ศูนย์กฎหมายศรีปทุม (Sripatum Legal Center)

 

ศูนย์กฎหมายศรีปทุม
(Sripatum Legal Center)

 

ในปัจจุบัน นอกเหนือจากหน้าที่หลักในการสอนวิชาความรู้ให้แก่ลูกศิษย์นักศึกษาที่สมัครเข้ามาเรียนในสาขาวิชาต่าง ๆ แล้ว มหาวิทยาลัยยังมีโอกาสบริการงานวิชาการให้แก่ประชาชนทั่วไปได้อีกด้วย “ศูนย์กฎหมายศรีปทุม (Sripatum Legal Center)” จึงถูกจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักในการเผยแพร่ความรู้ทางด้านกฎหมายให้แก่ประชาชนทั่วไป ทั้งโดยการทำวิจัยที่มีประโยชน์เพื่อเผยแพร่ต่อสังคม และการจัดอบรมสัมมนาต่างๆ อันเป็นการส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านกฎหมายแก่สังคม

ภารกิจ

ศูนย์กฎหมายศรีปทุม เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในด้านการส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านกฎหมาย การบริการงานวิชาการที่มีคุณภาพอันเป็นผลสืบเนื่องจากการส่งเสริมการศึกษา และการวิจัยต่อสังคม รวมถึงการอบรมให้คำปรึกษาในการพัฒนาองค์กรและบุคลากรด้านกฎหมายให้มีศักยภาพ

วัตถุประสงค์
1. เพื่อสนับสนุนงานบริการสังคม ซึ่งเป็นภารกิจพื้นฐานของสถาบันการศึกษา
2. เพื่อสร้าง Brand และชิงความเป็นผู้นำด้านกฎหมายของประเทศไทย
3. เพื่อเสริมสร้างชื่อเลียงให้แก่มหาวิทยาลัยศรีปทุม ให้เป็นที่รู้จักในระดับชาติมากยิ่งขึ้น

ผู้อำนวยการศูนย์กฎหมายศรีปทุม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ช้องนาง วิพุธานุพงษ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต

ตำแหน่งทางวิชาการ: ผู้อำนวยการศูนย์กฎหมายศรีปทุมและอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

วุฒิการศึกษา :

– Ph.D. (Intellectual Property Law) University of Nottingham, UK
– LL.M. (Intellectual Property Law) Queen Mary University of London
– น.บ.ท. (เนติบัณฑิตไทย) สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
– น.บ. (นิติศาสตร์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ช้องนาง วิพุธานุพงษ์ จบการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เคยมีประสบการณ์ด้านกฎหมายในฐานะนิติกร กลุ่มกฎหมายการสื่อสารและโทรคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา นอกจากนี้ ยังมีประสบการณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสื่อสารมวลชน โดยเคยร่วมงานในฐานะกองบรรณาธิการ นักแปล และนักเขียนอิสระให้กับสำนักพิมพ์ต่างๆ
ด้วยประสบการณ์ที่หลากหลายเหล่านี้ จึงเป็นแรงบันดาลใจให้ศึกษาต่อปริญญาโทและปริญญาเอกด้านกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา โดยมีความสนใจเป็นพิเศษในประเด็นกฎหมายลิขสิทธิ์
ตลอดจนกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และปัจจุบันยังคงสนใจที่จะทำงานวิจัยด้านนี้อย่างต่อเนื่อง

สาขาวิชาที่สนใจ/มีความชำนาญพิเศษ

– Intellectual Property Law: Copyright and Authorship
– Human Rights: Property Right and Freedom of Expression
– Media Law: Internet and Communication
– Traditional Knowledge and Traditional Cultural Expressions

ผลงานทางวิชาการ

บทความวิจัย
– ช้องนาง วิพุธานุพงษ์, สินีนาฏ กริชชาญชัย, พิทยา ไชยมหาพฤกษ์, สุรีย์ฉายพลวัน และสุภัสสร ภู่เจริญศิลป์. (2563). ศึกษาเปรียบเทียบกลไลการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารในกลุ่มประเทศที่ประสบผลสำเร็จในการควบคุมราคายา.รายงานสืบเนื่อง การประชุมวิชาการระดับชาติ เวทีวิจัยมนุษย์ศาสตร์ไทย, ครั้งที่ 14, ประจำปี 2563. คณะสังคมศาสตราจารย์และมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา นครปฐม. หน้า 26-42.
– โครงการวิจัยกฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายประเทศไทยกับกฎหมายของประเทศสมาชิกกลุ่ม AEC รวมถึงกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) (SiPA) (2559)
– “Copyright for Digital Era: Are We Aiming at Individuals”, research submitted for PhD in Intellectual Property Law, University of Nottingham (2016)

บทความทางวิชาการ

– ช้องนาง วิพุธานุพงษ์. (2564). แนวทางการตีความมาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ 2537 เพื่อให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์แก่งานดัดแปลงที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์พิจารณาตามแนวทางของสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา. วารสารกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ, หน้า 241-255.
– ช้องนาง วิพุธานุพงษ์. (2564). ผู้ประกอบวิชาชีพทนายความกับบทบาทสำคัญในกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท. รายงานสืบเนื่อง (Proceedings) การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ, ครั้งที่ 16, ประจำปี 2564. มหาวิทยาลัยศรีปทุม. หน้า 514-524.
– Copyright is an Engine of Free Expression’ or ‘Free Expression is an Engine of Copyright’? : A Revisit of Expressions and Copyright for International Copyright Mechanisms’ International Association for the Advancement of Teaching and Research of Intellectual Property (ATRIP Congress 2016), Jagiellonian University, Kraków, Poland (2016)
– “ถกลิขสิทธิ์ กรณีแปลงานโดยไม่ขออนุญาต และแปลงภาพในมานีมีแชร์”, 12 กันยายน 2556, http://prachatai.com/journal/2013/09/48714.
– “ชวนคุยต่อประเด็นลิขสิทธิ์ถ่ายทอดบอล-สิทธิเผยแพร่ต่อสาธารณะในงานดนตรี”, ประชาไท, 5 กรกฎาคม 2555, http://prachatai.com/journal/2012/07/41404.
– “การจัดการทรัพย์สินทางปัญญาในมหาวิทยาลัยของไทย (The management of intellectual property in Thailand university)”, วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ( ม.ค.-มิ.ย. 2552 ) หน้า 87-95
– “กระบวนการสร้างจำเลยสังคมจากฟอร์เวิร์ดเมล”, มติชน, 26 เมษายน 2552
– “ครีเอทีฟคอมมอนส์: ลิขสิทธิ์กับสิทธิมนุษยชน”, กรุงเทพธุรกิจ, 24 กรกฎาคม 2552.

ศิษย์เก่า

Most Popular

Categories