"อยากเป็นนักบิน ฟังทางนี้"

การจัดการความปลอดภัยการบิน

“กลุ่มนักบินอากาศยานไร้คนขับ (Remote Pilot Aircraft System)”

อาชีพใหม่มาแรง จากกระแสความนิยมของอากาศยานไร้คนขับ หรือที่เรียกกันว่า “โดรน” ความสวยงามจากมุมมอง Bird Eye’s View นับได้ว่ามาแรงและหยุดไม่อยู่ ซึ่งกำลังเข้ามามีบทบาทต่อวงการธุรกิจหลายแขนงอย่างมากในปัจจุบันและสร้างรายได้ค่อนข้างสูง นับเป็นอาชีพที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กับการพัฒนาด้านไอทีของยุคดิจิตอลในขณะนี้

ข้อดีของอากาศยานไร้คนขับ

” เรียนกับผู้เชี่ยวชาญ จบไปอย่างมืออาชีพ “

การที่ทำให้เราได้ภาพมุมสูงมาโดยที่ประหยัดค่าใช้จ่าย จากแต่เดิมที่ต้องถ่ายภาพมุมสูงด้วยการนั่งเฮลิคอปเตอร์หรือเครื่องบิน ทำให้มีภาระค่าใช้จ่ายสูงมากในแต่ละครั้งที่จะบินขึ้นไปถ่ายมุมสูง การบังคับโดรนไม่ใช่เรื่องยากแต่ก็ไม่ง่าย เพราะอาจต้องเจอปัญหาเฉพาะหน้า อาทิ สภาพอากาศไม่เหมาะสม หรือถูกจำกัดการบินชั่วคราว ถ้าเป็นงานเร่งรีบหรือต้องการภาพที่คมชัด ผู้บังคับจะต้องแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้ได้ทันท่วงที โดยการจะบังคับโดรนเพื่อถ่ายภาพมุมสูงอย่างมืออาชีพนั้น ผู้บินโดรนจะต้องศึกษาเพื่อเลือกใช้ประเภทของโดรนที่เหมาะกับลักษณะงานและต้องมีใบอนุญาตบังคับอากาศยานไร้คนขับ แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่ยากจนเกินไปสำหรับน้องๆ แน่นอน

ค่าเทอม

ค่าเทอมที่ 1

นักบินอากาศยานไร้คนขับ
38500
28,900 บาท ค่าเทอมปีการศึกษาที่ 1
  • เทอมที่ 2 / 38,400.-
Popular

กองทุนกู้ยืมฯ

นักบินอากาศยานไร้คนขับ
60,000 บาท ลักษณะที่ 2 + Human*
  • ผู้จบ ม.6/ปวช/กศน.
  • ภาคเรียนปกติ

การชำระเงินลงทะเบียน

– ผู้กู้ลักษณะที่ 1 / ลักษณะที่ 2 / Human Capital ชำระเริ่มต้น 4,000 บาท ที่เหลือเป็นการกู้จากกองทุน
– ผู้ชำระเงินสด งวดแรกชำระ 15,000 บาท และชำระส่วนที่เหลือภายใน 30 เมษายน 2566

โครงสร้างหลักสูตร​

"เรียนโดรนแล้วไปทำอะไรได้บ้าง ???"

อาชีพอะไรบ้างที่จะต้องใช้โดรนมาเป็นตัวช่วยหนึ่ง ที่จะคอยสร้างสรรค์จินตนาการ แนวทางใหม่ๆ และมีประโยชน์ต่องานที่ทำอยู่ เรามาดูไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

  1. ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง ใช้โดรนเป็นเครื่องมือหนึ่ง ที่ต้องมีในแผนการตลาด เช่น แผนเปิดตัวสินค้าใหม่ การถ่ายทำวีดีโอ ที่จำเป็นต้องใช้ภาพมุมสูง เป็นลูกเล่นเจ๋งๆ ให้งานออกมาดีที่สุด
  2. ทีมโปรดักชั่น ใช้โดรนเป็นตัวช่วยในการเพิ่มลูกเล่นให้กับงาน จะช่วยสื่ออารมณ์ให้กับวีดีโอ และรูปภาพ
  3. ช่างภาพ การถ่ายรูปมุมเดิมๆ อาจจะดูธรรมดาไปแล้ว สำหรับช่างภาพมืออาชีพในยุคปัจจุบัน ช่างภาพจำนวนมาก จึงหันมาเล่นโดรนควบคู่ไปกับการใช้งานกล้อง DSLR ที่จะทำให้ได้ภาพถ่าย หรือวีดีโอ ในมุมมองที่แปลกใหม่ เป็นทางเลือกให้สามารถสร้างสรรค์ผลงานได้ไม่มีขีดจำกัด
  4. นักข่าว อาชีพนักข่าว ที่ปัจจุบันนี้มีความจำเป็นที่จะต้องรายงานข่าวแบบเรียลไทม์ หรือรายงานย้อนหลัง นำเสนอข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ และความจริง ให้คนดูได้รับทราบ ก็เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่จำเป็นต้องใช้โดรน เพื่อบันทึกภาพข่าวนั้นๆ โดยนักข่าวจะใช้โดรนบังคับติดกล้อง รายงานข่าวในสถานการณ์ต่างๆ นั่นเอง
  5. การเกษตร เทคโนโลยีโดรนสามารถนำมาช่วยให้เกษตรกรสามารถดูแลรักษาโรคพืชได้อย่างตรงจุด โดยการนำโดรนมาติดระบบเซ็นเซอร์ และกล้องสำหรับการถ่ายภาพทางอากาศโดยใช้ระบบ GPS ในการหาพิกัดต่าง ๆ การตรวจสอบภาพพื้นที่เพาะปลูกในมุมสูง เพื่อวิเคราะห์หาการเจริญเติบโตของพืชในแต่ละจุด และหาวิธีแก้ไขได้อย่างทั่วถึง
  6. ขนส่งทางอากาศ โดรนสามารถแทนที่เครื่องบินในบางจุดเพื่อใช้ในการขนส่งสินค้าหรืออุปกรณ์ต่างๆ ทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สมรรถนะในการขนส่งเร็วขึ้น
  7. งานสำรวจ โดรนเป็นเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการสำรวจในงานต่างๆได้หลากหลาย เช่น สามารถปฏิบัติการใต้น้ำได้ เรียกว่า “โดรนน้ำ” สำรวจสถานที่ที่มีลักษณะเฉพาะที่มีการเข้าถึงยาก เป็นต้น

จำนวนหน่วยกิตที่ศึกษาตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 128 หน่วยกิต

Course No.
Credits
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
 
1.1 กลุ่มสาขาวิชามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
 9 หน่วยกิต
1.2 กลุ่มสาขาวิชาภาษาและการสื่อสาร
12 หน่วยกิต
      1.3 กลุ่มสาขาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
 9 หน่วยกิต
2. หมวดวิชาเฉพาะด้าน
 
     2.1 กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ
26 หน่วยกิต
     2.2 กลุ่มวิชาชีพบังคับ
33 หน่วยกิต
     2.3 กลุ่มวิชาชีพเลือก
15 หน่วยกิต
     2.4 กลุ่มวิชาโท/วิชาเฉพาะ
15 หน่วยกิต

ชื่อปริญญา

  • ภาษาไทย (ชื่อเต็ม) : วิทยาศาสตรบัณฑิต (การจัดการความปลอดภัยการบิน)
  • (อักษรย่อ) : วท.บ. (การจัดการความปลอดภัยการบิน)
  • ภาษาอังกฤษ (ชื่อเต็ม) : Bachelor of Science (Aviation Safety Management)
  • (อักษรย่อ) : B.Sc. (Aviation Safety Management)

ระยะเวลาการศึกษา หลักสูตร 4 ปี (ภาคปกติ)

ภาคปกติ
เรียนในเวลาราชการ จันทร์ – ศุกร์ เวลา 9.00 – 17.00 น.

CAREER PATH

นักบินพาณิชย์ เรียนอะไรบ้าง???

กฎหมายการบิน ความรู้เกี่ยวกับเครื่องบิน สมรรถนะการบิน การวางแผนและการบรรทุก มนุษย์ปัจจัย อุตุนิยมวิทยา ระบบการเดินอากาศ คู่มือการปฏิบัติการบิน หลักการบินเบื้องต้น การติดต่อวิทยุภาคอากาศ ซึ่งเป็นการเรียนบินจริงตามมาตรฐานของ สำนักงานการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO)

คณาจารย์

Review
สิ่งใหม่ จุดเด่น จุดแตกต่าง

ที่ 1 เรื่องความปลอดภัยด้านการบิน ลงลึกแบบมืออาชีพ เรียนรู้ด้านหลักการบินอุตุนิยมวิทยาการบิน กฎหมายการบิน ติวเข้มภาษา เรียนจบพร้อม Certificate เลือกเส้นทางอาชีพได้ 6 Track นักบิน* นักบินอากาศยานไร้คนขับ อำนวยการบิน จราจรทางอากาศ การจัดการสนามบินและสินค้าทางอากาศ ความปลอดภัยการคมนาคม