มุ่งเน้นการการวิจัยเพื่อพัฒนาความรู้ขั้นสูงและการประยุกต์ใช้เพื่อเป็นตัวจริงด้านโยธา

วิศวกรรมโยธา
วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต)

ปัจจุบันงานด้านวิศวกรรมโยธามีความก้าวหน้ามากขึ้น ทั้งในองค์ความรู้ทางวิชาการและเทคโนโลยี ทางวิศวกรรม มหาวิทยาลัยศรีปทุมตระหนักดีถึงการเปลี่ยนแปลงนี้ และเพื่อให้สอดคล้องกับ แนวทางพัฒนาประเทศและ สภาพการแข่งขันกับนานาชาติ จึงเห็นสมควรให้จัดทำหลักสูตร วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมโยธาขึ้น

จุดเด่นของสาขา

” ผลิตดุษฎีบัณฑิตสู่การเป็นตัวจริงด้านโยธา “

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตมุ่งเน้นการเรียนวิศวะด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาความรู้ขั้นสูง และการประยุกต์ใช้ในสาขาวิศวกรรมโยธา โดยมีคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิและเข้มข้นด้วยประสบการณ์ มีประสบการณ์ที่หลากหลายทั้งในและต่างประเทศ มีอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การเรียนเป็นไปตามแผนที่วางเอาไว้ หลังจากสำเร็จการศึกษาจะได้รับใบอนุญาตเมื่อจบการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา และสอบวิศวะผ่านเกณฑ์ของสภาวิศวกรอาชีพที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต้องใช้วิศวกรโยธา มีงานรองรับทั้งในภาครัฐและเอกชน

คำอธิบายรายวิชา >> ไฟล์แนบ คำอธิบายรายวิชาหลักสูตร 2563-2567

วิศวกรรมโยธา(วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต)

ค่าเทอมที่ 1

วิศวกรรมโยธา(วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต)
ค่าเทอมตลอดหลักสูตร
  •  
Popular

โครงสร้างหลักสูตร​

วิศวกรรมเครื่องกล เรียนอะไรบ้าง?


คุณสมบัติของผู้สมัคร

เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือกำลังอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้ายของหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต ซึ่งเป็นหลักสูตรในสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์ หรือสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์อื่นๆ ที่เทียบเท่า และเป็นผู้มีผลการเรียนคะแนนเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาโทไม่น้อยกว่า 3.25 และจะต้องผ่านการประเมินว่ามีศักยภาพในการทำวิจัย ทั้งนี้ผู้สำเร็จการศึกษาในบางสาขาอาจจะต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาเสริมพื้นฐานเพิ่มเติม โดยให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

จุดเด่นและความก้าวหน้าทางอาชีพ

1. มุ่งเน้นการการวิจัยเพื่อพัฒนาความรู้ขั้นสูง และการประยุกต์ใช้ในสาขาวิศวกรรมโยธา โดยมีคณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิและเข้มข้นด้วยประสบการณ์ มีประสบการณ์ที่หลากหลายทั้งใน และต่างประเทศ
2. มีห้องปฏิบัติการที่ทันสมัย
3. เรียน วันเสาร์-อาทิตย์ หรือเวลานัดหมายที่นักศึกษาสะดวก เหมาะสำหรับนักศึกษาที่ทำงานประจำให้มีโอกาสศึกษาต่อได้
4. มีอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การเรียนเป็นไปตามแผนที่วางเอาไว้

 

เกณฑ์การรับเข้าศึกษา

มหาวิทยาลัยเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกผู้สมัครโดยมีการสอบสัมภาษณ์ เพื่อวัดความรู้พื้นฐาน และกรณีผู้สมัครกำลังรอผลการศึกษา การรับเข้าศึกษาจะมีผลสมบูรณ์เมื่อผู้สมัครได้แสดงหลักฐานว่าสำเร็จการศึกษาแล้ว และมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

ระยะเวลาในการศึกษา

ใช้เวลาในการศึกษา 3  ปี
เรียน วันเสาร์ – อาทิตย์ หรือเวลานัดหมายที่นักศึกษาสะดวก

ชื่อปริญญา

  • ภาษาไทย (ชื่อเต็ม) : วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วิศวกรรมโยธา)
  • (อักษรย่อ) : วศ.ม. (วิศวกรรมโยธา)
  • ภาษาอังกฤษ (ชื่อเต็ม) : Doctor of Engineering (Civil Engineering)
  • (อักษรย่อ) : D.Eng. (Civil Engineering)

ระยะเวลาการศึกษา หลักสูตร

CAREER PATH

สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา เป็นสาขาหนึ่งในงานวิศวกรรมควบคุม ซึ่งผู้จะทำงานทางด้านวิศวกรรมโยธาได้ต้องได้รับใบอนุญาตวิศวกรรมควบคุมจากสภาวิศวกร ซึ่งจะได้รับใบอนุญาตก็ต่อเมื่อจบการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา และสอบผ่านเกณฑ์ของสภาวิศวกรอาชีพที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต้องใช้วิศวกรโยธา มีทั้งงานในภาครัฐและเอกชน

คณาจารย์

ศาสตราจารย์ ดร. ไพบูลย์ ปัญญาคะโป
หัวหน้าหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต/ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพจิตร ผาวัน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิรัช เลิศไพฑูรย์พันธ์

Review
สิ่งใหม่ จุดเด่น จุดแตกต่าง

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม การันตีคุณภาพแห่งความสำเร็จด้วยประสบการณ์การสอนมากว่าครึ่งศตวรรษภายใต้แนวคิด “Simply Significant”พลังสำคัญ ผลักดันสู่ความสำเร็จ ด้วยความร่วมมือจากเหล่าคณาจารย์วิศวกรมืออาชีพที่พร้อมเป็นพลังสำคัญในการผลักดันศักยภาพของผู้เรียนให้ประสบความสำเร็จด้วยการให้นักศึกษาได้เรียนวิศวะอย่างรู้ลึก! รู้จริง!ปฏิบัติจริง!ผ่านเครื่องมือและห้องปฏิบัติการณ์สุดทันสมัย

ค่าเทอมสาขา

คณะ/สาขาวิชา ลักษณะการกู้ยืมฯ เทอม 1 ตลอด หลักสูตร
คณะบริหารธุรกิจ
วิศวกรรมโยธา 1 46,600 41,600 359,400
วิศวกรรมโยธา – การจัดการงานก่อสร้าง 1 46,600 41,600 359,400
วิศวกรรมโยธา (นอกเวลาราชการ) 1 45,600 40,600 365,900
วิศวกรรมไฟฟ้า 2 44,600 39,600 361,400
วิศวกรรมไฟฟ้า – ระบบควบคุมอัตโนมัติและหุ่นยนต์ 2 44,600 39,600 361,400
วิศวกรรมไฟฟ้า (นอกเวลาราชการ) 2 38,600 33,600 370,400
วิศวกรรมเครื่องกล 2 46,600  41,600 364,400
วิศวกรรมเครื่องกล – เทคโนโลยีอาคาร 2 46,600  41,600 364,400
วิศวกรรมเครื่องกล (เทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่) 2 46,600  41,600 364,400
วิศวกรรมเครื่องกล (นอกเวลาราชการ) 2 45,600  40,600 373,400
วิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการ 2 45,600  40,600 362,000
วิศวกรรมอุตสาหการ – การจัดการวิศวกรรม 2 45,600  40,600 362,000
วิศวกรรมระบบราง 1 50,600  45,600 355,000