How important is employee loyalty to the organization

อาจารย์นิวัติ จันทราช
วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ความจงรักภักดีต่อองค์กรของพนักงานนั้นเป็นความรู้สึกและการแสดงออกของพนักงาน ซึ่งเคารพต่อองค์กร มีความเต็มใจปฏิบัติงานและอุทิศตนต่อองค์กร มีความผูกพันมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ มีความต้องการเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรการที่บุคคลมีความผูกพันต่อองค์กรภูมิใจในการเป็นสมาชิกขององค์กรรู้สึก เป็นเจ้าของมีความตั้งใจจะทำงานอยู่กับองค์กรนี้ตลอดไป ทั้งนี้ความจงรักภักดีต่อองค์กรมีมิติแบ่งออกเป็น 3 ด้านได้แก่ ด้านพฤติกรรมที่แสดงออก (Behavioral aspect) เป็น การแสดงออกถึงความไม่อยากย้ายไปจากบริษัทความต้องการที่จะย้ายตามบริษัท เมื่อบริษัทย้ายไปที่อื่น ปรารถนาที่จะคงความเป็นสมาชิกของบริษัทตลอดไปด้านความรู้สึก (Affective aspect) เป็นความรักที่จะทำงานกับบริษัท รู้สึกว่า ตนเองมีความสำคัญต่อบริษัทและยินดีมีส่วนร่วมทุกกิจกรรมของบริษัท ซึ่งเปรียบเสมือนทุกคนเป็นครอบครัว และ ด้านการรับรู้ (Cognitive aspect) เป็นความเชื่อมั่น และไว้วางใจในบริษัท มีความรู้สึกโดยตรงว่า มีความจงรักภักดีต่อบริษัท มีทัศนคติเชิงบวกต่อคุณค่าและเป้าหมายของบริษัท ดังนั้น หากพนักงานเกิดความจงรักภักดีต่อองค์กรแล้ว องค์กรจะประสบผลสำเร็จและบรรลุจุดหมายปลายทางที่กำหนดได้เพราะการใช้ทรัพยากร ประกอบด้วย คน เงิน วัสดุอุปกรณ์ (รวมถึงอาคารสถานที่)และเทคโนโลยีที่มีอยู่ในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
บทสรุปความจงรักภักดีของพนักงานสำคัญต่อองค์กร
การเปลี่ยนแปลงต่างๆในปัจจุบัน ทำให้องค์กรต้องเผชิญกับสิ่งใหม่พร้อมทั้งปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่หลากหลายทั้งสภาพแวดล้อม ภายในและภายนอก แต่สิ่งสำคัญเพื่อให้เกิดประสิทธิผลของงานสำหรับองค์กรในการขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน
นั้นเป็นเรื่องความจงรักภักดีของพนักงานที่มีต่อองค์กรองค์กรจึงต้องทำการพัฒนาให้พนักงานมีความจงรักภักดี ต่อองค์กร โดยใช้แนวทางตามแนวคิดของ แอด เลอร์ และแอดเลอร์ ที่ทำการพัฒนาให้สมาชิกของบริษัทเกิดความ
จงรักภักดีต่อองค์กร 5 ประการ คือ
1) ความมีอำนาจเหนือผู้อื่น เป็นเรื่องที่องค์กรต้องสร้างให้พนักงานสามารถทำงานภายใต้การบริหารของผู้ที่มี
ความเข้มแข็งและควบคุมกิจกรรม ในชีวิตของตนเองและงานได้
2) การแสดงเอกลักษณ์ โดยในประเด็นนี้องค์กรจะต้องทำให้พนักงานรับรู้ว่าตนเองมีการแสดงเอกลักษณ
์ของตนเองและกลุ่ม เพื่อสร้างแรงบันดาลใจจากบรรยากาศที่มีการกระตุ้นซึ่งกันและกัน ทำให้พนักงาน
เกิดความสนิทสนมกัน
3) ความผูกพัน เป็นการเน้นให้พนักงานในองค์กรรับรู้ว่าตนเองได้รับการกระตุ้นให้เกิดความจงรักภักดี
จากกิจกรรมที่ทำให้เกิดการปฏิบัติงานที่ดีและเห็นความสำคัญของการลงทุนจากการเข้าร่วมพิธีการต่างๆที่องค์กร จัดให้
4) การบูรณาการ องค์กรจะต้องทำให้พนักงานมีความรู้สึกเป็นเจ้าขององค์กร มีความสามัคคีภายในหมู่คณะ ทำงานร่วมกันมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สามารถทำงานเป็นทีมเดียวกันได้
5) กำหนดเป้าหมาย เป็นการสร้างให้พนักงานในองค์กรรับรู้ว่าตนเองต้องมีเป้าหมายในชีวิต เพื่อให้องค์กร
มีความภูมิใจ พึงพอใจในการปฏิบัติงาน โดยมุ่งพัฒนาให้องค์กรไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ ทั้งนี้
การที่จะพัฒนาให้พนักงานมีความผูกพันต่อองค์กรและมีความภาคภูมิใจในการเป็นพนักงานขององค์กรรู้สึก
เป็นเจ้าของโดยเสียสละและทุ่มเทในการปฏิบัติงานให้กับองค์กรเต็มที่ด้วยความเต็มใจนั้น สามารถพิจารณาได้จาก ความจงรักภักดีที่พนักงานแสดงออก 3 มิติด้วยกัน คือ
1) พฤติกรรมที่แสดงออก เช่น การทุ่มเทเวลาทำงานให้กับองค์กร
2) ความรู้สึก เช่น แจ้งผู้อื่นว่าตนทำงานในองค์กรแห่งนี้อย่างภาคภูมิใจ และ
3) การรับรู้ เช่น มีทัศนคติต่อองค์กรในทางที่ดี
ดังนั้น หากพนักงานเกิดความจงรักภักดีต่อองค์กรแล้ว องค์กรจะประสบผลสำเร็จและบรรลุจุดหมายปลายทางที่กำหนดได้ นอกจากนี้ พนักงานจะสามารถใช้ทรัพยากร ประกอบด้วย คน เงิน วัสดุอุปกรณ์ (รวมถึงอาคารสถานที่) และเทคโนโลยีที่มีอยู่ในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด
กรองกาญจน์ ทองสุข. (2554). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของบุคลากรในวิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ดจังหวัดร้อยเอ็ด. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเอกการจัดการทั่วไป, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
จาตุรงค์ วัฒนศิริ. (2552).ความผูกพันความจงรักภักดีและการมีความสุขในการทำงานของครูโรงเรียนจินดาวัฒน์ จังหวัดระยอง. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชา.
น้ำผึ้ง บุบผา. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความภักดีต่อองค์กร: บริษัทในเครือสยามกลการ จำกัด. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เสนอเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ ของมหาวิทยาลัยนเรศวร.
พยอม วงศ์สารศรี. (2545). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุภา.
วรารัตน์ เขียวไพรี. (2550). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ : Human resources management. กรุงเทพฯ: สิรบุตรการพิมพ์.
สาคร สุขศรีวงศ์. (2551). การจัดการ: จากมุมมองนักบริหาร (พิมพ์ครั้งที่4). กรุงเทพฯ: จี พี ไซเบอร์พรินท์.
วิภา จันทร์หล้า. (2559). ความจงรักภักดีของพนักงานที่มีต่อบริษัทโตโยต้า โกเซ เอเชีย จำกัด จังหวัดชลบุรี. หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร. (2560). ความจงรักภักดีของพนักงานต่อองค์กร มันหายไปจริงๆหรือ.สืบค้น 1 มิถุนายน 2560, จาก https://prakal.wordpress.com/
Adler,P. A., &Adler,P. (1988). Intense loyalty in Organizations: A case study of college Athleties.Administrative Science Quarterly, 33(3), 401-417.
Fletcher, G.P. (1993).Loyalty: An essay on the morality of relationships. New York: Oxford University Press.
Fullagar, C., &Barling, J. (1989).A longitudinal test of model of the antecedents and Consequences of union loyalty.Jounal of Appled Psychology, 71(2), 213-227