สืบเนื่องจากได้มีการเสนอจากกระทรวงสาธารณสุขให้มีการ ร่างพระราชบัญญัติยา พ.ศ. …. เพื่อปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 โดยมติคณะรัฐมนตรีได้มีหนังสือจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีโดยสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีความเห็นให้กระทรวงสาธารณสุขนำร่างพระราชบัญญัติยา พ.ศ. …. กลับไปหารือร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เพื่อพิจารณาอีกครั้งก่อนนำกลับเข้าเสนอคณะรัฐมนตรี
ทางศูนย์กฎหมายศรีปทุม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมในฐานะนักวิชาการ มีความเป็นห่วงต่อการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติยา พ.ศ. …. นี้ เนื่องจากยังขาดการผสมผสานระหว่างหลักนิติศาสตร์และหลักวิชาชีพทางสาธารณสุข รวมถึงกฎหมายระหว่างประเทศ และกติกาสากล โดยที่ยังมีหลายความเห็นจากหลายฝ่ายและในหลายมิติที่เป็นประโยชน์ต่อแนวทางการปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติยา พ.ศ. …. ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานสากล ตามที่ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศสมาชิกของสหประชาชาติ พึงปฏิบัติ และเพื่อให้การการทำงานของภาครัฐมีความคล่องตัวและไม่มีความซ้ำซ้อนของหน่วยงาน การเปิดโอกาสให้ผู้เชี่ยวชาญและบุคคลจากทุกกลุ่มที่มีส่วนเกี่ยวข้องในแต่ละด้านได้เข้ามามีส่วนร่วมในการให้ความเห็น จึงเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งเพื่อนำองค์ความรู้มาประกอบการพิจารณาอย่างรอบคอบ ต่อการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติยา พ.ศ. …. เพื่อลดผลกระทบในวงกว้างต่อประชาชน ในฐานะผู้ป่วย และผู้ประกอบวิชาชีพทางสาธารณสุข ทั้งระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยในภาครัฐและเอกชน ตลอดจนการลดผลกระทบที่มีต่อระบบยาหรือระบบสาธารณสุขของประเทศ ที่อาจนำไปสู่ความปลอดภัยในการดูแลรักษาทั้งชีวิตและร่างกายของผู้ป่วยได้
ดังนั้น ศูนย์กฎหมายศรีปทุม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมจึงได้จัดเสวนา ภายใต้หัวข้อ “วิเคราะห์ร่างพระราชบัญญัติยา พ.ศ. …. และผลกระทบที่อาจเกิดต่อประเทศ” ขึ้นในวันเสาร์ที่ 4 เมษายน 2558 ณ มหาวิทยาลัยศรีปทุม โดยได้เรียนเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ ผู้ป่วยจากภาคประชาชนมาร่วมเสวนาแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอต่างๆ โดยที่คณะที่มาร่วมเสวนาในการประชุมมีความเห็นและข้อเสนอแนะดังนี้

