ไม่ว่าจะจัดซื้อ จัดเก็บ ควบคุม บรรจุ ขนส่ง กระจายสินค้าและบริการ เรียน Logistics ยุคดิจิทัล พร้อมทำงานกับบริษัทโลจิสติกส์ชั้นนำกว่า 200 บริษัท มุ่งเน้น โลจิสติกส์ นำเข้า – ส่งออก
“สร้างความเชี่ยวชาญในงานด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน”
นักศึกษาจะได้เรียนรู้การวางแผนการขนส่ง การจัดเก็บและควบคุมสินค้า การจัดซื้อจัดหา การจัดการศูนย์กระจายสินค้า การบรรจุภัณฑ์ การส่งมอบสินค้า การติดต่อทำธุรกิจระหว่างประเทศ โดยเรียนกับมืออาชีพในวงการ มีทัศนศึกษาดูงานและปฏิบัติงานกับสถานประกอบการชั้นนำก่อนสำเร็จการศึกษา
– ผู้กู้ลักษณะที่ 1 / ลักษณะที่ 2 / Human Capital ชำระเริ่มต้น 4,000 บาท ที่เหลือเป็นการกู้จากกองทุน
– ผู้ชำระเงินสด งวดแรกชำระ 15,000 บาท และชำระส่วนที่เหลือภายใน 30 เมษายน 2566
Human* คือสาขาที่ร่วมโครงการส่งเสริมการพัฒนาทุนมนุษย์
(Human Capital) ผู้กู้ กยศ.และ กรอ. รับเงื่อนไขพิเศษ 2 ต่อ
เมื่อจบการศึกษา
ต่อที่ 1 ลดเงินต้น 30%
ต่อที่ 2 ลดดอกเบี้ย 0.5% ต่อปี (จากปกติ 1% ต่อปี)
โครงสร้างหลักสูตร
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถ และความเชี่ยวชาญในงานด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ระหว่างศึกษามีการเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนผ่านกิจกรรมเสริมหลักสูตร อาทิ การเสริมสร้างความเข้าใจแบบบูรณาการด้วยเกมส์ด้านโลจิสติกส์ การอบรมเสริมความรู้ใหม่ๆ โดยวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญชั้นนำ สาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานได้ทำการแบ่งกลุ่มวิชาเพื่อสร้างความเชี่ยวชาญให้เกิดขึ้นกับนักศึกษามากยิ่งขึ้น ได้แก่
1. กลุ่มวิชาการขนส่ง
2. กลุ่มวิชาคลังสินค้า
3. กลุ่มวิชาการผลิต
นอกจากนี้ทางสาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้มีความร่วมมือกับสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทยในด้านการพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่องและการเน้นสร้างความเชี่ยวชาญให้กับผู้เรียน
สาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานเป็นการบูรณาการความรู้ในทุกๆ ด้านเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์กร ดังนั้นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสายงานนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนที่สำคัญก็คือ
• งานจัดซื้อ จัดหา จะต้องทราบถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบ หลักการเจรจาต่อรอง การประมาณการความต้องการที่แม่นยำ หลักเกณฑ์ในการชำระเงิน เทคโนโลยีที่ใช้ในงานจัดซื้อจัดหา การจัดการความสัมพันธ์กับผู้ขายปัจจัยการผลิต เช่น การร่วมกันวางแผนการสั่งซื้อ เป็นต้น
• งานคลังสินค้า จะต้องทำการวางแผนการใช้พื้นที่ภายในคลังสินค้า หลักการจัดเก็บสินค้า การใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงาน ปริมาณของสินค้าที่เหมาะสม การแบ่งประเภทของสินค้า การวางแผนการจัดเก็บและจัดส่งสินค้า เป็นต้น
• งานขนส่งสินค้า เกี่ยวข้องกับการวางแผนการขนส่ง การกำหนดเส้นทางการขนส่ง วิธีการกระจายสินค้าที่เหมาะสม การใช้ทรัพยากรอย่างเต็มประสิทธิภาพทั้งขาไปและขากลับ การพัฒนาวิธีการจัดส่งเพื่อลดเวลาในการจัดส่งสินค้า เป็นต้น
• งานด้านสารสนเทศ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมดภายในองค์กรและระหว่างองค์กร ตั้งแต่ความต้องการของลูกค้า ปัญหาที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลด้านการไหลของสินค้า การไหลของข้อมูลข่าวสาร และการไหลของเงิน ข้อมูลของคลังสินค้า ข้อมูลของผู้ขายปัจจัยการผลิต เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาองค์กร
• งานด้านลูกค้าสัมพันธ์ เป็นการดูแลจัดการลูกค้า อาทิเช่น การจัดการร้านค้าปลีก เป็นการช่วยพัฒนาร้านค้าในด้านการวางแผนการสั่งซื้อ การจัดเก็บสินค้า การจัดหน้าร้าน การประสานข้อมูลกับลูกค้า
• อื่นๆ เช่น งานลดต้นทุน การวางแผนการบำรุงรักษา
2. งานที่ปรึกษา
• นักวิเคราะห์และปรับปรุงธุรกิจ จะต้องเข้าใจถึงระบบโดยรวมของธุรกิจ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา การหาแนวทางในการพัฒนาองค์กรเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าและการลดต้นทุน
• การฝึกอบรม เทคนิคต่างๆ ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
• การให้คำปรึกษาหน่วยงาน
(1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 30 | หน่วยกิต | |
(2) หมวดวิชาเฉพาะ | 92 | หน่วยกิต | |
(2.1) วิชาแกน | 25 | หน่วยกิต | |
(2.2) วิชาเอกบังคับ | 28 | หน่วยกิต | |
(2.3) วิชาเอกเลือก | 9 | หน่วยกิต | |
(2.4) วิชาโท/วิชาเฉพาะ | |||
(เลือกเรียนวิชาโท/วิชาเฉพาะ จำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มละ 15 หน่วยกิต) | |||
2.4.1 วิชาโท/วิชาเฉพาะ1 15 หน่วยกิต | |||
2.4.2 วิชาโท/วิชาเฉพาะ2 15 หน่วยกิต | |||
(3) หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 | หน่วยกิต | |
รวม | 128 | หน่วยกิต |
ภาคปกติ
เรียนในเวลาราชการ จันทร์ – ศุกร์ เวลา 9.00 – 17.00 น.
– นักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ
– นักวางแผนและควบคุมการขนส่ง
– นักวางแผนและควบคุมการกระจายสินค้า
– นักวางแผนและควบคุมการจัดซื้อ
– ผู้ให้บริการด้าน Freight Forwarder
– ผู้ประกอบการด้านโลจิสติกส์
– ผู้บริหารขนส่ง
– ผู้บริหารคลังสินค้า
– ตัวแทนขนส่งสินค้าทางบก ทะเล และอากาศ
– นักวิเคราะห์ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
– นักวางแผนวัตถุดิบ การผลิต หรือการกระจายสินค้า
– นักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ
– นักวิจัย/นักวิชาการด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
– นักวิจัย/นักวิชาการด้านการจัดการการปฏิบัติการ
– อาจารย์หรือนักวิชาการประจำสถาบันต่าง ๆ
– เจ้าของกิจการและผู้ประกอบอาชีพอิสระทางธุรกิจ
– ผู้บริหารองค์กรภาครัฐและเอกชนในระดับสูง
– นักวิจัยทางด้านบริหารธุรกิจของหน่วยงานต่างๆ หรือ นักวิจัยอิสระ
– ที่ปรึกษาทางธุรกิจ ให้แก่บริษัทเอกชนและหน่วยงานของรัฐ
– ฯลฯ
ไม่ว่าจะจัดซื้อ จัดเก็บ ควบคุม บรรจุ ขนส่ง กระจายสินค้าและบริการ เรียน Logistics ยุคดิจิทัล พร้อมทำงานกับบริษัทโลจิสติกส์ชั้นนำกว่า 200 บริษัทมุ่งเน้น โลจิสติกส์ นำเข้า – ส่งออก
คณะดิจิทัลมีเดีย
คณะนิเทศศาสตร์
คณะการสร้างเจ้าของธุรกิจ
วิทยาลัยการบินและคมนาคม
วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ
คณะศิลปศาสตร์
คณะบริหารธุรกิจ
วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
คณะบัญชี
คณะวิศวกรรมศาสตร์
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะการออกแบบและสถาปัตยกรรมศาสตร์
คณะนิติศาสตร์
Sripatum International College
British College
ปริญญาโท-เอก
เกี่ยวกับเรา | คณะ | เรื่องราว | ชีวิต | สื่อ | ตำแหน่งงาน | ติดต่อเรา
มหาวิทยาลัยศรีปทุม 2410/2 ถ.พหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์: (662) 558-6888 แฟกซ์: (662) 561 1721
มหาวิทยาลัยศรีปทุม 2410/2 ถ.พหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์: (662) 558-6888 แฟกซ์: (662) 561 1721