“โลจิสติกส์ปรับตัว ตั้งเป้าเป็นผู้แก้ปัญหา” กับ ผศ.ดร.ธรินี มณีศรี

ชื่อ-สกุล ผศ.ดร.ธรินี มณีศรี ชื่อเล่น อ.กบ
ตำแหน่ง รักษาการคณบดี วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน และผู้อำนวยการหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน

คดิประจำใจ
ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั้น
วุฒิการศึกษา :
ปริญญาเอก: วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วิศวกรรมอุตสาหการ)มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปริญญาโท: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมอุตสาหการ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปริญญาตรี: วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมอุตสาหการ) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

อธิบายความเป็นตัวเอง
ส่วนตัวเป็นคนทำงาน และค่อนข้างคาดหวังสูงในผลสำเร็จของงานแต่ละชิ้น เป็นที่ขี้เกรงใจคน และค่อนข้างแคร์ความรู้สึกคนรอบข้างเสมอ จนบางครั้งขาดความเป็นตัวของตัวเอง มีความมุ่งมั่นในการทำงาน และรู้สึกภูมิใจทุกครั้งหากผลงานได้รับการยอมรับจากผู้ใหญ่ที่คอยให้การสนับสนุนเสมอมา

ความเชี่ยวชาญ เรื่องที่ถนัด
ด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มาตรฐานด้านโลจิสติกส์ การจัดการขนส่งและการกระจายสินค้า

ถ้านักศึกษาจบโลจิสติกส์ไป ทำงานอะไร
องค์ความรู้ด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน นักศึกษาสามารถนำไปใช้ได้ในหลากหลายอาชีพ เช่น นักจัดการโลจิสติกส์ในโรงงานอุตสาหกรรม นักวางแผนเส้นทางขนส่ง เจ้าหน้าที่คลังสินค้า ผู้แทนการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น หรือสามารถประกอบธุรกิจเป็นเจ้าของกิจการของตนเองได้

ความคาดหวังต่อลูกศิษย์ที่เรียนโลจิสติกส์
อยากให้ลูกศิษย์ทุกคนที่ตัดสินใจเลือกเรียนโลจิสติกส์ ได้มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการศึกษาเล่าเรียน นำองค์ความรู้ต่างๆ ที่คณาจารย์ทุกท่านมอบให้ไปใช้เป็นอาวุธในการต่อสู้กับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งในที่ทำงาน และในชีวิตประจำวัน เครื่องมืออันทรงคุณค่า คือ “ความรู้” ที่ติดตัวลูกศิษย์ไป อยากให้ใช้อย่างคุ้มค่า

อยากบอกอะไรน้องๆที่อยากมาเรียนโลจิสจิกส์ที่ศรีปทุมครับ
โลจิสติกส์ศรีปทุม จะทำให้น้องๆได้พบกับการเรียนโลจิสติกส์แนวใหม่และท้าทายความคิดอยู่ตลอดเวลา การได้เรียนกับตัวจริงประสบการณ์จริง มีโอกาสทำงาน สร้างรายได้ระหว่างเรียน และได้งานทำเกือบ 100% หลังสำเร็จการศึกษา ด้วยเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภาคเอกชน

แนวทางในอนาคต
วิทยาลัยวิทยาลัยโลจิสติกส์ และซัพพลายเชน นี้จะผลักดันให้โดดเด่นมีการพัฒนาหลักสูตรที่ออกนอกกรอบ  และสิ่งสำคัญ ในหลักการโลจิสติกส์ และซัพพลายเชน ค่อนข้างปรับเปลี่ยนตลอดเวลา ตามเทคโนโลยีและนวัตกรรม ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องนำองค์ความรู้ต่างๆนำมาปรับ โดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรมนำผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกเข้ามา ทำงานเป็นหนึ่งเดียวกัน กับวิทยาลัย รวมถึงภาคเอกชนต่างๆเข้ามา ซึ่งจะมีผู้เชียวชาญจากภาคเอกชนโดยตรงโดยเป็นนักปฏิบัติการอย่างแท้จริง นอกเหนือจากความรู้จากอาจารย์แล้ว

 

 

      

Most Popular

Categories