Facultyคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

DEK IT ขอแชร์!! วิธีเช็คให้ชัวร์ ข่าวไหนเป็น Fake News!

Fake News หรือข่าวปลอม ถือเป็นเรื่องที่เราเห็นได้บ่อยๆ ใน Social Media หลายๆ ประเภท เพราะเป็นสิ่งที่สามารถกระจายข่าวได้รวดเร็วและเป็นวงกว้าง มีทั้งเรื่องดีและไม่ดี ตั้งแต่เรื่องทั่วไป จนไปถึงเรื่องใหญ่ระดับประเทศ จนหลายครั้ง ก็เป็นเรื่องยากที่จะแยกแยะหรือตรวจสอบได้ทันที

ดังนั้นแอดมินจึงเอาคำแนะนำที่น่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคนๆ ในการตรวจสอบข่าวปลอม หรือ การเช็ค Fake News เบื้องต้น มาฝากกันค่ะ จะมีอะไรบ้างนั้นดูกัน!!!

 

 

สิ่งแรกที่เราจะต้องดูเลยนั้นก็คือ ที่มาและแหล่งอ้างอิง ของข่าวมาจากไหน เนื้อหามีการอ้างอิงจากแหล่งที่น่าเชื่อถือหรือไม่ ถ้าเป็นเรื่องที่มาจากองค์กรที่ชื่อไม่คุ้นเคย ก็อาจจะต้องตรวจสอบเพื่อความแน่ใจอีกครั้งหนึ่ง

 

 

โดยส่วนใหญ่แล้ว Fake News มักจะชอบมีการพาดหัวข้อข่าวให้สะดุดตา อ่านแล้วให้ความรู้สึกใส่อารมณ์เกินจริงเน้นใช้ตัวหนาและเครื่องหมายตกใจ! เพื่อเรียกร้องความสนใจ เพื่อเน้นกระตุ้นให้คนอยากกดเข้าไปดูหรือแชร์ไปต่อว่า ถ้าเจอข่าวแบบนี้ ลองอ่านเนื้อหาให้ดีก่อนจะแชร์หรือแสดงความคิดเห็นอะไรลงไปจะดีกว่า

 

 

บางครั้งลิงก์ข่าวของ Fake News ที่แชร์มาอาจจะมี URL คล้ายกับสำนักข่าวที่น่าเชื่อถือ โดยมีเว็บไซต์ข่าวปลอมจำนวนมากที่เปลี่ยนแปลง URL เพียงเล็กน้อยเพื่อเลียนแบบแหล่งข่าวจริง ทำให้ต้องเข้าไปอ่านเนื้อหาและชื่ออย่างละเอียดอีกที

 

 

Fake News ส่วนใหญ่ที่โป๊ะแล้วโป๊ะอีก แน่นอนว่าถ้าเนื้อหาข่าวเป็นของปลอม รูปภาพประกอบก็จะไม่ตรงกับข่าวเช่นเดียวกัน โดยเราสามารถตรวจที่มาของรูปภาพประกอบ ได้จาก Google ซึ่งจะสามารถบอกได้ว่ารูปภาพนี้เผยแพร่เมื่อไหร่ ถูกใช้กับเรื่องอะไรมาก่อน

 

 

การเขียนและสะกดคำผิด เรื่องนี้อาจจะดูเหมือนเป็นเรื่องที่เราพลาดกันได้ ไม่จำเป็นต้องเป็น Fake News เสมอไปซะหน่อย แต่ผู้สื่อข่าวที่ดีหรือสำนักข่าวออนไลน์ที่มีตัวตนและมีคุณภาพ จะไม่ผิดพลาดเรื่องพวกนี้เด็ดขาด! ด้วยเหตุผลที่ว่าจะมีการพิสูจย์อักษรก่อนการเผยแพร่ทุกครั้งเพื่อความถูกต้องและความไม่คลาดเคลื่อนของข้อความหรือสาร (Message) ที่จะส่งออกไป ดังนั้นเรื่องความถูกผิดของภาษานับว่าเป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้เหมือนกัน

 

 

การตรวจสอบอีกครั้งจากแหล่งอื่นๆ ก็ถือเป็นสิ่งที่ช่วยยืนยันความถูกต้องได้ เพราะถ้าไม่มีหลักฐานหรือความน่าเชื่อถือของผู้เชี่ยวชาญที่ไม่มีชื่อเสียง ก็อาจจะเป็นไปได้ว่าข่าวที่เราเจอนั้นเป็นข่าวปลอม

 

 

สังเกตสิ่งผิดปกติในเนื้อหาข่าวหรือเว็บไซต์ เช่นวันที่ลำดับเหตุการณ์ การจัดวางภาพกราฟิก โดยข่าวปลอมอาจมีลำดับเหตุการณ์ที่ไม่สมเหตุผล หรือมีการเปลี่ยนแปลงวันที่ของเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริง รวมทั้งมีการจัดวางกราฟิกหรือเลย์เอาต์ที่ไม่เป็นมืออาชีพ ผิดไปจากเลย์เอาต์ของสำนักข่าวจริง

 

 

สังเกตสิ่งผิดปกติในเนื้อหาข่าวหรือเว็บไซต์ เช่น เมื่อคลิกเข้าไปดูในเว็บไซต์อาจมีโฆษณาของสิ่งผิดกฎหมายปรากฏอยู่เต็มหน้าเว็บ เช่นเว็บพนันต่างๆ

 

 

ทำไมเราถึงอยากแชร์? อ่านข่าวนี้แล้วเรารู้สึกอย่างไร ผู้เขียนต้องการอะไร หรือมีเป้าหมายยังไง เช่น ต้องการสร้างความตื่นตระหนก หรือให้ข่าวทำลายชื่อเสียงใครบางคน รวมไปถึงการมีจุดประสงค์อื่นๆ แอบแฝงจากการสร้างข่าวนี้

 

 

ทั้งหมดนี้อาจจะบอกไม่ได้ว่า “ข่าวนั้นเป็นเรื่องจริงหรือ Fake News 100% แน่นอน!”
แต่การที่เราได้อ่านข่าวพวกนั้นบ่อยๆ ได้มีการสังเกตสิ่งต่างๆ เป็นประจำ และการที่เราได้คิดวิเคราะห์ตาม ก็จะช่วยให้เราได้รู้นข่าวปลอมหรือ Fake News ต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้นนะ

 

แต่ถ้าอยากจะเก่งทั้งด้าน Social Media, IT หรือ Electronics ต่างๆ ก็ต้องนี้เลย!
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ www.spu.ac.th/fac/informatics

 

ที่มา www.admissionpremium.com/it/news/

 

(Visited 445 times, 1 visits today)

Related posts

จบปวส. เรียนต่อคณะไหนดี?

P'Krish

4 เคล็ดลับความสำเร็จธุรกิจส่งออก ที่ Dek โลจิสต์ SPU ควรรู้

P'Menu SPU

รู้ก่อนเลือก! สาขาวิชาในคณะบริหารธุรกิจ แต่ละสาขาวิชาแตกต่างกันอย่างไร?

P'Krish