

เชฟป้อม - ณัฐกฤตา นันทะสิน
อาจารย์ประจำสาขาการจัดการบริการธุรกิจเรือสำราญ
วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เรียนปี 1 กับพื้นฐานสำคัญ สาขาการจัดการความปลอดภัย
ก่อนตัดสินใจเลือกทำงานบนเรือสำราญ มีหลายอย่างที่ควรรู้และเตรียมตัวให้พร้อม มาดู 10 ข้อสำคัญ ที่ช่วยให้การตัดสินใจของน้องๆ ง่ายยิ่งขึ้น
1.ไลฟ์สไตล์ที่ใช่ เหมาะกับงานบนเรือสำราญ?
สายงานนี้เหมาะกับคนที่รักงานบริการ ปรับตัวได้ดี ชอบความท้าทาย และมีใจรักการเดินทาง ชีวิตบนเรือสำราญอาจเป็นโลกใบใหม่ที่เหมาะกับคุณ พร้อมเปิดรับประสบการณ์แปลกใหม่และโอกาสไม่สิ้นสุด
2.รักงานบริการ จำเป็นแค่ไหน?
การรักงานบริการคือหัวใจสำคัญ เพราะช่วยให้คุณสร้างความประทับใจให้ลูกค้า ทำงานอย่างมืออาชีพ จนได้รับทั้งทิป คำชม และเป็นโอกาสก้าวหน้าในสายอาชีพ
3.อยากทำงานบนเรือสำราญ ต้องเก่งอะไร?
ภาษาอังกฤษ คือหัวใจสำคัญ และถ้ามีภาษาที่ 3 อย่างจีนหรือญี่ปุ่น ยิ่งเพิ่มโอกาสและรายได้ให้สูงขึ้นอีก
4.วิธีเตรียมตัวให้พร้อม ก่อนลุยงานบนเรือสำราญ?
Mindset และ ทัศนคติที่ดี : การมีทัศนคติเชิงบวกและพร้อมรับงานบริการช่วยให้ผลงานมีคุณภาพ สร้างประสบการณ์ที่ดีทั้งต่อลูกค้าและตัวคุณเอง
การปรับตัว : สภาพแวดล้อมบนเรือเต็มไปด้วยความหลากหลาย ทั้งวัฒนธรรมจากเพื่อนร่วมงานและลูกค้าทั่วโลก การเปิดใจเรียนรู้และปรับตัวคือกุญแจสำคัญ
การเตรียมตัวเหล่านี้ไม่เพียงช่วยให้พร้อมสำหรับการทำงานบนเรือสำราญ แต่ยังสร้างโอกาสในการเติบโตในสายอาชีพได้อีกด้วย
5.ต้องมีสกิลอะไรให้เรือสำราญระดับโลกจ้างเรา?
1.ภาษาอังกฤษ ต้องคล่องไว้ก่อน
2.บุคลิกภาพ ดูดีและเป็นมืออาชีพ
3.ความรู้ในตำแหน่งงาน เข้าใจบทบาทที่สมัครอย่างแท้จริง
4.ความมั่นใจ กล้าแสดงศักยภาพอย่างเต็มที่
ถ้าเตรียมตัวพร้อมทุกด้านแบบนี้ โอกาสดีอยู่ไม่ไกลแน่นอน!
6.สิ่งที่มีแล้วดีแน่นอน เมื่อทำงานจริง?
ประสบการณ์ : ถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำงานบนเรือสำราญ เพราะสายการเดินเรือทุกแห่งต้องการบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและผ่านการทำงานในสายงานมาแล้ว
ทักษะเฉพาะทางและภาษา : สำหรับตำแหน่งงานเฉพาะ เช่น เชฟ (Chef de Partie, Commis Chef, Demi Chef De Partie ฯลฯ) ผู้สมัครต้องมีความชำนาญในการประกอบอาหาร และรู้คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับงานครัวโดยเฉพาะ นอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับงานในครัวคือความรู้ด้าน Food Hygiene เพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยทางอาหาร
การมีทักษะทั้งสองด้านนี้ จะช่วยเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จและก้าวเข้าสู่อาชีพบนเรือสำราญได้อย่างมั่นใจค่ะ
7.ทีมเวิร์คสำคัญมากแค่ไหน?
ทีมเวิร์คคือหัวใจสำคัญเลย! เพราะงานหลายอย่าง เช่น งานครัว ต้องส่งต่องานกันอย่างราบรื่น หากทีมรอบดึกไม่เตรียมวัตถุดิบไว้ ทีมถัดไปก็อาจทำงานล่าช้า ส่งผลต่อการบริการลูกค้าหลายพันคน การประสานงานและวางแผนร่วมกันคือกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จ
8.ชีวิตการทำงานมีเวลาพักผ่อนไหม?
มีแน่นอน ทุกสายการเดินเรือต้องปฏิบัติตามกฎหมายทะเลสากล (International Maritime Law) และ อนุสัญญาแรงงานทางทะเล (MLC) ซึ่งกำหนดสิทธิในการพักผ่อน ชดเชย และพัฒนาทักษะ ซึ่งการทำงานจะเป็นสัญญารอบละ 6-9 เดือน และพักร้อน 2-3 เดือนก่อนเริ่มงานใหม่ เหมาะสำหรับคนที่พร้อมลุยและปรับตัวได้ในสภาพแวดล้อมพิเศษ
9.วิธีรับมือกับอารมณ์และความเครียดเมื่อต้องทำงานบนเรือ?
บนเรือมีกิจกรรมผ่อนคลายสำหรับลูกเรือ เช่น ปาร์ตี้ ฟิตเนส และโอกาสเที่ยวพักผ่อนเมื่อเรือเทียบท่า สำคัญที่สุด คือการยอมรับและปรับตัวกับชีวิตบนเรือ อย่าลืมมองหาเพื่อนที่คุยปรึกษาได้ เพื่อช่วยแบ่งเบาความเครียดและเติมพลังใจให้พร้อมลุยงานต่อ
10. SPU เตรียมความพร้อมให้เราเป็นมือโปรได้ยังไง?
1. พัฒนาบุคลิกภาพและการสร้างเสริมภาพลักษณ์ : พัฒนาผ่านรายวิชา บุคลิกภาพเพื่องานบริการ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่เหมาะสมในอุตสาหกรรมบริการ
2. ฝึกทักษะวิชาเฉพาะและการอบรม STCW : ผ่านรายวิชาเฉพาะและอบรมหลักสูตร STCW ซึ่งรับรองโดย IMO เมื่อเรียนจบจะได้รับใบประกาศ 7 ใบ ที่ใช้ในการสัมภาษณ์งานได้ทันที
3. ฝึกงานงานจริงก่อนเรียนจบ : ฝึกเรียนรู้จริงจากสถานประกอบการ 2 ภาคการศึกษา เพื่อสร้างทักษะการสื่อสาร การแก้ปัญหา และการทำงานร่วมกับผู้อื่น
4. Cruise Job Fair : โอกาสหางานระดับโลก ที่ SPU จัดงานนี้โดยเชิญตัวแทนจากสายการเดินเรือมาสัมภาษณ์นักศึกษาโดยตรง และมี Partnership กับบริษัทชั้นนำ เช่น TSTC และ Aman
ทั้งหมดนี้เพื่อให้นักศึกษาของเราพร้อมก้าวสู่การทำงานบนเรือสำราญอย่างมืออาชีพ และมีงานรองรับได้อย่างมั่นคง
#SPU #showcase #DEKSPU #วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ #มหาวิทยาลัยศรีปทุม #ม.ศรีปทุม #Sripatum University #เรียนกับตัวจริงประสบการณ์จริง #สมัครเรียนปริญญาตรี
#เรียนเรือสำราญ