ที่ 1 เรื่อง
“ ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย ด้า น ก า ร บิ น ”
หรือต่อยอดเป็นนักบินก็ทำได้
ความเป็นมาเล็กๆ น้อยๆ ที่อยากให้รู้จักกัน . . .
สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยการบิน มหาวิทยาลัยศรีปทุม แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศ
ไทยทTีเตรียมหลักสูตรสุด Exclusive! ตรงทุกความตอ้ งการตลาดแรงงานในอุตสาหกรรมการบิน เรียนสนุก
เจาะลึกความรู้เกีTยวกับงานธุรกิจการบิน พัฒนาเป็นหลักสูตรวิชาชีพสุดทันสมัย ถ่ายทอดจากผู้มี
ประสบการณ์ตรงในสาขาวชิ าชีพทางดา้ นอุตสาหกรรมการบิน มุ่งเน้นทัIงภาคทฤษฎีและปฏิบัติอย่าง
ครบถว้ นพร้อมปสู่เสน้ ทางการเป็นนกั บินมืออาชีพ
การเรียนในสาขานี้น่าสนใจอย่างไร
สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยการบิน เป็นสาขาที่เรียนรู้เรื่องการจัดการความปลอดภัยการบิน การป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ แผนงานความปลอดภัยการบิน กฎระเบียบและข้อบังคับด้านการบิน มาตรฐานการบินระหว่างประเทศ อุตุนิยมวิทยาการบิน ระบบการควบคุมการจราจรทางอากาศ หลักการบินเบื้องต้น วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการบิน ระบบสารสนเทศสำหรับการจัดการทางการบิน เมื่อนักศึกษาจบชั้นปีที่ 2 แล้ว สามารถที่จะเลือกเรียนต่อนักบินพาณิชย์ตรี (Commercial Pilot License : CPL) ได้ โดยมีข้อกำหนดต้องผ่านการตรวจสุขภาพร่างกายและจิตวิทยาการบิน ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาเกี่ยวกับการบิน และเสียค่าใช้จ่ายในการเรียนเป็นนักบินเพิ่ม และยังมีกลุ่มอื่นที่น่าสนใจ ได้แก่ กลุ่มการจัดการความปลอดภัยการคมนาคม (Transportation Safety Management) กลุ่มการจัดการสนามบินและสินค้าทางอากาศ (Airport and Air Cargo Management) กลุ่มนักบินอากาศยานไร้คนขับ (Remote Pilot Aircraft System) กลุ่มพนักงานอำนวยการบิน (Flight Operations Officer-Dispatcher) และกลุ่มควบคุมจราจรทางอากาศ (Air Traffic Control) ที่รองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมการบินอย่างต่อเนื่อง
โอกาสทางอาชีพสูง
โอกาสทางอาชีพในสาขาวิชานี้มีสูงมาก ไม่ว่าจะเป็นนักบินเครื่องบินพาณิชย์ นักบินอากาศยานไร้คนขับ พนักงานอำนวยการบิน งานควบคุมจราจรทางอากาศ งานด้านนิรภัยการบินของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย งานด้านความปลอดภัยการบินในท่าอากาศยาน สายการบิน และเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศ งานด้านความปลอดภัยในอาคารหรืออุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ตัวแทนรับ-ส่งสินค้าทางอากาศ งานด้านการขนส่งสินค้าทางอากาศ งานด้านการบริหารระดับต้นของสายการบิน งานด้านการบริหารระดับต้นของท่าอากาศยาน พนักงานบริการภาคพื้น ฯลฯ
8 ข้อ ที่ใครอยากเรียนต้องรู้
- เปิดสอนสาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยการบิน เป็นที่แรกและที่เดียวในประเทศไทย
- ได้วุฒิวิทยาศาสตรบัณฑิต ทำงานด้านความปลอดภัยในสายการบินและอุตสาหกรรมการบิน
- สามารถต่อยอดเรียนนักบินได้ ทั้งนักบินพาณิชย์และนักบินส่วนบุคคล โดยไม่ต้องเริ่มต้นเรียนใหม่ เรียน 1 ได้ถึง 2 (ได้รับใบอนุญาตฯ พร้อมรับปริญญาตรี)
- เรียนกับตัวจริงประสบการณ์จริง จากครูฝึกบินโดยตรง
- ทำความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนด้านธุรกิจการบิน เช่น บริษัท ไทยเอวิเอชั่น จำกัด บริษัท ไทยไฟลท์ เทรนนิ่ง จำกัด บริษัท บางกอกแอร์ เอวิเอชั่น เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ เป็นต้น
- ศึกษาดูงานด้านการบินตั้งแต่ปี 1
- เตรียมความพร้อมด้านภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษา เพื่อใช้ในการสอบเข้าสมัครงานในอุตสาหกรรมการบิน
- เป็นที่ต้องการของสายงานด้านการจัดการความปลอดภัยการบิน
จุดเด่นของสาขา
“เรียนกับมืออาชีพ”
- เน้นให้นักศึกษามีโอกาสได้เรียนรู้ ฝึกฝนและหาประสบการณ์ จากการฝึกปฏิบัติจริง
“มุ่งเน้นภาษา”
- เพื่อเตรียมความพร้อม ในการสอบภาษาอังกฤษ และเตรียมสมัครงานนักบินพาณิชย์
“มุ่งผลิตบัณฑิต”
- มีคุณลักษณะศักยภาพที่ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานในธุรกิจอุตสาหกรรมการบิน และงานด้านการจัดการความปลอดภัยการบิน
“ศูนย์ทดสอบความพร้อม”
- เป็นศูนย์ทดสอบความพร้อม ในการปฏิบัติงานด้านการบินจาก สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (TPQI)
“เป็นหลักสูตรเดียว”
ที่มีกลุ่มวิชาเฉพาะด้านที่ทันสมัยเป็นไปตามมาตรฐานการบินสากล (ICAO) และเป็นที่ต้องการของภาคอุตสาหกรรมการบิน
รายวิชาที่เรียน
- ระบบการจัดการความปลอดภัย
- การสอบสวนสืบสวนอากาศยานอุบัติเหตุ
- มนุษย์ปัจจัยในการป้องกันอากาศยานอุบัติเหตุ
- ระบบการควบคุมการจราจรทางอากาศ
- การค้นหาช่วยชีวิตและการฝึกการยังชีพ
- อุตุนิยมวิทยาการบิน
- กฎ ระเบียบ และข้อบังคับด้านการบิน
- การขนส่งวัตถุอันตรายทางอากาศ
ฯลฯ
Career Path
- นักบินพาณิชย์ตรี (Commercial Pilot License: CPL)
- นักบินส่วนบุคคล (Private Pilot License: PPL)
- นักบินอากาศยานไร้คนขับ (Remote Pilot Aircraft System)
- พนักงานอำนวยการบิน (Flight Operations Officer-Dispatcher)
- เจ้าหน้าที่ฝ่ายมาตรฐานสนามบิน (Aerodrome Standards Department: AGA)
- เจ้าหน้าที่กองตรวจสอบความปลอดภัยสนามบิน (Aerodrome Safety Inspection Division: AS)
- เจ้าหน้าที่กองสิ่งแวดล้อมการบิน (Aviation Environment Division: EV)
- เจ้าหน้าที่ฝ่ายมาตรฐานปฏิบัติการบิน (Flight Operations Standards Department: OPS)
- เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความปลอดภัยห้องโดยสาร ฝ่ายมาตรฐานการบิน (Cabin Safety Division Officer: Flight Operation Standards Department)
- เจ้าหน้าที่กลุ่มประกันคุณภาพ (Quality Assurance Group Officer)
- เจ้าหน้าที่กองแผนภูมิการบิน ฝ่ายบริการข่าวสารการบิน (Aeronautical Chart Division Officer: Aeronautical Information Services Department)
- เจ้าหน้าที่กองกฎหมายมาตรฐานความปลอดภัย (Safety Law Division Officer)
- เจ้าหน้าที่กองกฎหมายมาตรฐานการรักษาความปลอดภัย (Security Law Division Officer)
- เจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจรทางอากาศ (Air Traffic Controller)
- เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการลานจอด (Ramp Operation)