การพัฒนาทักษะทางด้านระบบสมองกลฝังตัว

การพัฒนาทักษะทางด้านระบบสมองกลฝังตัว
นายสุรศักดิ์ เพชรอยู่ นางสาวเดือนเพ็ญ แซ่เตีย นายปรัชญา ทองหล่อ นายอิทธิพัทธ์ ลาวัง
นักศึกษาจากกลุ่ม SARGMET ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า นายสุรศักดิ์ เพชรอยู่ นางสาวเดือนเพ็ญ แซ่เตีย นายปรัชญา ทองหล่อ นายอิทธิพัทธ์ ลาวัง ได้รางวัลจากการแข่งขันการพัฒนาทักษะทางด้านระบบสมองกลฝังตัว หัวข้อการพัฒนาต้นแบบ Real-Time Engine Control Unit (ECU) ซึ่งเป็นการได้รับรางวัลนี้สองปีซ้อน <รายละเอียดเพิ่มเติมคลิกที่รูป>

นักศึกษาจากกลุ่ม SARGMET ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ได้รางวัลจากการแข่งขันการพัฒนาทักษะทางด้านระบบสมองกลฝังตัว สองปีซ้อน

ระหว่างวันที่ 20-26 ตุลาคม 2551 สมาคมสมองกลฝังตัวไทย (Thai Embedded Systems Association: TESA) จัดการแข่งขันการพัฒนาทักษะทางด้านระบบสมองกลฝังตัว (Embedded Systems : Topgun Rally Program) ซึ่งได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม สถาบันการศึกษา และผู้พัฒนาระบบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรทางด้านระบบสมองกลฝังตัวของประเทศไทย ให้มีความรู้ความสามารถ และมีศักยภาพที่สามารถแข่งขันได้ในเวทีระดับโลก

ในการนี้ กลุ่มศึกษาและวิจัยเชิงประยุกต์ไมโครคอนโทรลเลอร์ อิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม (SARGMET) ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยศรีปทุมโดยอาจารย์เพชร นันทิวัฒนา ได้ส่งทีมนักศึกษาเข้าแข่งขัน ประกอบด้วย
นายสุรศักดิ์ เพชรอยู่
นางสาวเดือนเพ็ญ แซ่เตีย
นายปรัชญา ทองหล่อ
นายอิทธิพัทธ์ ลาวัง
นายกีรดิษ สายพัทลุง
ทำการแข่งขัน ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในหัวข้อ การพัฒนาต้นแบบ Real-Time Engine Control Unit (ECU) ซึ่งมีสถาบันอุดมศึกษาส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมดจากทั่วประเทศจำนวน 20 ทีม จากทั้งหมด 19 สถาบันประกอบด้วย 1.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จำนวน 1 ทีม 2.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จำนวน 1 ทีม 3.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 1 ทีม 4.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 1 ทีม 5.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวน 1 ทีม 6.มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 1 ทีม 7.มหาวิทยาลัยราชมงคล จำนวน 1 ทีม 8.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 1 ทีม 9.มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 1 ทีม 10.มหาวิทยาลัยสงขลานคริทร์ จำนวน 2 ทีม 11.มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 1 ทีม 12.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี จำนวน 1 ทีม 13.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ล้านนา จำนวน 1 ทีม 14.มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต จำนวน 1 ทีม 15.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร จำนวน 1 ทีม 16.มหาวิทยาลัยวลัยสักษณ์ จำนวน 1 ทีม 17.มหาวิทยาลัยศรีปทุม จำนวน 1 ทีม 18.มหาวิทยาลัยสยาม จำนวน 1 ทีม 19.มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จำนวน 1 ทีม 20.สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น จำนวน 1 ทีม ผลการประกวด ทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รองชนะเลิศอันดับ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
รองชนะเลิศอันดับ 2 มหาวิทยาลัยบูรพา
สำหรับทีมจาก ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยศรีปทุม ซึ่งเข้าร่วมการแข่งขันในปีนี้เป็นปีที่สอง สามารถแสดงออกถึงความสามารถ ความตั้งใจ และความทุ่มเทให้กับงานตลอดช่วงเวลาในการเก็บตัวแข่งขันเป็นเวลาเกือบหนึ่งสัปดาห์ ดังนั้นทีมจากมหาวิทยาลัยศรีปทุมจึงสามารถพิชิตรางวัล ขวัญใจผู้เข้าร่วมประชันและกรรมการ เป็นปีที่สองติดต่อกัน

ข้อมูลล่าสุดวันที่ 13 พ.ย. 2551

On Key

Related Posts

รางวัลชนะเลิศ ในโครงการ AI for Active Learning Challenge in Higher Education 2025

🏆 รางวัลชนะเลิศผศ.ดร.ภรชัย จูอนุวัฒนกุล – มหาวิทยาลัยศรีปทุม 🎉สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ 🎉ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.ภรชัย จูอนุชิตวัฒนกุลอาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

SPU × เชเลิฟ อินเตอร์เนชั่นแนล ผนึกกำลังพัฒนาบุคลากรด้านยานยนต์พลังงานใหม่⚡️

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับ บริษัท เชเลิฟ อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็ดดูเคชั่น กรุ๊ป

🎯 เรื่องใหม่ที่เด็กวิศวฯ ต้องรู้! “การสำรวจกายภาพของอาคารด้วยเทคนิค Point Cloud” 🎯

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ร่วมกับ บริษัท อินฟรา พลัส จำกัด จัด Workshop สุดล้ำ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้และลงมือทำจริงกับการสำรวจอาคารด้วยเครื่องมือ RS10 เมื่อวันที่ 27 เมษายน

เรียนกับตัวจริง ประสบการณ์จริง อย่างต่อเนื่อง! 🚦🚗

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม มุ่งมั่นสร้างประสบการณ์นอกห้องเรียนให้นักศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด ได้นำนักศึกษาไปศึกษาดูงาน “ระบบบริหารจราจรอัจฉริยะ (Intelligent Transportation System: ITS)” ณ ศูนย์บริหารจัดการจราจรและอุบัติเหตุ กรมทางหลวงชนบท 🛣️

ค่าเทอมสาขา

คณะ/สาขาวิชา ลักษณะการกู้ยืมฯ เทอม 1 ตลอด หลักสูตร
คณะบริหารธุรกิจ
วิศวกรรมโยธา 1 46,600 41,600 359,400
วิศวกรรมโยธา – การจัดการงานก่อสร้าง 1 46,600 41,600 359,400
วิศวกรรมโยธา (นอกเวลาราชการ) 1 45,600 40,600 365,900
วิศวกรรมไฟฟ้า 2 44,600 39,600 361,400
วิศวกรรมไฟฟ้า – ระบบควบคุมอัตโนมัติและหุ่นยนต์ 2 44,600 39,600 361,400
วิศวกรรมไฟฟ้า (นอกเวลาราชการ) 2 38,600 33,600 370,400
วิศวกรรมเครื่องกล 2 46,600  41,600 364,400
วิศวกรรมเครื่องกล – เทคโนโลยีอาคาร 2 46,600  41,600 364,400
วิศวกรรมเครื่องกล (เทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่) 2 46,600  41,600 364,400
วิศวกรรมเครื่องกล (นอกเวลาราชการ) 2 45,600  40,600 373,400
วิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการ 2 45,600  40,600 362,000
วิศวกรรมอุตสาหการ – การจัดการวิศวกรรม 2 45,600  40,600 362,000
วิศวกรรมระบบราง 1 50,600  45,600 355,000