เมื่อก่อนคนส่วนมากจะชอบคิดกันว่า คนเรียนเทคโนโลยีสารสนเทศ (หรือที่เรียกกันติดปากว่าเด็กไอที) จะถูกมองว่าเป็นเด็กเนิร์ดแว่นหนาที่นั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา
แต่พอตอนนี้ที่เทคโนโลยีเริ่มมาอยู่ในชีวิตเรามากขึ้น คนก็เริ่มหันมาสนใจเรียนเทคโนโลยีกันเพิ่มมากขึ้น
คนส่วนใหญ่ที่คิดว่าคนเรียนจบ IT มาแล้วจะต้องทำงานซ่อมคอมฯ อย่างเดียว จริงๆ แล้วอาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีงานอาย่างอื่นอีกเยอะมาก แถมมีรายได้สูงไม่แพ้สายงานอื่นเลยนะ
อาชีพนี้จะเป็นงานเกี่ยวกับการวางแผนและพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ ให้แก่องค์กรต่างๆ โดยการวิเคราะห์ปัญหาและนำมาเปลี่ยนให้เป็นรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการประเมินค่าด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมถึงการวางแผนงาน การสั่ง การทบทวนโครงการประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์ และการจัดทำรายงานเกี่ยวกับโครงการที่ทำไปแล้ว
นักวิเคราะห์ระบบงานสามารถเลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายคอมพิวเตอร์ หรือผู้จัดการฝ่ายคอมพิวเตอร์ และเป็นผู้บริหารขององค์กรในที่สุด ส่วนผู้ที่รักอิสระ สามารถจัดตั้งกิจการเป็นที่ปรึกษาทางด้านคอมพิวเตอร์ให้กับองค์กรต่างๆ ที่ไม่ต้องการมีค่าใช้จ่ายที่แน่นอนกับการจ้างพนักงานประจำและ ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงเทคโนโลยีตลอดเวลา
งานของอาชีพโปรแกรมเมอร์คือการนำข้อมูลการออกแบบรายละเอียดการวางโครงสร้างระบบคอมพิวเตอร์ จากนักวิเคราะห์ระบบงาน มาเขียนเป็นโปรแกรมต่างๆ โดยภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมจะแตกต่างกันไป ตามลักษณะเครื่องของระบบฐานข้อมูล เพื่อให้ได้ซอฟต์แวร์ที่มีประสิทธิภาพในการประมวลผล การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะต้องมีการทดสอบระบบและส่งให้นักวิเคราะห์ระบบทำการตรวจสอบอีกครั้งเพื่อหากจุดบกพร่องและแก้ไขก่อนนำไปใช้จริง
อาชีพโปรแกรมเมอร์คือเส้นทางสู่ความเป็น IT Architecture และ Chief Technology Officer โดยมันมีความท้าทาย และความยากตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา เพราะงั้นเราต้องมีการพัฒนาตัวเองและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา
งานหลักของนักทดสอบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ก็คือการสืบเสาะหาสิ่งผิดปกติของโปรแกรม โดยต้องอาศัยกความช่างสังเกต มองให้เห็นถึงปัญหาหรือข้อบกพร่องของระบบในอีกมุมมองหนึ่งที่แตกต่างจาก Programmer หรือ Software Developer หากจะเปรียบก็เหมือนนักสืบ ที่พยายามเสาะหาหนทางว่าผู้ร้าย (Bug) แฝงตัวซ่อนอยู่ตรงไหน จากนั้นก็ลากตัวผู้ร้ายไปให้ตำรวจอย่าง Programmer จัดการเคลียร์คดีอันยุ่งเหยิง
นักทดสอบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่มีความรู้ ความสามารถ และมีทักษะในการสื่อสารดีจะมีโอกาสเลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นหัวหน้าฝ่าย จนถึงระดับผู้จัดการระดับต่างๆ หรือสามารถเปิดสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและพัฒนาซอฟต์แวร์ และตรงกับเทรนด์ดิจิทัล
นักพัฒนาเว็บไซต์จะต้องกำหนดประเภทและแบบของการเขียนโปรแกรมในการนำเสนอในเว็บไซต์ การออกแบบ การจัดวางเนื้อหาและการเชื่อมสู่รายละเอียดในแต่ละรายการที่ต้องการนำเสนอ (Sitemap) และโครงร่าง (Outline) ของเว็บไซต์ บางครั้งจะต้องมีการติดต่อกับผู้ควบคุมงานและผู้แทนของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหาที่สำคัญในการนำเสนอ การนำข้อมูลเข้าระบบ ขอบเขตของการแสดงข้อมูล ออกแบบ การจัดวางภาพและข้อความ (layout) ในแต่ละเว็บเพจ บางครั้งอาจจะมีการทำงานกับผู้ออกแบบกราฟิค (Graphic Designers) เพื่อช่วยทำให้งานสมบูรณ์มากขึ้น
ใครที่มีใจรักในเทคโนโลยี ชอบคอมพิวเตอร์ ฝันที่จะสร้าง App หรือเขียนโปรแกรมด้วยตัวเอง สาย IT ถือว่าตอบโจทย์ที่สุดแล้ว ไม่อยากเกินความสามารถแน่นอน!
ส่วนน้องๆ ที่อ่านแล้วอาจจะยังงงๆ เรื่องโปรแกรมหรือคำศัพท์ที่เขาใช้กันอยู่ไม่ต้องกลัวไปนะ เพราะที่คณะเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัยศรีปทุม สอนตั้งแต่พื้นฐานจนเป็นเซียนด้าน IT ตอบโจทย์ตลาดงานยุคดิจิทัล 100% แถมยังสามารถเรียนต่อปริญญาโทและเอก เพื่อต่อยอดอาชีพ เรียกเงินเดือนได้สูงขึ้นไปอีก!
สามารถติดตามเรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับ IT เพิ่มเติมได้ที่ www.spu.ac.th/fac/informatics