แนวปฏิบัติที่ดีด้านการวิจัย
แนวปฏิบัติที่ดีด้านการวิจัย มุ่งเน้นให้การวิจัยมีคุณภาพสูง สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อวงการวิชาการ สังคม และเศรษฐกิจ เช่น
1. กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน
– กำหนดปัญหาการวิจัยที่ชัดเจนและมีความสำคัญ เพื่อให้การวิจัยมีความน่าเชื่อถือและสามารถสร้างผลลัพธ์ที่มีคุณค่า
– วางแผนและออกแบบการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ชัดเจน พร้อมสร้างคำถามการวิจัยที่เหมาะสม
2. ปฏิบัติตามหลักจริยธรรมการวิจัย
– ยึดถือหลักจริยธรรมอย่างเคร่งครัด
– ให้ความเคารพต่อสิทธิส่วนบุคคลและข้อมูลส่วนตัวของผู้เข้าร่วมวิจัย
3. เลือกใช้วิธีการวิจัยที่เหมาะสม
– เลือกใช้วิธีการและเทคนิคที่เหมาะสมกับประเภทของการวิจัย เช่น การวิจัยเชิงคุณภาพหรือเชิงปริมาณ หรือการวิจัยเชิงสำรวจ
– ใช้เครื่องมือและการวิเคราะห์ที่ทันสมัย เพื่อให้ผลลัพธ์มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือ
4. ความโปร่งใสและการจัดการข้อมูลวิจัย
– มีการบันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สามารถตรวจสอบและทำซ้ำได้
– เปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ผู้วิจัยคนอื่นสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูล หรือทดสอบสมมติฐานต่อไปได้
– ป้องกันการปลอมแปลงข้อมูล การบิดเบือนผลวิจัย หรือการนำเสนอข้อมูลที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิด
5. สร้างความร่วมมือและเครือข่ายวิจัย
– ส่งเสริมการทำงานวิจัยร่วมกันระหว่างนักวิจัย ทั้งภายในและภายนอกสถาบัน
– การสร้างเครือข่ายวิชาการและเข้าร่วมงานประชุมวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์
6. การเผยแพร่ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ
– เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการที่มีการตรวจพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (peer-reviewed journals) หรือในงานประชุมวิชาการ เพื่อให้ผลงานได้รับการยอมรับในวงการวิชาการ
7. ใช้ทรัพยากรวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ
– วางแผนการใช้ทรัพยากร เช่น งบประมาณ อุปกรณ์ และเวลา อย่างมีประสิทธิภาพและรอบคอบ เพื่อให้การวิจัยดำเนินไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพสูงสุด
– ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือวิจัยที่ทันสมัยในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล
8. ส่งเสริมการนำผลวิจัยไปใช้ประโยชน์
– ผลักดันให้งานวิจัยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในภาคอุตสาหกรรมหรือภาครัฐ เพื่อแก้ไขปัญหาหรือพัฒนานวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจ
– มีการวางแผนการขยายผลหรือถ่ายทอดองค์ความรู้จากการวิจัยสู่ผู้ใช้งานหรือสาธารณชน
9. สนับสนุนการพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่
– ส่งเสริมการพัฒนาทักษะและความรู้ของนักวิจัยรุ่นใหม่ผ่านการฝึกอบรม การให้คำปรึกษา และการให้โอกาสในการทำวิจัยร่วมกับนักวิจัยที่มีประสบการณ์
– สร้างบรรยากาศการทำงานที่สนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาตัวเองของนักวิจัยใหม่
10. ประเมินและพัฒนางานวิจัยอย่างต่อเนื่อง
– มีการประเมินงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับปรุงคุณภาพและกระบวนการวิจัย
– ส่งเสริมให้นักวิจัยใช้ผลการประเมินในการปรับปรุงการออกแบบการวิจัยและการพัฒนาทักษะในการทำวิจัยในอนาคต
กระบวนการขั้นตอนขอทุนวิจัยภายในมหาวิทยาลัย
ในส่วนกระบวนการขั้นตอนภายในมหาวิทยาลัยในการเริ่มทำงานวิจัยสำหรับการขอทุน ในกรณีการขอทุนสนับสนุนงานวิจัยจากภายนอกนั้น หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงในเรื่องนี้ได้แก่ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย ซึ่งเมื่อผู้สนใจทำงานวิจัยได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยจากหน่วยงานภายนอกมาแล้วจะต้องดำเนินการขออนุมัติเพื่อทำงานวิจัยผ่านศูนย์นี้เสียก่อน โดยขั้นตอนในการขออนุมัติเป็นไปตามแผนภาพต่อไปนี้

การนำไปปรับใช้ – มีอาจารย์ที่เข้าร่วมโครงการและได้รับทุนวิจัยที่ทำร่วมกัน จำนวน 1 ทุน คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์เจียมจิต สุวรรณน้อย และ อาจารย์พิมพ์ชนก ชาญวิชิต