ว่ากันเรื่องศาล

ทำไมบางครั้ง? ทหารที่ทำผิดอาญา ถึงขึ้นศาลยุติธรรม แทนที่จะเป็นศาลทหาร…

ศาลยุติธรรม มีอำนาจตัดสินคดีต่างๆ (ทั้งปวง) ทั้งทางแพ่งและทางอาญา รวมถึงคดีที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น คดีที่เด็กหรือเยาวชนทำผิด คดีแรงงาน คดีเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นต้น เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจศาลอื่น เช่น ศาลปกครอง ศาลทหาร ฯลฯ

ศาลทหาร มีอำนาจตัดสินคดีอาญาที่ผู้กระทำความผิด อยู่ในอำนาจศาลทหาร
บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร เช่น นายทหารชั้นสัญญาบัตร ชั้นประทวน นักเรียนทหาร ฯลฯ

การแบ่งชั้นศาล ของศาลยุติธรรมและศาลทหาร
ศาลยุติธรรม มี 3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ชั้นอุทธรณ์ ชั้นฎีกา
ศาลทหาร มี 3 ชั้น คือ ศาลทหารชั้นต้น ศาลทหารชั้นกลาง ศาลทหารชั้นสูงสุด

สำหรับกรณีที่เป็นข้อสงสัย เกี่ยวกับอำนาจของศาลทหารนั้น มีข้อยกเว้นของกฎหมาย ระบุอยู่ใน พ.ร.บ. ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 14 เกี่ยวกับคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลทหาร
(1) คดีที่ผู้กระทำความผิดเป็นทหาร ทำความผิดร่วมกับบุคคลทั่วไป (ที่ไม่ได้อยู่ในอำนาจศาลทหาร)
(2) คดีที่เกี่ยวพันกับอำนาจศาลพลเรือน (ศาลพลเรือน คือ ศาลอื่น ที่ไม่ใช่ศาลทหาร)
(3) คดีที่ต้องดำเนินการในศาลเยาวชนและครอบครัว
(4) คดีที่ศาลทหารเห็นว่าไม่อยู่ในอำนาจของศาลทหาร
และรวมถึง คดีที่ศาลพลเรือนสั่งประทับรับฟ้องไว้แล้วด้วย

เป็นที่มาว่าทำไมคดีเหล่านี้ แม้ทหารจะเป็นผู้กระทำความผิด แต่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลทหาร…

อ่านเพิ่มเติม : พ.ร.บ. ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498
http://www.krisdika.go.th/librarian/get?sysid=389350&ext=pdf

ศิษย์เก่า

Most Popular

Categories