เด็กสถาปัตย์ฯ โชว์ไอเดีย ‘4FVER-Floating Block’ มุ่งแก้ปัญหาเพื่อโลก ตอบโจทย์ชุมชน เวที AYDA AWARDS 2024

2 นักออกแบบรุ่นใหม่!
“คิดเพื่อโลก ตอบโจทย์ชุมชน”
“4FVER” และ “Floating Block”
จากเวทีการประกวด AYDA AWARDS 2024

บีม – นิวัติธิดา พลหาญ

คณะการออกแบบและสถาปัตยกรรมศาสตร์
เลือกสาขา : สาขาการออกแบบภายใน
จบจากโรงเรียน : ประชาสมาสัย ฝ่ายมัธยม รัชดาภิเษก ในพระบรมราชูปถัมภ์
IG : SSOSASSOSE
FB :Niwattida


อัน – จิตตยานุรักษ์

คณะการออกแบบและสถาปัตยกรรมศาสตร์
เลือกสาขา : สาขาการออกแบบภายใน
จบจากโรงเรียน : ชัยนาทพิทยาคม
IG : aunnn_variya
FB : Aun Aun  

ทำไมต้องเป็น ?
คณะการออกแบบและสถาปัตยกรรมศาสตร์ SPU

พี่บีม : ตอนช่วง ม.6 พี่ได้เข้ามาดูข้อมูลของคณะการออกแบบและสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม มีหลักสูตรทันสมัยและตอบโจทย์อุตสาหกรรม เน้นการเรียนรู้แบบ Project-based Learning ได้ฝึกปฏิบัติจริง มีการใช้เทคโนโลยีและซอฟต์แวร์ที่เป็นมาตรฐานในวงการ เช่น AutoCAD, SketchUp มีวิชาเรียนที่สอดคล้องกับแนวโน้มใหม่ เช่น Sustainable Design, Digital Architecture, Smart City Design อาจารย์มืออาชีพ

คณาจารย์เป็นสถาปนิก นักออกแบบ และผู้เชี่ยวชาญในวงการจริง มีโอกาสได้เรียนรู้จาก Guest Speaker และ Workshop กับมืออาชีพ ทำเลที่ตั้งสะดวก และค่าใช้จ่ายคุ้มค่า อยู่ในกรุงเทพฯ เดินทางสะดวก ใกล้ BTS และ MRT ค่าเทอมไม่แพงเทียบกับคุณภาพที่ได้รับ และมีทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาใหม่

พี่อัน : ตอนนั้นพี่เห็นว่า ม.ศรีปทุม เดินทางสะดวกติดกับรถไฟฟ้า และคณะการออกแบบและสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม มีชื่อเสียงได้เห็นผลงานของรุ่นพี่แล้วรู้สึกสนใจอยากเรียนที่นี่ ทั้งยังได้เรียนกับอาจารย์ที่เป็นตัวจริงในวงการอีกด้วย พี่จึงตัดสินใจเลือกเรียนที่นี่

เลือกเรียนสาขาการออกแบบภายใน SPU  

พี่บีม : จุดเริ่มต้นมาจาก ชอบเขียน Isometric และ Drawing และศึกษาหาข้อมูลมาพอสมควร ตัดสินใจลองมา open house ที่นี่ และชอบสังคมและสภาพแวดล้อมดีของที่นี่ พี่ๆ ทุกคนแนะนำและเป็นมิตรมาก ประทับใจ พอเข้ามาเรียนจริงๆ ให้ยิ่งประทับใจมากขึ้นไปอีก เพราะอาจารย์ หลักสูตร การเดินทางต่างๆ ลงตัว เรียนจบไปการันตีได้ว่าจะมีงานทำและตรงสาย เพราะอาจารย์ในคณะแนะนำและสอนมาตั้งแต่ ปี1 ในเรื่องของหลักการทำงาน การทำงานจริงต่างๆ ไม่ได้ทำให้รู้สึกว่าเรียนแค่ได้รับปริญญาและถูกสอนให้เรียนรู้และต้องได้นำไปใช้จริง

พี่อัน : ที่พี่เลือกเรียนสาขาการออกแบบภายใน เกิดจากความชอบในการแต่งห้อง และ ชอบวาดรูปมาตั้งแต่เด็ก แล้วมีอยู่ช่วงหนึ่งพี่ได้ไปดูรายการบ้านและสวนทำให้เกิดความสนใจในการออกแบบ

จุดเริ่มต้นในการเข้าร่วมเวทีระดับนานาชาติ AYDA Awards 2024 ?  

จุดเริ่มต้นมาจากอาจารย์เห็นว่าทางเวที AYDA Awards 2024 ได้เปิดการแข่งขัน ประกวดผลงานออกแบบในสาขาสถาปัตยกรรมและสาขาการออกแบบตกแต่งภายใน “AYDA Awards 2024” ธีม “Converge : Glocal Design Solutions” โดยอาจารย์ได้เสนอให้พี่ทั้ง 2 คน ลองคิดและทำ ด้วยที่ว่าเป็น Projact ที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา และส่วนตัวพี่บีมเป็นคนรักและเป็นทาสแมว เคยมีความฝันไว้ว่าถ้ามีเงินเยอะๆ หรือเงินไม่เป็นปัญหาในการใช้ชีวิต อยากจะรับอุปการะแมวจรจัดทุกตัวไว้เอง ด้วยความสงสารและเอ็นดู อยากให้แมวทุกตัวบนโลกนี้มีบ้านและได้รับความรักเป็นอย่างดี ความคิดนี้จึงเกิดเป็น Projact นี้ขึ้นมา และในอนาคตถ้าเป็นไปได้ก็อยากจะสร้างหน่วยงานนี้ขึ้นมาจริงๆ ในตอนแรกไม่ได้คาดหวังว่าเราจะได้ไปยืนในจุดนั้น แค่อยากลองทำในสิ่งที่ฝันไว้ ส่วนของพี่อันเลือกทำเป็น Projact ช่วยเหลือจากปัญหาน้ำท่วมที่ทำให้เกิดความเสียหาย จึงทำให้ผลงาน “4FVER”  และ “Floating Block”  ผ่านเข้ารอบ 20 คนสุดท้าย จาก 300 ผลงานทั่วประเทศ ได้เข้ารับเกียรติบัตร สาขา Interior Design บนเวทีการประกวด ASIA YOUNG DESIGNER AWARD (AYDA) 2024

ที่มาของคอนเซ็ปต์ผลงาน
4FVER และ Floating Block

พี่บีม : ที่มาของหน่วยงาน 4FVER คือ “การนำเอากล่องลังกระดาษที่ถูกทิ้งขว้าง นำกลับมา และมอบชีวิตให้ใหม่ให้แมว” ถ้าพูดถึงแมว สิ่งหนึ่งที่นึกถึงคือ “กล่องลังกระดาษ” ซึ่งเป็นสิ่งที่แมวชอบ เช่น เข้าไปนอนในกล่อง ฝนเล็บ หรืออื่น ๆ แต่ถ้าเปรียบในอีกมุมมองหนึ่งคือ กล่องลังกระดาษเป็นสิ่งที่ผู้คนมักทิ้งขว้างเมื่อไม่ใช้แล้ว หรือไม่จำเป็นแล้ว เมื่อนำมารวมกันสองอย่างนี้จึงเกิดเป็นเรื่องราวที่นำมาใช้เป็นแนวคิดในการออกแบบ คือการก่อตั้งหน่วยงานหนึ่งขึ้นที่มี Space คล้ายกล่องลังกระดาษสี่เหลี่ยม 3 กล่อง โดย กล่องใบที่ 1 คือการกลับมา (ส่วนด้านหน้าของโครงการ) กล่องใบที่ 2 คือ เมตตาและดูแล (ส่วนของการพยาบาลและการรักษาพร้อมทั้งฟื้นฟูสภาพร่างกายและความสะอาด) กล่องใบสุดท้าย คือ การให้ชีวิตใหม่ (ในส่วนของห้องพักพิงและสวนที่ให้แมวจรจัดได้อยู่อย่างอิสระ) ทั้งหมดนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือแมวจรจัดภายในชุมชนด้วยความ “โอบ อุ้ม อารี” แบบคนไทย แต่รวดเร็วฉับไวด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ที่ถูกคิดค้นและสร้างขึ้นมาเพื่อหน่วยงานนี้โดยเฉพาะ (Product Design)

พี่อัน : “Floating Block” โครงการช่วยเหลือจากปัญหาน้ำท่วมที่ทำให้เกิดความเสียหายและส่งผลกระทบต่อผู้คน ขาดการติดต่อ ขาดปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน โครงการ Floating Block จึงเป็นโครงการเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ ภายใต้ concept การเชื่อมต่อ แนวคิดจากปลาตะเพียนสาน ภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัด อยุธยา Site Location ที่เลือกมาทำในโครงการ เมื่อรวมเข้ากับ ปัจจัย 4  วิถีชีวิต  ภูมิปัญญา เข้ามาเปรียบดังเส้นสานที่เมื่อสานรวมกันจะเกิดเป็นรูปทรงและขนาดที่ใหญ่ขึ้นยึดโยงเข้าหากัน เป็นการเชื่อมต่อปฏิสัมพันธ์ที่ขาดหาย และจะสัมพันธ์กับนิสัยคนไทยที่พึ่งพาและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

 กระบวนการออกแบบผลงาน
ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงการนำเสนอ

พี่บีม : เริ่มจากความชอบและนำเอาความชอบมาเจาะให้ลึกมากยิ่งขึ้น การรวบรวมข้อมูล การเลือกพื้นที่ และการสร้าง Programming ของงาน หน่วยงาน 4FVER เป็นหน่วยงานที่เข้าไปแก้ปัญหาให้กับชุมชนมุสลิมที่กำลังประสบปัญหาแมวจรจัด ทำให้ชุมชนไม่น่าอยู่ ด้วยความสะอาดและสุขอนามัย และเนื่องจากชุมชนนี้เป็นชุมชนมุสลิม ตามหลักศาสนาการทำหมันถือเป็นสิ่งที่ผิด หน่วยงานเราจึงยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือโดยการจัดพื้นที่ให้แก่แมวจรจัดและการเข้าถึงวัคซีนพร้อมทั้งการทำหมัน และชุมชนนี้ยังมีปัญหาด้านความแออัด การเข้าถึงตัวแมวจรจัดค่อนข้างยาก หน่วยงานเราจึงต้องมีนวัตกรรมที่ช่วยอำนวยความสะดวกนี้ ได้แก่

1. CAT TRAP BOX (กับดักจับแมว) คือการนำเอากับดักจับแมวที่มีการออกแบบให้คล้ายกล่องลังกระดาษด้วยผิวสัมผัสและสี เพื่อไม่เป็นจุดล่อสายตาหรือเป็นจุดเด่นจนเกินไป นำเอาไปวางไว้ภายในจุดต่างๆ ของชุมชน
2. INSECT DRONE โดรนแมลงขนาดเล็กที่ควบคุมด้วยเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานผ่านรีโมทบังคับ และแสดงผลข้อมูลต่างๆ ผ่านแว่นตาที่เจ้าหน้าที่สวมใส่
3. MOBILE UNIT(รถประจำหน่วย) เป็นยานพาหนะที่ภายในมีความคล้ายกับรถพยาบาล เนื่องจากในการเข้าถึงตัวแมวจรจัดมีการใช้ยาสลบหรือไซลาซีน เราจึงจำเป็นที่จะต้องมีหน่วยพยาบาลภายในรถที่คอยช่วยเหลือแมวจรจัดได้อย่างทันท่วงที และยังมีส่วนของ CONTROL ที่ใช้ควบคุมแขนคีบที่ติดตั้งไว้บนหลังคารถ ที่สามารถยืดและหดได้ถึง 5 เมตร และหมุนได้รอบ 360 องศา เพื่อเข้าถึงพื้นที่ที่เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานไม่สามารถเข้าถึงได้ด้วยตนเอง เมื่อเข้าถึงแมวจรจัดได้แล้ว เราก็จะนำมารักษาและฟื้นฟูที่หน่วยงาน และอาบน้ำทำความสะอาด เมื่อสภาพร่างกายแข็งแรงพร้อม เราจะให้แมวจรที่ผ่านกระบวนการเหล่านี้สวมปลอกคอสีส้มของหน่วยงานเพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าได้รับการปฏิบัติแล้ว และพร้อมที่จะถูก ADROP ต่อไป

พี่อัน : เริ่มจากการศึกษาหาหัวข้อที่เราสนใจเลือก site location ที่เหมาะสมกับงานและเป็นพื้นที่ที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน แล้วรวบรวมข้อมูลศึกษาวิถีชีวิต พฤติกรรมของคนในท้องถิ่นเพื่อให้เราออกแบบโครงการแต่ยังคงวิถีชีวิตของคนในชุมชนเอาไว้ รวมกับปัจจัยการใช้ชีวิตให้ผู้คนสามารถอยู่อาศัยได้เกิดเป็นฟังก์ชันการหมุนเวียนภายใน เกิดเป็น “MODULAR” ที่พักอาศัยและ common area ออกแบบการเชื่อมต่อระหว่าง modular วิธีการเชื่อต่อในรูปแบบต่างๆ โดยเลือกรูปแบบที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดและเริ่มการออกแบบโดยยึดเอาวิถีชีวิตรวมเข้ากับเอกลักษณ์ของจังหวัดอยุธยา สร้าง common area พื้นที่ส่วนร่วมที่จะเชื่อมปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน จัดเพลทเพื่อนำเสนอโดยดึงจุดเด่นของผลงานออกมาและนำเสนอให้ให้เข้าง่ายให้ได้มากที่สุดถึงจุดประสงค์ของโครงการ

ได้นำทักษะใดที่เรียนมาปรับใช้ในผลงาน

พี่บีม : ทักษะที่นำมาใช้ในผลงานนี้ คือ การจัดวาง Presentation การรวบรวมข้อมูลต่างๆ ของงาน และการใช้โปรแกรมต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ผลงานนี้ทุกทำออกมาได้เกินกว่าที่คาดไว้ และเสร็จสมบูรณ์

พี่อัน การรวบรวมข้อมูลยึดเอาหลักความเป็นจริงและคำนึงถึงสภาพและความเป็นอยู่จริงๆ การตีความหรือถอด concept ออกมาเพื่อนำไปเป็นแนวทางการออกแบบ ระยะการใช้งานในแต่ละฟังก์ชันให้เหมาะสม การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ออกแบบเป็นช่องลมช่องแสง การเลือกใช้สีให้มีความสัมพันธ์กับโครงการ

อาจารย์ช่วยผลักดันผลงาน

พี่บีม : ต้องขอบคุณอาจารย์ที่ปรึกษาใน Project นี้เป็นอย่างมาก (อาจารย์ นพปฎล เทือกสุบรรณ และอาจารย์ท่านอื่นๆ ในคณะ) ที่ให้คำแนะนำและแนวทางต่างๆ อย่างดี ทั้งหลักความคิด วิธีการนำเสนอ และกำลังใจ อาจารย์ทุกท่านพูดเสมอว่า งานเรา เราเข้าใจมันดีที่สุด ทำให้เต็มที่ เหมือนเล่านิทานเรื่องหนึ่งที่เราเป็นคนแต่งขึ้นมาให้คนอื่นๆ ได้ฟัง ไม่ต้องกังวลสนุกไปกับงาน เราสู้ได้แน่นอน

พี่อัน : อาจารย์คอยแนะนำว่าควรปรับปรุงเพิ่มเติมตรงส่วนไหนบ้าง คอยช่วยเรื่องการนำเสนอในส่วนที่เรายังไม่เก่ง ของว่างอาหารต่างๆ พื้นที่ในการทำงานและแก้ไขงาน

#Dek สถาปัตย์ ควรมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง ?

พี่บีม : สำคัญที่สุดคือเราต้องมีใจรัก ถ้าเรามีใจรักจริงๆ เราจะสนุกกับมันมากๆ เป็นคณะที่เราได้ออกแบบความคิดของเราให้เกิดเป็นรูปร่างให้คนอื่นเห็นและออกแบบความฝันของเราให้เป็นจริง และต้องจัดการเวลาตัวเองให้เก่ง เพราะถ้าเรา Balance ชีวิตเราไม่ดี เราอาจจะพลาดหรือช้ากว่าเพื่อนได้เลย สุดท้าย ถ้าตอนนี้ว่างก็เก็บเวลานอนเยอะๆ (ศัพท์เด็กสถาปัตย์) เพราะ Projact จะเข้ามาเมื่อไรและใหญ่แค่ไหน เราไม่มีทางรู้

พี่อัน : อดนอนได้ จัดการตารางการใช้ชีวิตให้ดี บริหารเงินเป็น รู้จักตัวเองให้มาก พร้อมเรียนรู้

ฝากถึงน้องๆ ที่สนใจเรียน
สาขาการออกแบบภายใน
คณะการออกแบบและสถาปัตยกรรมศาสตร์ SPU

พี่บีม : ฝากถึงน้องๆ ที่นี่คณะอาจารย์ทุกท่านใส่ใจนักศึกษาทุกคน ช่วยผลักดันส่งเสริมในด้านต่างๆ กิจกรรม Workshop หลากหลาย มีวิทยากรมาให้ความรู้เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมทุกเดือน ในทุกๆ เทอมมีจัดทัศนศึกษาสัมผัสสถาปัตยกรรมจริงๆ นอกสถานที่ และมีเวทีประกวดให้เข้าร่วมมากมายได้โชว์ผลงานต่างๆ เยอะมาก

พี่อัน : น้องๆ ที่จะเข้าเรียนจะได้พบกับประสบการณ์จริง วิทยากรที่เป็นตัวจริงในวงการ ได้พบกับบริษัทชั้นนำในด้านการออกแบบได้จับอุปกรณ์จริงลองทำจริง มีเวทีการประกวดให้ได้โชว์ฝีมือ มีอาจารย์ค่อยให้คำปรึกษาและคำแนะนำ มาเป็นครอบครัวเด็กสถาปัตย์ฯ SPU ด้วยกันนะคะ

#SPU #showcase #DEKSPU #คณะการออกแบบและสถาปัตยกรรมศาสตร์ #มหาวิทยาลัยศรีปทุม #เรียนกับตัวจริงประสบการณ์จริง #สมัครเรียนปริญญาตรี #สาขาการออกแบบภายใน

Share:

Facebook
Twitter
Pinterest
LinkedIn

Social Media

Most Popular

Categories

On Key

Related Posts

‘กระถางย่อยสลายได้’ ฝีมือเด็กโลจิสติกส์ SPU นวัตกรรมสีเขียวเพื่อเกษตรยั่งยืน ตอบโจทย์สิ่งแวดล้อม-ตลาดอนาคต

กระถางย่อยสลายจากพีทมอส-ใยมะพร้าว​ ผลงานนักศึกษาวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชนมหาวิทยาลัยศรีปทุม เมื่อปัญหาโลกร้อนและขยะพลาสติกกลายเป็นวาระเร่งด่วนของโลก นักศึกษาจากวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม