การพัฒนาการออกแบบอาคารต้านทานแผ่นดินไหว

การพัฒนาการออกแบบอาคารต้านทานแผ่นดินไหว
เหตุการณ์แผ่นดินไหว แม้จะเป็นภัยธรรมชาติที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อย รวมถึงระดับความรุนแรงไม่สูงมากนักในประเทศไทย แต่การวิจัยและศึกษาก็เป็นสิ่งที่สำคัญที่ช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมการก่อสร้างให้ก้าวหน้าและมีมาตรฐานความปลอดภัยที่สูงขึ้น อย่างเช่นโครงการพัฒนาการออกแบบอาคารต้านทานแผ่นดินไหว ผลงานวิจัย โดย ศาสตร์จารย์ ดร. ไพบูลย์ ปัญญาคะโป ผู้อำนวยการหลักสูตร วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต และ วิศวกรรมศาสตร์ ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญและคลุกคลีอยู่ในแวดวงการพัฒนาการออกแบบอาคารต้านทานแผ่นดินไหวของประเทศไทย ที่มุ่งเน้นงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้แก้ปัญหา ความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของประชากรไทยมาโดยตลอด

และหนึ่งในผลงานที่เป็นที่ภาคภูมิใจ นั่นก็คือการได้รับหน้าที่ดูแลการออกแบบอาคารเรียนของโรงเรียนแม่ลาววิทยาคม ซึ่งได้รับความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหวครั้งสำคัญ ในปี 2557 ที่มีระดับความรุนแรงสูงถึง 6.1 ริกเตอร์ สร้างความเสียหายให้กับอาคารเรียนแห่งนี้ทั้งหลัง จนเป็นที่มาของโครงการก่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อทำการก่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ทดแทนอาคารเดิมที่ได้รับความชำรุดเสียหายจากเหตุธรณีพิบัติภัยในครั้งนั้น

นับเป็นอีกหนึ่งผลงานแห่งความภาคภูมิใจของคณะวิศวกรรมศาสตร์ และทางมหาวิทยาลัยศรีปทุมที่ได้มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวางรากฐาน อาคารต้านทานแผ่นดินไหว ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงอย่างในภูมิภาคทางตอนเหนือของประเทศ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและที่อยู่อาศัยของประชากรในแถบชนบท เพื่อเกิดสวัสดิภาพและความปลอดภัยต่อทรัพย์สินและชีวิตของคนไทยทุกๆ คน อีกทั้งยังนำความปลาบปลื้มใจมาสู่ชาวรั้วมหาวิทยาลัยศรีปทุมทุกๆ คนที่ทาง ดร. ไพบูลย์ ปัญญาคะโป ได้รับพระราชทานตำแหน่งศาสตราจารย์ ซึ่งถือเป็นเพียงไม่กี่บุคคล โดยเฉพาะในสังกัดมหาวิทยาลัยเอกชนที่ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติยศ ในความทุ่มเทวิริยะวิจัยศึกษาและค้นคว้าเพื่อนำความรู้ที่ได้มาพัฒนาสังคมและประเทศชาติสืบไป

 

 

On Key

Related Posts

รางวัลชนะเลิศ ในโครงการ AI for Active Learning Challenge in Higher Education 2025

🏆 รางวัลชนะเลิศผศ.ดร.ภรชัย จูอนุวัฒนกุล – มหาวิทยาลัยศรีปทุม 🎉สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ 🎉ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.ภรชัย จูอนุชิตวัฒนกุลอาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

SPU × เชเลิฟ อินเตอร์เนชั่นแนล ผนึกกำลังพัฒนาบุคลากรด้านยานยนต์พลังงานใหม่⚡️

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับ บริษัท เชเลิฟ อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็ดดูเคชั่น กรุ๊ป

🎯 เรื่องใหม่ที่เด็กวิศวฯ ต้องรู้! “การสำรวจกายภาพของอาคารด้วยเทคนิค Point Cloud” 🎯

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ร่วมกับ บริษัท อินฟรา พลัส จำกัด จัด Workshop สุดล้ำ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้และลงมือทำจริงกับการสำรวจอาคารด้วยเครื่องมือ RS10 เมื่อวันที่ 27 เมษายน

เรียนกับตัวจริง ประสบการณ์จริง อย่างต่อเนื่อง! 🚦🚗

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม มุ่งมั่นสร้างประสบการณ์นอกห้องเรียนให้นักศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด ได้นำนักศึกษาไปศึกษาดูงาน “ระบบบริหารจราจรอัจฉริยะ (Intelligent Transportation System: ITS)” ณ ศูนย์บริหารจัดการจราจรและอุบัติเหตุ กรมทางหลวงชนบท 🛣️

ค่าเทอมสาขา

คณะ/สาขาวิชา ลักษณะการกู้ยืมฯ เทอม 1 ตลอด หลักสูตร
คณะบริหารธุรกิจ
วิศวกรรมโยธา 1 46,600 41,600 359,400
วิศวกรรมโยธา – การจัดการงานก่อสร้าง 1 46,600 41,600 359,400
วิศวกรรมโยธา (นอกเวลาราชการ) 1 45,600 40,600 365,900
วิศวกรรมไฟฟ้า 2 44,600 39,600 361,400
วิศวกรรมไฟฟ้า – ระบบควบคุมอัตโนมัติและหุ่นยนต์ 2 44,600 39,600 361,400
วิศวกรรมไฟฟ้า (นอกเวลาราชการ) 2 38,600 33,600 370,400
วิศวกรรมเครื่องกล 2 46,600  41,600 364,400
วิศวกรรมเครื่องกล – เทคโนโลยีอาคาร 2 46,600  41,600 364,400
วิศวกรรมเครื่องกล (เทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่) 2 46,600  41,600 364,400
วิศวกรรมเครื่องกล (นอกเวลาราชการ) 2 45,600  40,600 373,400
วิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการ 2 45,600  40,600 362,000
วิศวกรรมอุตสาหการ – การจัดการวิศวกรรม 2 45,600  40,600 362,000
วิศวกรรมระบบราง 1 50,600  45,600 355,000