สุดยอดการรวมตัวครั้งยิ่งใหญ่ของเหล่าผู้เชี่ยวชาญด้านการบินระดับประเทศ เกิดขึ้นแล้วที่นี่
วิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เนื่องในโอกาสครบรอบ 53 ปี มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาลัยการบินและคมนาคม ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแสดงความยินดีและเฉลิมฉลองอย่างภาคภูมิใจ โดยการจัดเสวนา “The Future of Aviation Industry” ทิศทางอุตสาหกรรมการบินของไทยในอนาคต ณ ห้องออดิทอเรียม 1 อาคาร 11 ชั้น 14 มหาวิทยาลัยศรีปทุม (บางเขน) เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา

การเสวนาในครั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมการบิน ที่นับเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของทุกประเทศ รวมทั้งประเทศไทยซึ่งมีมูลค่านับ*แสนล้านต่อปี และมีความเชื่อมโยงกับกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่มีมูลค่าสูง และคาดว่าปี 2566 จะมีมูลค่าสูงถึง 2 ล้านล้านบาท ซึ่งนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยก็จะเดินทางโดยเครื่องบิน
วิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดการเสวนา “The Future of Aviation Industry” ทิศทางอุตสาหกรรมการบินของไทยในอนาคต โดย ดร.รัชนีพร พุคยาภรณ์ พุกกะมาน อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีปทุมเป็นประธานในพิธี และดำเนินรายการโดย พล.อ.อ.พิธพร กลิ่นเฟื่อง คณบดีวิทยาลัยการบินและคมนาคม และ คุณวรพจน์ ยศะทัตต์ Adviser Aviation Consultancy Group และ Chairman Indra Sistemas S.A. (Thailand)

การเสวนาครั้งนี้เป็นการรวมตัวครั้งยิ่งใหญ่ของผู้เชี่ยวชาญระดับต้นๆด้านอุตสาหกรรมการบินของประเทศ ไทย ซึ่งทั้ง 4 ท่าน ได้ใ ห้ข้อมูลของการเสวนาในประเด็นสําคัญๆ ดังนี้
1. คุณเกรียงไกร เธียรนุกุล ตําแหน่ง ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ได้กล่าวให้เห็นถึงความสําคัญด้าน Eco-system ของอุตสาหกรรมการบิน ทิศทางของอุตสาหกรรมที่ต้องปรับตัวเข้าสู่ Net- Zero Aviation โดยมี Sustainable Aviation Fuel (SAF) เป็นเครื่องมือหลักในการขับเคลื่อน นอกจากนี้ท่านยังได้กล่าวถึงความสําคัญของระบบอากาศยานไร้คนขับ หรือ โดรน ที่ในอนาคตจะเติมโตอย่างเห็นได้ชัด เช่น Air taxi นอกจากนี้จะมีการสนับสนุน Start up ทางการบินในด้านการทํา packaging เพิ่มกลุ่ม Aviation ผ่านสภาอุตสาหกรรม สนับสนุนด้าน chemical เช่น สีทาเครื่องบิน เพราะประเทศไทยเรามีความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศได้ไม่ว่า จะเป็นสิงคโปร์ หรืออินโดนีเซีย เป็นต้น
2. ดร.จุฬา สุขมานพ ตําแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ท่านได้กล่าวถึงความสําคัญด้านการพัฒนาภายใต้ EEC ใน 3 ด้านหลักๆ คือ Dedicated Development Mechanism, Favorable Ecosystem และSupporting Infrastructure นอกจากนั้นท่านยังกล่าวถึงความสําคัญของ Eco-system ในการให้คนต่างชาติมาทำงานที่เมืองไทย เพื่อช่วยพัฒนาประเทศ ตลอดจนการให้ความสําคัญ ด้าน Sustainable Aviation Fuel (SAF) เป็นการให้ความสําคัญในเรื่องของน้ํามัน ซึ่งถือเป็นต้นทุนสําคัญของภาคอุตสาหกรรมการบิน
3. คุณชาย เอี่ยมศิริ ตําแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทการบินไทย จํากัด (มหาชน)
ได้ให้ความสําคัญเรื่องบุคลากร โดยเฉพาะการใช้ภาษา เนื่องจากอุตสาหกรรมการบินจะมีด้านTechnical ไม่พอ ต้องให้ความสําคัญของภาษาด้วย ซึ่งการใช้ทรัพยากรทางด้านบุคคลยังถูกดึงศักยภาพออกมาใช้น้อยอยู่ รวมถึงเครื่องบินด้วยที่มี ชั่วโมงบินต่อวันน้อยกว่าค่าเฉลี่ยมาตรฐาน ซึ่งในอนาคตมีการคาดการณ์ ว่า ในปี 2568 จะมีบุคลากรของการบินไทย ประมาณ 20,000 คน ซึ่งมากขึ้นกวาเดิม ประมาณ 2,000 คน เพื่อให้มีบุคลากรมารองรับการเติมโตของอุตสาหกรรมการบิน อีกทั้งยังกล่าวถึงด้าน Market Share ของสายการบินอื่นที่เข้ามาบินในประเทศไทยเยอะขึ้น และคาดการณ์ว่าจะมี การเติบโตขึ้นอีกในปี 2567 ต่อไป
4. คุณหลุยส์ มอเซอร์ ตําแหน่ง ที่ปรึกษา (NAA) Narita International Airport Corporation Company ในโครงการพัฒนาสนามบิน อู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก
ได้กล่าวว่า สนามบินอู่ตะเภา จะเป็น aviation & tourism hubs ที่เป็นแหล่งรองรับนักท่องเที่ยวและแหล่งกระจายสินค้า แบบ Multimodal transport ไม่ว่าจะเป็น ทางเรือ ทางอากาศและทางราง โดยจะมีการเชื่อมรถไฟความเร็วสูงเข้าไปด้วย ทั้งนี้ยังให้ความสําคัญกับกลุ่มเอกชนในการที่จะเข้าร่วมสนับสนุนยุทธศาสตร์ของEEC อีกเป้าหมายหนึ่งของสนามบินอู่ตะเภา คือ การเป็น commercial gateway ของภาคตะวันออก และมี custom free zone เพื่อส่งเสริมภาคเศรษฐกิจที่กําลังจะเติบโตของประเทศไทย
สามารถรับชมย้อนหลังได้ที่
YouTube: https://www.youtube.com/live/t3jon-mpo1E?feature=share
Facebook: https://fb.watch/miPnA7lCUn/