เจาะลึกอาชีพ นักวางแผนการลงทุน

          สวัสดีค่ะ “พี่เหมือนฝัน” รัชนี เล่าโรจนถาวร ศิษย์เก่า คณะบัญชี รหัส 61 ปัจจุบันพี่ทำงานในตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้จัดการ ฝ่ายบริการสินทรัพย์ลงทุนลูกค้า บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) ทำหน้าที่เป็น Wealth Advisor หรือในบางที่อาจจะใช้คำว่า Investment Advisor หรือ Investment Planner ซึ่งหมายถึง นักวางแผน/ที่ปรึกษาด้านการลงทุน นั่นเอง

Wealth Advisor ทำอะไรบ้าง ? 
          Wealth Advisor เป็นคนกลางระหว่าง Research และ Relationship Manager (RM) มีหน้าที่หลักในการให้คำปรึกษาข้อมูลด้านการลงทุน และวางแผนกลยุทธ์การลงทุนร่วมกับ RM เพื่อนำเสนอแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้า โดยทำหน้าที่ตั้งแต่ Consulting / Planning / Monitoring และ Port Management ซึ่งต้องคอยติดตาม วิเคราะห์ข้อมูลและปัจจัยต่างๆ รวมถึงติดตามรายงานทางการเงิน ที่อาจส่งผลกระทบต่อสินทรัพย์ลงทุน จากแหล่งข่าวที่มีความน่าเชื่อถือทั้งในและต่างประเทศ

ข้อดีของการเป็น Wealth Advisor @บริษัทหลักทรัพย์ 
          คือ ความเป็นอิสระ และความเป็นกลาง ในการเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมให้กับลูกค้า โดยเฉพาะ “กองทุนรวม” เนื่องจากบริษัทหลักทรัพย์ เป็นตัวแทนขายหน่วยลงทุนของ บลจ. ซึ่งในไทยมี บลจ. มากกว่า 10 แห่ง นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น Private fund / Private equity และหุ้นกู้ ทำให้เรามีความความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องของการเงินการลงทุนกว้างมากขึ้น ซึ่งประสบการณ์ที่ได้รับก็จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน

ความท้าทาย ?
          สิ่งที่หลีกหนีไม่ได้เลยคือ ความผันผวนของตลาดการเงินและเศรษฐกิจโลก “Uncontrollable ” ซึ่งส่งผลต่อพอร์ตการลงทุน และอารมณ์ของลูกค้า ทำให้ Wealth Advisor & RM ต้องให้ความสำคัญกับการบริหารอารมณ์ และความคาดหวังของลูกค้าเป็นสำคัญนอกจากนี้แล้ว “ข้อจำกัด” ของลูกค้าแต่ละราย ก็อาจส่งผลให้การลงทุนไม่เป็นไปดังแผน หรือวิธีการที่เรานำเสนอ

Wealth Advisor กับโอกาสเติบโตแบบ “Exponential”
          สำหรับน้องๆ ที่สนใจพี่แนะนำให้เริ่มเตรียมตัวสอบ IC License ในช่วงปี 3-4 ให้ครบทั้ง 3 ตัว ได้แก่ IC Plain + IC Complex2 + IC Complex3 เพื่อขึ้นทะเบียนเป็น IC Complex1 หลังจากน้องได้ใบจบ เพื่อเป็นใบเบิกทางแรกในสายอาชีพ 
ทั้งนี้ ระหว่างที่กำลังเรียนอยู่ในช่วงปี 1-4 พี่แนะนำให้เริ่มศึกษาก่อนว่า สินทรัพย์ลงทุนมีอะไรบ้าง ให้ผลตอบแทนอย่างไร ควรเริ่มลงทุนแบบไหน ค่อยๆศึกษาไปเรื่อยๆ หลังจากที่ได้ความรู้พื้นฐานแล้ว ให้ฝึกฟังข่าวเศรษฐกิจ ภาพรวมตลาดการลงทุน ในสื่อต่างๆ เช่น Yutube ของ The Standard wealth / Finnomena / TMB AM / SCBs / Finansia และอื่นๆ เป็นต้น ซึ่งถ้าน้องๆ ฝึกฟังไปเรื่อยๆ น้องจะเริ่มประติดประต่อความรู้ในด้านการลงทุนได้เองอัตโนมัติ
          ที่สำคัญคือ ควรจะ “Learning by doing” ด้วยการฝึกลงทุนด้วยตนเอง (ไม่ต้องมีเงินเยอะ ก็สามารถทำได้) และพัฒนาไปวางแผนการลงทุนให้กับบุคคลใกล้ตัว เพื่อฝึกทักษะการวิเคราะห์ การนำเสนอ และการรับแรงกดดัน หรือหากมีโอกาสได้บริหารพอร์ตใหญ่ไม่ว่าจะเป็นในนามของบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ให้เก็บเป็น Profile สมัครงาน และอย่าลืม Soft skill และความมารถอื่นๆ เช่น Technical Analysis ซึ่งหากสามารถเรียนรู้ได้ตามที่พี่ได้กล่าวไว้ข้างต้น เรียนจบปริญญาตรี เงินเดือนเริ่มต้น 25,000 – 30,000 น้องทำได้ !! 
แต่อย่างไรก็ดี หลังจากที่น้องมีสังกัดแล้ว พี่แนะนำให้ขอทุนบริษัทสอบ CFP Module1 และ CFP Module2 เพื่อขึ้นทะเบียนเป็น IP License หรือก้าวหน้าต่อด้วยการสอบ CFP ให้ครบทั้ง 6 Module เพื่อขึ้นทะเบียนเป็น นักวางแผนการเงิน “CFP” หลังจากนั้น
ประสบการณ์ + License + Connection จะทำให้น้องมีรายได้เติบโตแบบ “Exponential” ในอนาคต
“ เริ่มต้นอาจจะเหนื่อย แต่เชื่อพี่เถอะ มันคุ้มที่จะพยายาม “

นางสาวรัชนี เล่าโรจนถาวร
ผู้ช่วยผู้จัดการ ฝ่ายบริการสินทรัพย์ลงทุนลูกค้า
บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน)
ศิษย์เก่า หลักสูตรบัญชีบัณฑิต
คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม

Most Popular

Categories