับบริษัทพันธมิตร รวมถึงมีระบบ Credential รับรองสมรรถนะ ที่ได้รับการยอมรับจากภาคอุตสาหกรรม เช่น “Certified IoT Specialist” หรือ “AI Data Analyst” เพื่อให้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาเป็นกำลังคนที่พร้อมใช้งาน และตอบโจทย์เทคโนโลยีแห่งอนาคต

2. โครงการเสริมสร้างและยกระดับทักษะระดับกลาง (Intermediate) ด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) และการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ร่วมกับ สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) 

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ม.ศรีปทุม ร่วมกับ สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน)  เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะวิเคราะห์และจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ พร้อมประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) รองรับความต้องการของตลาดในยุคดิจิทัล โดยเปิดให้สถาบันอุดมศึกษา (ทั้งภาครัฐและเอกชน) ยื่นขอรับทุนสนับสนุนการจัดอบรม วงเงินสูงสุด 1 ล้านบาท ทั้งนี้ หลักสูตรมาตรฐานจะครอบคลุมสาระสำคัญด้านการบริหารจัดการ Big Data, Machine Learning Algorithms และการเขียนโปรแกรมบนแพลตฟอร์ม Spark ซึ่งผู้เข้ารับการอบรมต้องผ่านหรือมีพื้นฐานความรู้ Data Science ระดับพื้นฐานมาก่อน

ไฮไลต์หลักสูตร Intermediate Data Science (5 วัน)

  • Big Data Management: ความหมาย คุณลักษณะ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง (Hadoop, Spark)
  • Machine Learning Algorithms: ทำความเข้าใจอัลกอริทึมต่าง ๆ เช่น Deep Learning, K-Means และการประยุกต์ใช้งานกับข้อมูลขนาดใหญ่
  • Big Data Analytics & Programming: ฝึกเขียนโปรแกรมและวิเคราะห์ข้อมูลจริง ผ่าน Spark Ecosystem
  • การวัดผลและใบประกาศ: ประเมินผ่าน Quiz, Assignment, Post-test และออกใบประกาศให้ผู้เรียนที่ผ่านเกณฑ์

3. โครงการฝึกอบรมหลักสูตรกลางเพื่อการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลสำหรับข้าราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล (ภายใต้แผนงานบูรณาการรัฐบาลดิจิทัล) ร่วมกับสถาบันพัฒนาบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล (TDGA) สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ม.ศรีปทุม ร่วมกับ สถาบันพัฒนาบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล (TDGA) เปิดโครงการฝึกอบรมหลักสูตร ความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ (Understanding and Using Digital Technology หรือ DGA101) มุ่งยกระดับทักษะด้านดิจิทัลให้แก่ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ รองรับการเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลดิจิทัล ด้วยเนื้อหาเข้มข้นครอบคลุม 30 ชั่วโมง จัดอบรมทั้งหมด 3 รุ่น ตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงกันยายน พ.ศ. 2568

เนื้อหาและกิจกรรมการอบรมที่โดดเด่น

  • พื้นฐานคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ดิจิทัล: เรียนรู้และฝึกปฏิบัติการใช้งานฮาร์ดแวร์–ซอฟต์แวร์เบื้องต้น การจัดการไฟล์ข้อมูล รวมถึงหลักการสำรองและกู้คืนข้อมูล
  • อินเทอร์เน็ตและการสืบค้นออนไลน์: ฝึกใช้เครื่องมือสืบค้น (Search Engine) เทคนิคประเมินความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล และเรียนรู้การใช้งานโซเชียลมีเดียเพื่อการทำงานร่วมกัน
  • Cloud Computing และการทำงานร่วมกันผ่านระบบออนไลน์: ฝึกใช้ระบบ Cloud Storage สำหรับเก็บและแชร์เอกสาร เรียนรู้การประชุมทางไกล (Video Conference) และการสร้างงานร่วมกันแบบเรียลไทม์
  • การสร้างสื่อดิจิทัล: เรียนรู้การตกแต่งภาพ วิดีโอ ตลอดจนการพัฒนาเว็บไซต์เบื้องต้นและการสร้างสื่อประชาสัมพันธ์รูปแบบดิจิทัล
  • ความปลอดภัยไซเบอร์ และกฎหมายดิจิทัล: ตระหนักถึงภัยคุกคามต่าง ๆ แนวทางป้องกัน เช่น การตั้งค่าไฟร์วอลล์ การป้องกันมัลแวร์ และการใช้งานเครือข่ายอย่างปลอดภัย รวมถึงจริยธรรมและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

หลักสูตรนี้นับเป็นโอกาสสำคัญสำหรับข้าราชการและบุคลากรภาครัฐในการเสริมสร้างทักษะดิจิทัลอย่างรอบด้าน พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลดิจิทัลในอนาคต

Most Popular

Categories