ให้มีความรู้และเชี่ยวชาญทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
(นิติรัฐกิจและการบริหาร)

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิติรัฐกิจและการบริหาร เป็นหลักสูตรที่ศึกษาวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้เชิงบูรณาการระหว่างศาสตร์สามศาสตร์ ประกอบด้วย นิติศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และบริหารธุรกิจ ที่จะนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในการบริหารงานองค์กรสมัยใหม่ โดยผู้ที่ผ่านหรือสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรนี้จะเป็นผู้บริหารที่มีความพร้อมในการบริหารองค์กรสมัยใหม่ ตลอดจนเป็นนักวิจัยหรือผู้เชี่ยวชาญที่มีองค์ความรู้ วิสัยทัศน์ และความเข้าใจในแก่นสารของทฤษฎี แนวความคิด และนวัตกรรมทางการบริหารของภาครัฐหรือภาคเอกชนภายใต้กรอบขอบเขตแห่งกฎหมาย

จุดเด่นของสาขา

อาจารย์ผู้สอนเป็นมืออาชีพในวงการ อาทิ ผู้พิพากษา อัยการ

  • เป็นหลักสูตรแรกในประเทศไทยที่บูรณาการองค์ความรู้ 3 ศาสตร์ คือ นิติศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และบริหารธุรกิจ
  • มุ่งสร้างผู้นำหรือผู้บริหารองค์กรของภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน และนักวิจัย ให้มีองค์ความรู้เชิงบูรณาการ เพื่อการบริหารองค์กรสมัยใหม่ภายใต้หลักนิติธรรมในมิติสากล
  • มีปรัชญาการศึกษา คือ นักบริหารยุคใหม่ ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง
  • มีการศึกษาดูงานเป็นองค์ความรู้เชิงบูรณาการนอกสถานที่
  • มีระบบการให้คำแนะนำปรึกษาการเรียนและการทำวิทยานิพนธ์อย่างใกล้ชิด
  • วิชานิติรัฐกิจและการบริหารสอนเพื่อตอบสนองความต้องการของภาครัฐและภาคเอกชนในกระบวนทัศน์ของระบบเศรษฐกิจเสรี

ค่าเทอมสาขา

ค่าเทอมที่ 1

นิติศาสตรบัณฑิต
ค่าเทอมปีการศึกษาที่ 1
  • ค่าเทอม 2 / 32,200
Popular

โครงสร้างหลักสูตร​

แผนการเรียน/โครงสร้างหลักสูตร

      เป็นหลักสูตรที่มีการเรียน 2 แบบ

       – แบบ 1 เป็นการเรียนแบบทำเฉพาะวิทยานิพนธ์ โดยผู้เข้าศึกษาต้องทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 54 หน่วยกิต
       – แบบ 2 เป็นการเรียนรายวิชาและทำวิทยานิพนธ์ โดยผู้เข้าศึกษาต้องศึกษารายวิชา 18 หน่วยกิต และทำวิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต

ภาคการศึกษาที่ 1   
               –  LPB800 ระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูงทางนิติศาสตร์และการบริหาร                                N/C
           –  LPB804 การบูรณาการแนวคิด ทฤษฎีทางนิติศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และบริหารธุรกิจ    N/C
           –  LPB805 หลักการ แนวคิด และทฤษฎีทางนิติศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และบริหารธุรกิจ 1    N/C
           –  LPB806 หลักการ แนวคิด และทฤษฎีทางนิติศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และบริหารธุรกิจ 2    N/C

        ภาคการศึกษาที่ 2
                –  LPB811 พลวัตนวัตกรรมทางการบริหารภาครัฐและธุรกิจ                            3 หน่วยกิต
           –  LPB812 สัมมนาความสัมพันธ์ระหว่างหลักนิติศาสตร์กับการบริหารรัฐกิจและธุรกิจ       3 หน่วยกิต
           –  LPB813 บทบาทภาครัฐและภาคเอกชนตามกรอบแนวคิดทางการบริหารรัฐกิจใหม่        3 หน่วยกิต
           –  LPB814 สัมมนาการพัฒนาเค้าโครงวิทยานิพนธ์                                   3 หน่วยกิต

        ภาคการศึกษาที่ 3
                –  LPB823 สัมมนาองค์รวมปัญหาทางนิติศาสตร์ บริหารรัฐกิจและธุรกิจ                 3 หน่วยกิต
            –  LPB825 การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารขั้นสูง                         3 หน่วยกิต
            –  QEJ700 การสอบวัดคุณสมบัติข้อเขียน                                                N/C
            –  QEJ701 การสอบวัดคุณสมบัติปากเปล่า                                                N/C

ชื่อปริญญา

  • ภาษาไทย (ชื่อเต็ม) : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (นิติรัฐกิจและการบริหาร)
  • (อักษรย่อ) : ปร.ด. (นิติรัฐกิจและการบริหาร)
  • ภาษาอังกฤษ (ชื่อเต็ม) : Doctor of Philosophy (Public and Business Administration Jurisprudence)
  • (อักษรย่อ) : Ph.D. (Public and Business Administration Jurisprudence)

ระยะเวลาการศึกษา หลักสูตร

  เป็นหลักสูตร 3 ปี มีระยะเวลาการศึกษาไม่เกิน 6 ปีการศึกษา 

วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
           วันเสาร์ และ วันอาทิตย์ เวลา 09.00 – 16.00 น.
           เรียนวิชาละ 15 ครั้ง ๆ ละ 3 ชั่วโมง รวม 45 ชั่วโมงต่อวิชา

CAREER PATH

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (นิติรัฐกิจและการบริหาร)

– นักบริหารภาครัฐและภาคเอกชน ระดับกลางถึงสูง
– ข้าราชการ
– พนักงานรัฐวิสาหกิจ
– อาจารย์
– นักวิจัย
– นักวิชาการ
– ที่ปรึกษาโครงการ
– องค์กรอิสระ
– องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร

คณาจารย์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โสภณ เจริญ
ผู้อำนวยการหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิติรัฐกิจและการบริหาร
ดร.ภาคิน เจริญนนทสิทธิ์
อาจารย์ประจำหลักสูตร
ดร.ศิวพร เสาวคนธ์
อาจารย์ประจำหลักสูตร

Review
สิ่งใหม่ จุดเด่น จุดแตกต่าง

หลักสูตรที่ศึกษาวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้เชิงบูรณาการระหว่างศาสตร์สามศาสตร์ ประกอบด้วย นิติศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และบริหารธุรกิจ ที่จะนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในการบริหารงานองค์กรสมัยใหม่