
> อาจารย์ป้าย <
สเตเฟนนี่ ไพลิน ทีล
อาจารย์พิเศษสาขาการออกแบบกราฟิก
คณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Facebook : Stephanie P Thie
IG : zigaro

เรียนปี 1 กับพื้นฐานสำคัญ สาขาการจัดการความปลอดภัย
“อาจารย์ป้าย สุดคูล! ตัวจริงแห่งวงการกราฟิกดีไซน์
ปั้นนักออกแบบรุ่นใหม่ ไม่ตกเทนด์ยุคดิจิทัล”


ก่อนจะมาเป็นอาจารย์ เป็นตัวจริงด้านไหนมาก่อน
เส้นทางของอาจารย์เริ่มต้นจากเรียนด้านกราฟิกตั้งแต่ปริญญาตรี โท และเอก แต่ระหว่างเรียนได้ทำงานในวงการนางแบบตั้งแต่อายุ 17 ปี ซึ่งเปิดโอกาสให้ได้เห็นการทำงานในวงการนิตยสาร โฆษณา การถ่ายภาพ วางเลย์เอาต์ การคัดเลือกนักแสดง การออกแบบเสื้อผ้าแฟชั่น ตั้งแต่นักศึกษาไปจนถึงแฟชั่นดีไซเนอร์ชั้นนำของประเทศ ทำให้เปิดโลกทางการทำงานตั้งแต่วัยรุ่น
แต่ยังคงทำงานในวงการพร้อมกับการเรียนจนกระทั่งช่วงเรียนปริญญาโทได้เปิดบริษัทออกแบบของตัวเอง รับงานกับหน่วยงานรัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ เพื่อเปิดเส้นทางอาชีพควบคู่ไปกับการรับงานในวงการนางแบบเพื่อให้นำไปสู่คอนเนคชั่นดีๆ ต่อไปได้ ในขณะเดียวกันก็ได้รับโอกาสจากอาจารย์ที่ปรึกษาให้ลองสอนในสาขาการออกแบบกราฟิก คณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการทำงานในสายการสอนที่ยังคงดำเนินมาจนถึงปัจจุบันค่ะ
เสน่ห์ของสาขาการออกแบบกราฟิก
หลักสูตรของสาขาการออกแบบกราฟิก คณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม มีความยืดหยุ่นและพัฒนาเนื้อหาอย่างต่อเนื่องทุกปี เรานำกิจกรรมใหม่ๆ มาให้นักศึกษาได้ทดลองฝึกฝน พร้อมสร้างอิสระในการเรียนรู้และค้นหาตัวเองได้ทุกวัน
นอกจากนี้ เรายังสนับสนุนให้นักศึกษาได้ลองนำเสนองานออกแบบของตัวเองในรูปแบบใหม่ๆ เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ทดลอง ได้ฝึกฝน ทำให้นักศึกษามีอิสระ ได้ค้นหาตนเองในทุกๆ วัน ที่นี่จึงเหมือนสนามทดลองที่ไม่มีที่สิ้นสุด

AI ส่งผลต่อวงการออกแบบกราฟิกอย่างไร ?
อาจารย์มองว่า AI นำมาซึ่งข้อดีมากมาย ทั้งช่วยประหยัดเวลาและทำให้จินตนาการของนักศึกษาให้กลายเป็นรูปธรรมได้ง่ายขึ้น เราสอนให้นักศึกษาใช้ AI เป็นเครื่องมือในการออกแบบ เพื่อเสริมสร้างความพร้อมในอาชีพ แต่ในขณะเดียวกัน AI ก็เป็นเหมือนดาบสองคม
หากนักศึกษาใช้ AI เพียงอย่างเดียวโดยไม่พัฒนาเครื่องมือและทักษะอื่นๆ อาจทำให้ความคิดสร้างสรรค์ถูกจำกัดได้เช่นเดียวกัน เมื่อนักศึกษาเลือกใช้เป็นเครื่องมือในการประหยัดเวลาอาจทำให้นักศึกษาเลือกเครื่องมือ AI เป็นเครื่องมือเดียวในการสร้างสรรค์งาน โดยไม่พึ่งพาเครื่องมืออื่นๆ ในการจบงาน ดังนั้น อาจารย์จึงมีบทบาทในการสร้างความสมดุล สอนนักศึกษาให้เข้าใจและใช้งาน AI อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
ทักษะที่เด็กออกแบบกราฟิกควรมีในยุคดิจิทัล?
สิ่งแรกที่สำคัญอย่างมากคือ ความช่างสังเกต ต้องมองทุกสิ่งรอบตัวตั้งแต่ตื่นจนเข้านอน เช่น ฟ้อนต์ สี ป้าย หรือสัญลักษณ์ต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรามีเหตุผลและที่มาของมัน สิ่งที่สองคือ การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพราะความรู้วันนี้จะเก่าลงในวันพรุ่งนี้ ต้องไม่หยุดที่จะเรียนรู้
แม้แต่ในฐานะอาจารย์ ก็ต้องเรียนรู้ไปพร้อมกับนักศึกษาที่เป็นเด็กรุ่นใหม่ เพราะความรู้ใหม่ๆ เกิดขึ้นทุกวัน ดังนั้น การปรับตัวที่จะเรียนรู้จึงสำคัญที่สุด
แนวทางการเตรียมการสอน สำหรับ Dek GenZ ?
อาจารย์ให้ความสำคัญกับการฟัง Feedback ของนักศึกษาก่อนเตรียมการสอนทุกครั้ง และดึงเอาประสบการณ์ที่เคยเป็นนักศึกษามาก่อนมาปรับใช้ ในฐานะของอาจารย์ต้องเปิดประตูแห่งความเป็นไปได้ให้มากที่สุดเท่าที่เรารู้มาให้กับนักศึกษา การเตรียมการสอนจึงเหมือนการนั่งคุยกับตัวเองว่าถ้าตอนนั้นเราได้เรียนเราอยากรู้อะไรก่อน และ Step up ขึ้นไปทีละขั้น และต้องไม่นำความสวยงามของตัวเองมาเป็นเกณฑ์จำกัดความสามามารถของนักศึกษา เพราะความสวยงามทางการออกแบบถือเป็นอิสระและปัจเจก
เทรนด์อาชีพใหม่ๆ ของคนจบสาขาออกแบบกราฟิก
นักออกแบบกราฟิกสามารถทำงานได้หลากหลาย ตั้งแต่เริ่มธุรกิจของตนเองไปจนถึงพนักงานบริษัท สาขาการออกแบบกราฟิกเป็นสาขาที่ต้องผนวกความรู้ด้านการทำงานกราฟิก เข้ากับความรู้ทั่วไปตามแต่ละคนจะสนใจ สามารถพูดได้ว่าการเรียนกราฟิกไม่เพียงมีแค่ศาสตร์เดียวที่นักศึกษาต้องเรียน แต่นักศึกษายังต้องทำควบคู่ไปกับสิ่งที่เป็นความหลงไหลในวัยเด็ก หรือสิ่งที่ชื่นชอบ อาชีพที่สนใจและใช้กราฟิกไปด้วยกันได้ เช่นชอบเรื่องราวด้านการแพทย์สามารถสร้างคู่มือหรือหนังสือหรือMotion เพื่อสื่อสารความรู้ หรืออาจชอบเรื่องลี้ลับ สามารถทำหนังสือภาพประกอบแนวทางที่แปลกใหม่ เป็นต้น
ซึ่งทำให้เส้นทางอาชีพค่อนข้างหลากหลาย ยิ่งในยุคดิจิทัล ที่ต้องการอธิบายความรู้ในเชิงรูปภาพการออกแบบต่างๆ แบรนด์ต่างๆ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายหลายกลุ่มมากขึ้น การสื่อสารเรื่องราวทั่วไปให้คนเฉพาะแต่ละกลุ่มก็มีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ความท้าทายในโลกของกราฟิกยังมีหลายเรื่องราวอีกมากที่ยังรอการค้นพบ การใช้ความสวยงามอธิบายเรื่องซับซ้อนถือว่าจำเป็นในยุคที่ทุกอย่างรวดเร็วไปหมด อาชีพที่จะเกิดขึ้นจากสายวิชากราฟิก ยังสามารถแตกแขนงไปได้อีกไม่รู้จบแน่นอน
ฝากถึง DEK68 ที่สนใจสาขาการออกแบบกราฟิก คณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม ต้องเตรียมตัวอย่างไร?
ขอให้โฟกัสที่เป้าหมายของตัวเอง เราสามารถสร้างเป้าหมายในเส้นทางชีวิตได้ทุกที่ โอกาสในการเติบโตมีเท่ากันแต่เราต้องเป็นเวอร์ชันที่ดีที่สุดของตัวเอง ขอแค่ความต้องการของเราชัดเจน อย่ากลัวการเริ่มต้น แม้จะมาคนเดียว เพราะระหว่างเรียน คุณจะได้พบเพื่อนที่ชอบในสิ่งเดียวกัน ยิ่งเจอคนเก่งกว่ายิ่งเป็นแรงผลักดันให้เราทำมากขึ้นและเก่งขึ้น
สาขาการออกแบบกราฟิก คณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม มีห้องปฏิบัติการและเครื่องมือที่ทันสมัย ได้เรียนกับตัวจริงในวงการ เปิดเวทีให้นักศึกษาได้แสดงความสามารถ พร้อมให้ทุกคนได้เรียนรู้ในทุกด้านของการออกแบบในโลกยุคดิจิทัล
#SPU #showcase #DEKSPU #คณะดิจิทัลมีเดีย #มหาวิทยาลัยศรีปทุม #Sripatum University #เรียนกับตัวจริงประสบการณ์จริง #ออกแบบกราฟิก #GraphicDesign #สมัครเรียนปริญญาตรี