“หน้ากากอินทรีเหล็ก”โปรเจกต์แอนิเมชัน 2D สไตล์เลิฟคอมเมดี้ สานตำนานซูเปอร์ฮีโร่ไทย

ฝีมือนักศึกษาชั้นปี 3 สาขาคอมพิวเตอร์แอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต์ คณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้นำทักษะวิชาการสร้างภาพเคลื่อนไหวขั้นสูง สร้างผลงานแอนิเมชัน 2D “หน้ากากอินทรีเหล็ก” โปรเจกต์ที่ผสมผสานกลิ่นอายของซูเปอร์ฮีโร่ไทยยุคเก่า ถ่ายทอดความรัก ความฝัน และความกล้าหาญ ผ่านการเล่าเรื่องสไลต์เลิฟคอมเมดี้

เรียนรู้จากคลาสสู่ผลงานจริง

เบื้องหลังของผลงาน หน้ากากอินทรีเหล็ก” เริ่มต้นขึ้นจากคลาส AFX341 การสร้างภาพเคลื่อนไหวขั้นสูง ซึ่งเป็นหนึ่งในวิชาสำคัญของหลักสูตร นักศึกษาที่ร่วมสร้างผลงานต่างมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาทักษะของตนเอง โดยได้เรียนรู้การทำงานอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การวางแผน การแบ่งหน้าที่ จนถึงการสร้างผลงานที่มีคุณภาพระดับมืออาชีพ

จุดเริ่มต้นของไอเดีย
เมื่อเลิฟคอมเมดี้เจอกับซูเปอร์ฮีโร่

แรงบันดาลใจแรกของ “หน้ากากอินทรีเหล็ก” เกิดจากความประทับใจในแอนิเมชันของรุ่นพี่ “สู้เขานะเมทินี” ซึ่งมีความสนุกสนานแบบเลิฟคอมเมดี้ ทีมผู้สร้างจึงอยากสานต่อแนวทางนี้ แต่เพิ่มเติมความเข้มข้นด้วยซูเปอร์ฮีโร่ไทยที่คุ้นเคย อย่าง อินทรีแดง นักสู้พันธุ์ข้าวเหนียว และลูกผู้ชายพันธุ์ดี เพื่อสร้างเอกลักษณ์ให้ชัดเจนขึ้น

“พวกเราชอบดูละครแนวซูเปอร์ฮีโร่ไทยตั้งแต่เด็ก จึงคิดว่าถ้านำบรรยากาศแบบนั้นมาผสมกับความหวานซึ้งของเลิฟคอมเมดี้ มันจะกลายเป็นแอนิเมชันที่มีรสชาติใหม่ๆ ที่คนดูจะหลงรัก” — คำบอกเล่าจากผู้กำกับของโปรเจกต์

ใช้ทุกทักษะที่เรียน
สู่การสร้างแอนิเมชันที่สมจริง

การสร้างสรรค์ผลงานในครั้งนี้ ได้นำทักษะจากการเรียน มาประยุกต์ใช้ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การวางแผนงาน การออกแบบตัวละคร ทฤษฎีการเคลื่อนไหวต่างๆ Composition, 2D & 3D Animation ไปจนถึงการจัดการไฟล์อย่างเป็นระบบ ในส่วนของการเขียนบท ได้นำความรู้วิชาเขียนบทตอนเรียนปี 2 มาใช้ในการเขียนเรื่องเยอะมาก ทั้งการเล่าเรื่อง เขียนสคริปต์ ทรีตเมนต์ และสตอรี่บอร์ด

กว่าจะเป็น หน้ากากอินทรีเหล็ก

ผลงานแอนิเมชันเรื่อง หน้ากากอินทรีเหล็ก เกิดจากการผสานเทคนิคและเครื่องมือที่หลากหลาย เพื่อสร้างสรรค์งานที่สมบูรณ์แบบที่สุด โดยใช้โปรแกรมเฉพาะทางในการออกแบบและผลิตผลงาน ดังนี้

 

• Clip Studio Paint EX — สำหรับการวาดและลงสีตัวละคร
• Procreate — ใช้สำหรับสเก็ตช์งานและร่างไอเดีย
• Blender — สร้างฉากและแอนิเมชัน 3D ที่เสริมการเล่าเรื่อง
• Adobe After Effects & adobe premiere pro — สำหรับการตัดต่อและใส่เอฟเฟกต์

  

 

เมื่อซูเปอร์ฮีโร่ต้องมีซาวด์สุดเท่

อีกหนึ่งไฮไลต์สำคัญของแอนิเมชันเรื่องนี้คือเพลงประกอบที่แต่งโดย เจสัน เลน นักแอนิเมเตอร์และ Music Composer ประจำทีม ได้ใช้โปรแกรม Soundtrap ในการทำดนตรี และเลือกสไตล์ดนตรีแนว Rock ผสาน Orchestra เครื่องดนตรีที่ใช้เป็นหลักจะเป็น กีต้าร์ เปียโน ไวโอลิน เชลโล่ และการร้องประสานเสียงแบบคอรัส เพื่อถ่ายทอดพลังของซูเปอร์ฮีโร่ในแบบไทยๆ

“ผมอยากให้เพลงเปิดเรื่องนี้ให้ฟีลเหมือนการ์ตูนซูเปอร์ฮีโร่เก่าๆ อย่างไอ้มดแดงยุคแรกๆ ที่คนดูฟังแล้วฮึกเหิม แต่ก็ยังคงความโรแมนติกของเลิฟคอมเมดี้ไว้” เจสัน เลน กล่าว

ติดตามผลงาน เจสัน เลน  Youtube : LordJason7131 

เปิดประตูสู่โลกแอนิเมชันกับ SPU

หากน้อง ๆ มีความฝันในการสร้างแอนิเมชันของตัวเอง และรักการวาดภาพหรือการเล่าเรื่อง อย่ากลัวที่จะก้าวตามความฝัน ที่สาขาแอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต์ คณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม น้อง ๆ จะได้พบกับเพื่อนที่มีแพชชันเดียวกัน พร้อมเรียนรู้ทุกกระบวนการของการสร้างแอนิเมชัน ทั้ง 2D และ 3D อย่างครบวงจร ภายใต้การดูแลของคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากอุตสาหกรรมตัวจริง ที่พร้อมให้คำแนะนำและเตรียมความพร้อมสู่อาชีพในวงการแอนิเมชันอย่างมืออาชีพ

หน้ากากอินทรีเหล็ก” ไม่ใช่เพียงแค่โปรเจกต์ส่งอาจารย์ แต่เป็นบทพิสูจน์ศักยภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม ที่พร้อมก้าวสู่ระดับมืออาชีพในอุตสาหกรรมแอนิเมชัน

สมาชิกในทีม “หน้ากากอินทรีเหล็ก” 

วัชรพล พูลผล (Director)
กชกร ศรีสมบูรณ์  (Lead Layout)
พรรณสุรักษ์ สวนสนาม  (Lead Key Visual/ Art Director)
กันต์ธีภพ พรนำพา (Lead Key Animator/Character Design)
ณัฐนริ กันทำ (Lead Props Design)
เมทินี คำสวน (Lead Inbetween/Character Design)

สธารร์ เถื่อนศร (Lead Location/Composition)
ปุณยวีร์ ปัญจศิริ (Super General Assistance)
นพรุจ อุณฑพันธุ์ (Composition/Sound Editor)
ณฐนิษฐ์ เชี่ยวพานิช  (Concept Art)
เจสัน เลน (Music Composer)

#SPU #showcase #DEKSPU #คณะดิจิทัลมีเดีย #มหาวิทยาลัยศรีปทุม #Sripatum University #เรียนกับตัวจริงประสบการณ์จริง #สาขาคอมพิวเตอร์แอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต์ #สมัครเรียนปริญญาตรี

Share:

Facebook
Twitter
Pinterest
LinkedIn

Social Media

Most Popular

Categories

On Key

Related Posts

‘กระถางย่อยสลายได้’ ฝีมือเด็กโลจิสติกส์ SPU นวัตกรรมสีเขียวเพื่อเกษตรยั่งยืน ตอบโจทย์สิ่งแวดล้อม-ตลาดอนาคต

กระถางย่อยสลายจากพีทมอส-ใยมะพร้าว​ ผลงานนักศึกษาวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชนมหาวิทยาลัยศรีปทุม เมื่อปัญหาโลกร้อนและขยะพลาสติกกลายเป็นวาระเร่งด่วนของโลก นักศึกษาจากวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม