เป็นวิศวกรนั้นไม่ง่าย แต่เราสร้างให้คุณเป็นตัวจริงได้

วิศวกรรมโยธา

เรียนวิศวะโยธาสู่การเป็นตัวจริงในสาขาอาชีพจากการเรียนวิศวะด้านสิ่งก่อสร้างทางโยธาครบ 4 สาขาย่อย เพื่อการก้าวเป็นผู้นำด้านวิศวกรโยธาและบริหารงานก่อสร้างตัวจริง ทั้งวิศวกรรมโครงสร้าง การบริหารงานก่อสร้าง วิศวกรรมปฐพี วิศวกรรมแหล่งน้ำ หรือวิศวกรรมชลประทาน วิศวกรรมขนส่ง วิศวกรรมสำรวจ วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

จุดเด่นของสาขา

” ตัวจริงด้านโยธา! “

การเรียนวิศวะโยธากับมหาวิทยาศรีปทุมจะผลักดันผู้เรียนให้ก้าวสู่การเป็นวิศวกรโยธาชั้นแนวหน้าเพราะเจาะลึกวิชามากกว่าที่ไหน พบหลักสูตร Gointer เรียนไทย 2 ปี แล้วไปเรียนไกลถึงออสเตรเลียอีก 2 ปี ได้ทั้งความรู้ด้านการเรียนวิศวะโยธาและภาษาสำหรับการต่อยอดอาชีพ ระหว่างเรียนวิศวะโยธามีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญที่คอยดูแลนักศึกษาอย่างใกล้ชิด ปูทักษะด้านวิศวกรโยธาแบบจัดเต็ม พร้อมโครงการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาเพื่อให้มีศักยภาพในการแข่งขันกับวิศวกรที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันอื่นๆ หลักสูตรได้รับการรับรองจากสภาวิศวกร เมื่อจบแล้วจะสามารถยื่นขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (กว.)​ ได้ด้วย

คำอธิบายรายวิชา  >>  ไฟล์แนบ คำอธิบายรายวิชาหลักสูตร 2555-2559 

                                 ไฟล์แนบ คำอธิบายรายวิชาหลักสูตร 2560-2564

                                 ไฟล์แนบ คำอธิบายรายวิชาหลักสูตร 2565-2569

ค่าเทอมสาขา

ค่าเทอมที่ 1

วิศวกรรมโยธา
40900
35,900 บาท ค่าเทอมปีการศึกษาที่ 1
  • เทอมที่ 1 / 35,900.-
Popular

กองทุนกู้ยืมฯ

วิศวกรรมโยธา
60,000 บาท ลักษณะที่ 2 + Human*
  • ผู้จบ ม.6/ปวช/กศน.
  • ภาคเรียนปกติ

การชำระเงินลงทะเบียน

Option 1 : ชำระโดยการกู้ยืม กยศ. เริ่มต้นเพียง 4,000 บาท ที่เหลือเป็นการกู้ยืมจาก กยศ.
Option 2 : ชำระด้วยตนเองเต็มจำนวน
Option 3 : ชำระด้วยตนเองบางส่วน 15,000 บาท และชำระส่วนที่เหลือภายในวันที่มหาวิทยาลัยกำหนด

โครงสร้างหลักสูตร​

วิศวกรรมโยธา เรียนอะไรบ้าง?

สาขาวิศวกรรมโครงสร้าง (Structural Engineering)

วิเคราะห์ออกแบบ เลือกรูปแบบของโครงสร้างและวัสดุที่เหมาะสมให้โครงสร้างสิ่งปลูกสร้างสามารถรับน้ำหนักได้อย่างแข็งแรง ปลอดภัย ควบคุมงานก่อสร้างให้เป็นไปตามมาตรฐาน ข้อกำหนดและการออกแบบ ทั้งยังศึกษาและพัฒนาคุณสมบัติของวัสดุที่เหมาะสมกับงานก่อสร้าง ลักษณะของงานในสาขาวิศวกรรมโครงสร้างสามารถแยกออกเป็นงานคอนกรีตเสริมเหล็ก งานโครงสร้างเหล็กและงานคอนกรีตอัดแรง ปัจจุบันความรู้บางอย่างแตกออกไปจากสาขาวิศวกรรมโครงสร้างเช่น วิศวกรรมสะพาน (Bridge Engineering) ทำการออกแบบก่อสร้างสะพานเป็นงานหลัก วิศวกรรมแผ่นดินไหว (Earthquake Engineering) เรียนเกี่ยวกับการการวิเคราะห์คลื่นแผ่นดินไหว การออกแบบโครงสร้างในสามารถรับแรงจากแผ่นดินไหว

สาขาบริหารงานก่อสร้าง (Construction Management)

สาขาบริหารงานก่อสร้างมีหน้าที่จัดการ วางแผนการดำเนินการและการใช้ทรัพยากรเครื่องมือ คนในงานก่อสร้างให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว คุ้มค่าทาง เศรษฐศาสตร์ ตลอดจนเทคนิคงานก่อสร้าง การเตรียมความพร้อมของโครงการ ตำแหน่งของวิศวกรที่ทำหน้าที่ในงานสาขานี้ได้แก่ ผู้จัดการโครงการ (Project Manager) วิศวกรโครงการ (Project Engineer) โดยมากมักเป็นวิศวกรที่มาจากสายงานควบคุมการก่อสร้าง เมื่อทำงานได้ระยะเวลาหนึ่งจะได้รับมอบหมาย ให้เข้ามาดูแลงานบริหาร

สาขาวิศวกรรมปฐพี (Soil Engineering หรือ Geotechnical Engineering)

งานในสาขานี้จะเกี่ยวกับการวิเคราะห์ความสามารถในการรับน้ำหนักสิ่งก่อสร้างของดิน การออกแบบเสาเข็ม กำแพงกันดิน การแก้ปัญหาดินอ่อน การปรับปรุงคุณภาพดิน เสถียรภาพของดิน การออกแบบโครงสร้างต่างๆที่อยู่ใต้ดินและการหาวิธีการก่อสร้างที่เหมาะสมกับสภาพของดิน

สาขาวิศวกรรมแหล่งน้ำ (Water Resource Engineering)

สาขาวิศวกรรมแหล่งเกิดขึ้นเมื่อความต้องการการใช้น้ำอันเป็นปัจจัยการดำรงชีพมีมากขึ้นและบางครั้งเกิดภาวะขาดแคลนน้ำจากธรรมชาติไม่เพียงพอ จึงต้องมีการเข้ามาจัดการทรัพยากรน้ำให้กระจายไปสู่ชุมชนต่างอย่างทั่วถึง วิศวกรรมแหล่งจึงเข้ามาทำหน้าที่ตรงนี้ วิชาในสาขาวิศวกรรมแหล่งน้ำประกอบด้วยวิชาชลศาสตร์นำมาประยุกต์ร่วมกับอุทกวิทยา นักศึกษาที่ต้องการเรียนไปทางสาขานี้จะต้องสามารถวิเคราะห์ประเด็นของปัญหาและแก้ปัญหาได้โดยใช้เทคโนโลยีจัดการแหล่งน้ำ อย่างเหมาะสม เพื่อเป็นปัจจัยส่งเสริมในการพัฒนาภาคการเกษตร ที่อยู่อาศัย กายภาพชุมชน และการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม ภายใต้รูปแบบของการพึ่งพาตนเองได้ โดยมีส่วนรวมในการสนับสนุนงานด้านวิศวกรรมแขนงอื่นๆต่อไป ลักษณะของงานที่เห็นได้ชัดได้แก่ งานอ่างเก็บน้ำ เขื่อน ฝายน้ำล้น ประตูน้ำ อาคารทางออกของน้ำ การไหลของน้ำในระบบทางน้ำ ท่อความดัน เครื่องกังหันน้ำ เครื่องสูบน้ำ การระบายน้ำและการวางระบบป้องกันน้ำท่วม

สาขาวิศวกรรมขนส่ง (Transportation Engineering)

ปัจจุบันงานขนส่งมีบทบาทอย่างมากในการดำเนินชีวิตประจำวัน จนอาจกล่าวได้ว่า ถ้าไม่มีการขนส่งที่ดี ประเทศชาติจะไม่มีการพัฒนา เนื่องจากการขนส่งเป็นส่วนหนึ่งของการคมนาคมมีวัตถุประสงค์ในการขนย้ายสิ่งของ คนหรือสัดว์ไปยังจุดอื่นทั้งในรูปแบบทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศและทางระบบลำเลียง (เช่น ท่อ) หน้าที่ของงานวิศวกรรมขนส่งคือการวางแผน ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ศึกษาความต้องการในการขนส่งและเดินทาง ออกแบบระบบการขนส่ง ให้เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยและคุ้มค่าในทางเศรษฐกิจ ตัวอย่างงานในสาขาวิศวกรรมขนส่ง

นอกจากนี้ยังมีสาขาที่เกี่ยวข้องคือวิศวกรรมการทาง สาขาวิศวกรรมการทางเป็นสาขาที่เกี่ยวกับการออกแบบเส้นทางเพื่อการขนส่งทางบก โดยเฉพาะถนน เป็นสาขาวิชาที่ถือกำเนิดมานานนับตั้งแต่ความต้องการการใช้รถยนต์มีมากขึ้น หน้าที่ของงานวิศวกรรมการทางได้แก่การวางโครงข่ายถนนให้เข้าถึงพื้นที่ให้ได้มากที่สุด และเกิดความคล่องตัวในการเดินทาง การวางแนวเส้นทางและออกแบบลักษณะทางเรขาคณิตของถนนให้สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ สภาพเศรษฐกิจ ดูแลงานการก่อสร้างถนน การเลือกใช้วัสดุในงานถนน การบำรุงรักษา การวางป้ายจราจรและข้อมูลการเดินทาง หน่วยงานในประเทศที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างถนนได้แก่ กรมทางหลวง กรมโยธาธิการ สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท กรุงเทพมหานคร สำนักงานเทศบาลต่างๆ เป็นต้น

สาขาวิศวกรรมสำรวจ (Survey Engineering)

สาขาวิศวกรรมสำรวจเน้นการวางผังภูมิประเทศทั้งแนวราบและแนวดิ่งเพื่องานก่อสร้างในพื้นที่กว้าง วัตถุประสงค์เพื่อกำหนดตำแหน่งที่ถูกต้อง งานวิศวกรรมสำรวจจะมีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องกับงานในหลายสาขาและอยู่ในขั้นตอนแรกๆของโครงการ ตัวอย่างของงานวิศวกรรมสำรวจเข่น การสำรวจเพื่อทำแผนที่ การวางแนวถนน การสำรวจเพื่อวางแนวดิ่งของอาคาร การสำรวจด้วยดาวเทียม เป็นต้น

สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (Environmental Engineering)

เดิมชื่อ วิศวกรรมสุขาภิบาล (Sanitary Engineering) สาขาวิชานี้ถือกำเนิดขึ้นมาจากการที่สภาวะแวดล้อมของโลกที่กำลังเสื่อมโทรมจากจากความเจริญทาง อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ก่อให้เกิดปัญหาหลายประการเช่น น้ำเสีย ขยะ อากาศเป็นพิษ เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้หน่วยงาน องค์กรต่างๆทั้งระดับท้องถิ่น ระดับชาติและระดับนานาชาติกำลังให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก มีกฏหมายและมาตรฐานทางสิ่งแวดล้อมทั้งในและระหว่างชาติเข้ามาควบคุมมากขึ้น งานของวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการและควบคุมกระบวนการทำงาน การผลิตให้เกิดมลภาวะน้อยที่สุด การออกแบบและวางระบบกำจัดมลพิษ ตัวอย่างของงานในสาขานี้ได้แก่ งานก่อสร้างระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสีย งานระบบรวบรวมและกำจัดกำจัดขยะ ระบบกรองและส่งน้ำประ เป็นต้น

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตที่ศึกษาตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 151 หน่วยกิต

Course No.
Credits
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
30 หน่วยกิต
     1.1 กลุ่มสาขาวิชามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ 
 9 หน่วยกิต
     1.2 กลุ่มสาขาวิชาภาษาและการสื่อสาร 
14 หน่วยกิต
     1.3 กลุ่มสาขาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
 7 หน่วยกิต
2. หมวดวิชาเฉพาะด้าน
115 หน่วยกิต
     2.1 กลุ่มวิชาพื้นฐานอาชีพ 
35 หน่วยกิต
     2.2 กลุ่มวิชาบังคับ
62 หน่วยกิต
     2.3 กลุ่มวิชาเลือก
18 หน่วยกิต
3. หมวดวิชาเลือกเสรี
 6 หน่วยกิต
>>แผนการเรียน/โครงสร้างหลักสูตร<<

 

ชื่อปริญญา

  • ภาษาไทย (ชื่อเต็ม) : วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมโยธา)
  • (อักษรย่อ) : วศ.บ. (วิศวกรรมโยธา)
  • ภาษาอังกฤษ (ชื่อเต็ม) : Bachelor of Engineering (Civil Engineering)
  • (อักษรย่อ) : B.Eng (Civil Engineering)

ระยะเวลาการศึกษา หลักสูตร

หลักสูตร 4 ปี (ภาคปกติ)
เรียนในวันเวลาราชการ จันทร์ – วันศุกร์ เวลา 09.00 – 17.00 น.
หลักสูตร 4 ปี (นอกเวลาราชการ)
เรียนนอกเวลาราชการ เสาร์ – อาทิตย์ เวลา 09.00 – 17.00 น.

CAREER PATH

วิศวกรรมโยธา

UploadImage วิศวกรรมโครงสร้าง (structural engineering)
UploadImage การบริหารงานก่อสร้าง (construction management)
UploadImage วิศวกรรมปฐพี (soil engineering หรือ geotechnical engineering)
UploadImage วิศวกรรมแหล่งน้ำ (water resource engineering)
   หรือวิศวกรรมชลประทาน (irrigation engineering)
UploadImage วิศวกรรมขนส่ง (transpotation engineering)
UploadImage วิศวกรรมสำรวจ (survey engineering)
UploadImage วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (environmental engineering)

บริษัทชั้นนำที่ DEK-SPU เลือกได้ !

UploadImage กระทรวงคมนาคม
UploadImage กระทรวงมหาดไทย
UploadImage บริษัทรับเหมาก่อสร้าง
UploadImage บริษัทที่ปรึกษาและออกแบบ
UploadImage บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
UploadImage บริษัทหรือหน่วยงานบริการทางเทคนิค
UploadImage กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมทางหลวง กรมที่ดิน
UploadImage กรมทางหลวงชนบท กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ
UploadImage หน่วยงานในส่วนการปกครองท้องถิ่น อบต. อบจ. เทศบาล
UploadImage การไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
   การไฟฟ้านครหลวง การประปา ปตท.
UploadImage เช่น งานสนับสนุนการขาย งานบริการทดสอบที่เกี่ยวข้อง

คณาจารย์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพจิตร ผาวัน
​หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโยธาและการพัฒนาเมือง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรพันธ์ สันติยานนท์
หัวหน้าหลักสูตรวิศวกรรมโยธา
ศาสตราจารย์ ดร. ไพบูลย์ ปัญญาคะโป
หัวหน้าหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต/ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา

Review
สิ่งใหม่ จุดเด่น จุดแตกต่าง

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม การันตีคุณภาพแห่งความสำเร็จด้วยประสบการณ์การสอนมากว่าครึ่งศตวรรษภายใต้แนวคิด “Simply Significant”พลังสำคัญ ผลักดันสู่ความสำเร็จ ด้วยความร่วมมือจากเหล่าคณาจารย์วิศวกรมืออาชีพที่พร้อมเป็นพลังสำคัญในการผลักดันศักยภาพของผู้เรียนให้ประสบความสำเร็จด้วยการให้นักศึกษาได้เรียนวิศวะอย่างรู้ลึก! รู้จริง!ปฏิบัติจริง!ผ่านเครื่องมือและห้องปฏิบัติการณ์สุดทันสมัย

ทุนการศึกษา

ทุน SPU โควตา

ทุนดีดี ที่ไม่ใช้คะแนน TCAS
ไม่ต้องสอบสัมภาษณ์ ไม่ต้องส่ง Portfolio

ค่าเทอมสาขา

คณะ/สาขาวิชา ลักษณะการกู้ยืมฯ เทอม 1 ตลอด หลักสูตร
คณะบริหารธุรกิจ
วิศวกรรมโยธา 1 46,600 41,600 359,400
วิศวกรรมโยธา – การจัดการงานก่อสร้าง 1 46,600 41,600 359,400
วิศวกรรมโยธา (นอกเวลาราชการ) 1 45,600 40,600 365,900
วิศวกรรมไฟฟ้า 2 44,600 39,600 361,400
วิศวกรรมไฟฟ้า – ระบบควบคุมอัตโนมัติและหุ่นยนต์ 2 44,600 39,600 361,400
วิศวกรรมไฟฟ้า (นอกเวลาราชการ) 2 38,600 33,600 370,400
วิศวกรรมเครื่องกล 2 46,600  41,600 364,400
วิศวกรรมเครื่องกล – เทคโนโลยีอาคาร 2 46,600  41,600 364,400
วิศวกรรมเครื่องกล (เทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่) 2 46,600  41,600 364,400
วิศวกรรมเครื่องกล (นอกเวลาราชการ) 2 45,600  40,600 373,400
วิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการ 2 45,600  40,600 362,000
วิศวกรรมอุตสาหการ – การจัดการวิศวกรรม 2 45,600  40,600 362,000
วิศวกรรมระบบราง 1 50,600  45,600 355,000