วิศวกรรมเครื่องกลหรือ Mechanical Engineering เป็นศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานในการออกแบบ พัฒนา และผลิตอุปกรณ์ที่เป็นต้นกำลัง ถ่ายทอดกำลัง และใช้กำลัง โดยการศึกษาวิศวกรรมเครื่องกลแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ ลักษณะแรกคือด้านพลังงาน ความร้อน และของไหล ส่วนลักษณะที่สองคือ ด้านการเคลื่อนไหว และเป็นหนึ่งในสาขาของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่ฮอตฮิตของคนที่อยากเรียนวิศวะเลยก็ว่าได้
โดยครั้งนี้ เราจะพาน้องๆ มารู้จักอาชีพของสาขาวิศวกรรมเครื่องกลกันเถอะ ว่าพวกเขาเรียนจบมาแล้วจะทำงานอะไรกันบ้าง? อย่ารอช้า ไปดูกันเลย!!!
อาชีพของช่างเทคนิคเครื่องกลสามารถจัดระดับงานได้เป็น 2 ระดับ หนึ่งคืองานระดับช่างฝีมือที่จะเกี่ยวกับการเขียนอ่านแบบเครื่องกล แบบโครงสร้างผังโรงงาน แบบสั่งงานและกำหนดงานซ่อม รวมถึงการสร้างชิ้นส่วนเครื่องมือตามแบบที่กำหนด การติดตั้งและบำรุงรักษาเครื่องมือ เครื่องจักร การหาข้อบกพร่องและการซ่อมแซมเครื่องจักรต่างๆ ด้วยเครื่องมือกล
ส่วนงานระดับที่สองจะเป็นงานทางช่างเทคนิค โดยจะทำงานในลักษณะของผู้ควบคุมงาน เป็นงานจะเน้นเกี่ยวกับทำงานในห้องทดลองหรือห้องตรวจสอบวัสดุ การวางแผน การวางระบบบำรุงรักษาเชิงป้องกันและระบบการซ่อมแซมเครื่องจักรที่เสียหาย ตรวจสอบ ค้นหา และวิเคราะห์ข้อบกพร่องเครื่องจักรกลชนิดต่างๆ
งานจะมีความคล้ายกันกับงานของช่างเทคนิคเครื่องกล แต่จะมีการเน้นไปที่ระบบต่างๆ ของระบบปรับอากาศและระบบระบายอากาศมากกว่า โดยทำงานจะเป็นการควบคุมดูแล ตั้งแต่การออกแบบวางแผน ควบคุมการผลิต การติดตั้งของอุปกรณ์และระบบ รวมถึงการบำรุง ซ่อมแซมหรือดัดแปลงระบบ เพื่อใช้ในการตรวจสอบความปลอดภัยของระบบเครื่อง อีกทั้งต้องควบคุมดูแลระบบให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยคำนึงถึงการติดตั้งในเชิงอนุรักษ์พลังงานและสภาพแวดล้อม
ส่วนงานนี้จะครอบคลุมการเลือกที่หลากหลายทั้งในด้านของการใช้เทคนิคในการแก้ไขปัญหาทางวิศวกรรมและการออกแบบสิ่งก่อสร้าง ตั้งแต่ความสมบูรณ์ของโครงสร้าง จนไปถึงการเลือกวัสดุ และเครื่องจักรกลที่ใช้ในการก่อสร้าง โดยจะใช้การจำลองในคอมพิวเตอร์เพื่อกำหนดขอบเขตของงาน เพื่อสร้างความเข้ากันได้อย่างลงตัวระหว่างวิศวกรรมและสถาปัตยกรรมของโครงสร้าง โดยวิศวกรจะเข้ามาช่วยการออกแบบกรอบอาคาร (Building Envelope Design)
ดังนั้น หลักการของงงานวิศวกรในงานนี้จะต้องเรียนรู้ทั้งด้านวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมโครงสร้าง ทั้งในโครงสร้างพื้นฐานของอาคารที่เห็นได้จากมุมมองทางกายภาพ และในระดับของสุนทรียภาพเมื่อระบบการวางแผนและการบริการต่างๆ ที่จำเป็นต่อความสะดวกสบายและความปลอดภัย เช่น ท่อน้ำและระบบท่อระบายน้ำ ระบบดับเพลิง เป็นต้น
นอกจากงานที่เกี่ยวกับเครื่องจักร วิศวกรรมเครื่องกลก็ยังสามารถทำงานเครื่องยนต์ได้อีกด้วย โดยจะทำงานทางด้านเทคนิคที่เกี่ยวกับการควบคุมงานออกแบบ การติดตั้ง การตรวจสอบและการใช้เครื่องจักร เครื่องยนต์ ระบบเครื่องยนต์เล็ก/ใหญ่ ระบบไฟฟ้าในยานยนต์ ระบบส่งกำลังระบบช่วงล่างรถยนต์ระบบการทำงานเครื่องมือเครื่องจักรที่ควบคุมด้วยนิวเมติกส์ และไฮดรอลิกส์ รวมถึงงานควบคุมวางแผน วิเคราะห์ปัญหาและให้คำแนะนำ การจัดการเกี่ยวกับการถอด ประกอบ ซ่อมแซม ทดสอบ และบำรุงรักษายานยนต์ รวมถึงเครื่องยนต์ทางการเกษตร และอุปกรณ์อื่นๆ โดยจะใช้ความรู้ทางวิศวกรรมเครื่องกลในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน
น้องๆ คนไหนที่รู้ตัวว่าชอบงานเครื่องกล หรือหลงเสน่ห์เกี่ยวกับเรื่องของชิ้นส่วนจักรกลและระบบกลไก
นี้แหละ เหมาะที่จะเรียนวิศวกรรมเครื่องกล!
ติดตามข่าวสารและบทความเรื่องราวต่างๆ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้ที่ www.spu.ac.th/fac/engineer/