อายุความ เป็นสิ่งสำคัญ ที่นักกฎหมายทุกท่านควรตระหนัก ห้ามลืม ห้ามเลย มิเช่นนั้นจะถือว่า #ขาดอายุความ
“ #อายุความ ” = คือ ระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดว่าจะต้องฟ้องคดีและได้ตัวผู้กระทำความผิดมาศาลภายในเวลากี่วัน กี่เดือน กี่ปี ถ้าฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมาศาลภายหลังจากระยะเวลาที่กำหนดไว้ ก็เท่ากับว่าฟ้องนั้นขาดอายุความ
“ #ฟ้องขาดอายุความ ” = #ฟ้องไม่ได้ เพราะ #สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ หากฝืนฟ้องไปศาลก็พิพากษา #ยกฟ้อง
Q : นับอายุความอย่างไร
A : อายุความจะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับระวางโทษตามกฎหมายของความผิดแต่ละกระทงเป็นหลัก (ส่วนใหญ่จะระบุระวางโทษอยู่ตอนท้ายของบทมาตราความผิดนั้นๆ) ดังนี้
–20 ปี สำหรับความผิดที่มีระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุก 20 ปี เช่น ความผิดฐานเป็นกบฏ มีระวางโทษประหารชีวิต จะต้องฟ้องคดีภายในอายุความ 20 ปี
–15 ปี สำหรับความผิดที่มีระวางโทษจำคุกมากกว่า 7 ปี แต่ยังไม่ถึง 20 ปี เช่น ความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 10 ปี จะต้องฟ้องคดีภายในอายุความ 15 ปี
–10 ปี สำหรับความผิดที่มีระวางโทษจำคุกมากกว่า 1 ปี ถึง 7 ปี เช่น ความผิดฐานลักทรัพย์ มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี จะต้องฟ้องคดีภายในอายุความ 10 ปี
–5 ปี สำหรับความผิดที่มีระวางโทษจำคุกมากกว่า 1 เดือน ถึง 1 ปี เช่น ความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงาน มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี จะต้องฟ้องคดีภายในอายุความ 5 ปี
–1 ปี สำหรับความผิดที่มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 เดือนลงมา หรือระวางโทษอย่างอื่น เช่น ความผิดฐานยิงปืนโดยใช่เหตุในเมือง หมู่บ้าน ทางสาธารณะ มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 วัน จะต้องฟ้องคดีภายในอายุความ 1 ปี
#Dek63 อยากรู้ลึก รู้จริง เรื่องกฎหมาย #นิติศรีทุม การันตีคุณภาพโดยอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านฎหมายตัวจริง
มีปัญหากฎหมาย ปรึกษา #คลีนิกกฎหมายศรีปทุม พร้อมให้คำปรึกษาแก่ประชาชนทั่วไป ฟรี‼️ไม่มีค่าใช้จ่าย