น้องๆ คนไหนที่สนใจจะเรียนต่อทางด้านคอมพิวเตอร์หรือไอที แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะเลือกเรียนสายไหนดี
วันนี้เลยจะขอชวนมาทำความรู้จักกับวิชาเรียนของสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering) ที่เป็นสาขาเกี่ยวข้องกับการออกแบบ การสร้างเครื่องหรือระบบคอมพิวเตอร์ รวมถึงการบำรุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งเนื้อหาที่น้องๆ ที่จะเรียนในสาขานี้มีอะไรกันบ้าง ไปดูกัน!
เทคโนโลยีระบบสมองกลฝังตัวเบื้องต้น (Introduction to Embedded System)
วิชานี้จะเป็นการเรียนเรื่องภาพรวมของเทคโนโลยีระบบสมองกลฝังตัว ส่วนประกอบของระบบสมองกลฝังตัว อุปกรณ์อินพุท เอาท์พุต โครงสร้างพื้นฐานของโปรแกรมควบคุม เครือข่ายการสื่อสารข้อมูล โปรแกรมแอปพลิเคชั่น ในการ พัฒนาฮาร์ดแวร์และการพัฒนาซอฟต์แวร์ ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพทางระบบและสมองกลฝังตัว เช่น ภาษาซี หรือ Assembly
ระบบสมองกลฝังตัว 2 (Embedded System 2)
และพอเรียนเรื่องพื้นฐานของระบบสมองกลฝังตัวแล้ว ต่อมาก็จะเรียนเนื้อหาแบบเจาะลึกมากขึ้น อย่างการศึกษาเกี่ยวกับการสร้างระบบสมองกลฝังตัว โดยใช้โปรแกรม Software Development Tool(s) ที่เน้นเกี่ยวกับเทคโนโลยี Internet of Things (IOT) หรือการสร้างเอกสารและโปรแกรมสำหรับการทดสอบระบบสมองกลฝังตัว ที่จะต้องสร้างขึ้นและทำการทดสอบระบบสมองกลฝังตัว ตามความเหมาะสมในสภาวะแวดล้อมที่คล้ายกับความเป็นจริง รวมทั้งทำสรุปข้อดีและข้อเสียกับระบบที่ทำ เพื่อการใช้ในการทำงานของจริง!
การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่และปัญญาประดิษฐ์ (Big Data Analytics and Artificial Intelligence)
วิชาที่เกี่ยวกับการเรียนแนวคิดข้อมูลขนาดใหญ่ แพลตฟอร์มพื้นฐาน โมเดลข้อมูลขนาดใหญ่และวิธีการจัดเก็บข้อมูล เทคนิคในการนำเสนอข้อมูลขนาดใหญ่ด้วยภาพแนวคิดและหลักการพื้นฐานของปัญญาประดิษฐ์ อีกทั้งการเรียนรู้ของเครื่องเทคนิคการจำแนกข้อมูล เช่น เทคนิคต้นไม้ตัดสินใจ โครงข่ายประสาทเทียม เป็นต้น การสกัดและเลือกคุณลักษณะ การแบ่งกลุ่มข้อมูลและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางปัญญาประดิษฐ์
ระบบการรับภาพด้วยเครื่อง (Machine Vision)
วิชาที่เรียนเรื่องหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการรับภาพด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะเริ่มต้นจาก จุดเริ่มต้นของภาพที่รับ (Edge Detection) การแบ่ง Image Segmentation และ Stereoscopic Vision การเคลื่อนที่ของภาพ (Motion) วิธีการการสร้างภาพจากข้อมูลที่มีอยู่ (Shape Reconstruction) การแยกส่วนที่ต้องการจากภาพ การจดจำภาพที่ได้รับเพื่อการเปรียบเทียบ โดยจะมีการจัดทำโครงงานที่เกี่ยวข้องกับการหา Algorithm ที่เหมาะสม เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ภาพกรณีศึกษา และการปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการประยุกต์ให้เข้ากับเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างปัญญาประดิษฐ์ (AI)
การออกแบบระบบเครือข่าย การติดตั้งและกรณีศึกษา (Network Design, Implementation and Case Study)
และวิชาสุดท้าย จะเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์พื้นฐานทางด้าน Network และ Digital Bandwidth โดยจะมีการเรียนเรื่องของการวิวัฒนาการ ISO Network, OSI Layers, OSI Models และ TCP/IP Models และหลักการของระบบ LAN (Local Area Network) ในอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในระบบ LAN โดยจะใช้ความรู้เกี่ยวกับการศึกษาคุณสมบัติต่างๆ ของสัญญาณที่ใช้ในการสื่อสาร มาทำการหาข้อดีและข้อเสียของสายสัญญาณแบบต่างๆ เพื่อใช้ในการติดตั้งและการทดสอบระบบเครือข่าย การกำหนด IP Addresses และ Protocols ที่ใช้ใน Layers ต่างๆ ทั้ง 7 Layers ซึ่งจะรวมไปถึงเรื่องโครงสร้าง การเริ่มต้น และการกำหนดหน้าที่การทำงานของ Routers
ซึ่งแต่ละสาขาก็จะมีเนื้อหาและเทคนิคการสอนสำหรับความสนใจแตกต่างกันตามความถนัดของคนเรียน
ดังนั้นถ้าน้องๆ ยังเลือกไม่ถูกว่าจะเรียนสาขาไหนดี ก็สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติม หรืออ่านเรื่องที่น่าสนใจต่างๆ ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ที่ www.spu.ac.th/fac/informatics