“นิเทศ” ที่น้องๆ หลายคนเคยได้ยิน รู้ไหมว่าความจริงแล้วเป็นศาสตร์แห่งการสื่อสาร ไม่ว่าจะสื่อสารด้วยภาพ เสียง ตัวหนังสือ ในช่องทางต่างๆ
คำศัพท์ที่เกี่ยวกับนิเทศก็มีเยอะ เพราะมีสาขาแยกย่อยหลายสาขา และแต่ละที่ก็สาขาแตกต่างกันออกไป แต่วันนี้พี่จะมากระซิบบอกคำศัพท์นิดๆ หน่อยๆ ให้น้องๆ ได้รู้ พูดได้ว่ารวมศัพท์ทุกศาสตร์ของนิเทศเลยละ Action!
Mass Communication = การสื่อสารมวลชน
Communication Arts = นิเทศศาสตร์ (ศาสตร์แห่งการสื่อสาร)
Communication = การสื่อสาร
Mass Media = สื่อมวลชน (พวก หนังสือพิมพ์, โทรทัศน์, วิทยุ)
Broadcasting = การกระจายเสียง, การออกอากาศ
Journalism = วารสารศาสตร์
Public Relations = การประชาสัมพันธ์
Advertising = การโฆษณา
Integrated Marketing Communications (IMC) = แผนการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ
News Reporting = การรายงานข่าว
Sender = ผู้ส่งสาร
Massage = สาร
Receiver = ผู้รับสาร
Channel = ช่องทางการสื่อสาร
Corporate Social Responsibility (CSR) = ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร (เกี่ยวข้องกับการ Public Relations)
New Media = สื่อใหม่
Vox pop = การสัมภาษณ์ถามความเห็น
Press kit = ข่าวแจกเพื่อการประชาสัมพันธ์
Editor = บรรณาธิการ
Magazine = นิตยสาร
Action – คำสั่งของผู้กำกับการแสดง ให้นักแสดงเริ่มแสดงตามคิว หลังจากที่สั่งใกล้ช่างภาพเดินกล้องแล้ว*
Angle – มุมกล้อง หมายถึงทิศทางหรือมุมกล้องที่กล้องทำมุมสัมพันธ์กับวัตถุที่ถ่าย
Dutch Angle – มุมเอียง การตั้งกล้องมุมนี้เป็นการแสดงภาพแทนความรู้สึกของตัวละครตัวใดตัวหนึ่ง หรือการสร้างบรรยากาศให้มีความรู้สึก เวิ้งว้าง วังเวง พิกล ผิดอาเพศ
Eye level Angle – มุมระดับสายตา กล้องจะตั้งอยู่ในระดับสายตาของมนุษย์ ภาพที่ถูกบันทึกจะให้ความรู้สึกเป็นกันเอง เรียบง่าย กับคนดู และเหมือนกับการดึงคนดูเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ มุมภาพในระดับนี้จะทำให้เราได้เห็นรายละเอียดเพียงด้านเดียวเนื่องจากล้องจะตั้งในระดับเดียวกันกับวัตถุที่ถ่าย
High Angle – มุมสูง หรือ มุมก้ม กล้งจะตั้งอยู่สูงกว่าวัตถุ เวลาถ่ายต้องกดหน้ากล้องลงมาเล็กน้อยเพื่อที่จะถ่ายวัตถุที่อยู่ต่ำกว่า ภาพในมุมนี้จะทำให้คนดูเห็นว่าวัตถุที่ถ่ายนั้นต่ำต้อย ด้อยค่า ไร้ความหมาย ตกต่ำ สิ้นหวัง แพ้พ่าย
และถ้าหากเป็นภาพยนตร์ที่ใช้มุมล้องเล่นกับคนดูด้วยแล้ว จะทำให้คนดูรู้สึกว่าตัวเองมีอำนาจ สูงส่ง เป็นผู้ควบคุมสิ่งที่ปรากฎอยู่ในภาพ ซึ่งทั้งหมดนี้ก็จะตรงกันข้ามกับ Low Angle
Low Angle – มุมต่ำ หรือ มุมเงย กล้องจะตั้งอยู่ต่ำกว่าวัตถุแล้วเงยหน้ากล้องขึ้นมาเพื่อถ่ายวัตถุที่อยู่สูงกว่า ทั้งนี้บางครั้งนิยมถ่ายภาพเพื่อเน้นส่วนสำคัญหรือสร้างจุดสนใจให้กับวัตถุที่ถ่าย เมื่อคนดูเห็นภาพในมุมนี้จะทำให้รู้สึกว่าวัตถุที่ถ่ายนั้นสูงส่ง มีค่า ยิ่งใหญ่ อลังการ โอ่อ่า น่าเกรงขาม ในขนะเดียวกันก็จะทำให้คนดูรูสึกว่าตัวเองนั้นต่ำต้อยกว่าวัตถุนั้นๆ นิยมถ่ายโบราณสถาน สถาปัตยกรรมขนาดใหญ่ เพื่อทำให้รู้สึกว่าสถานที่แห่งนั้นยิ่งใหญ่สูงค่า น่าเกรงขาม
Subjective – มุมแทนสายตาตัวละครตัวใดตัวหนึ่ง ซึ่งมุมจะเปลี่ยนไปตามอิริยาบทของตัวละครที่กล้องแทนสายตาอยู่ ไม่ว่าจะเดิน นั่งนอน
Boom – อุปกรณ์ที่ไว้สำหรับแขวนไมค์โครโฟน มีลักษณะเป็นแท่งยาวๆสามารถเคลื่อนย้ายได้ ที่ด้านปลายจะมีไมค์โครโฟนติดอยู่ไว้สำหรับบันทึกเสียงระหว่างการถ่ายทำ
Crane – ปั้นจั่นขนาดใหญ่ที่มีได้สำหรับติดตั้งกล้องภาพยนตร์ เพื่อนไว้ถ่ายภาพมุมสูง
Dolly – พาหนะที่มีล้อเลื่อนได้ สำหรับตั้งกล้องเพื่อถ่ายภาพในช็อตประเภท dolly shot, track หรือ truck
Slate – บอร์ดแสดงข้อมูลการถ่ายทำในแต่ละช็อต ซึ่งจะมีข้อมูลของช็อตนั้นที่กำลังจะถ่ายเช่น ชื่อภาพยนตร์ ฉาก ช็อต เทคที่เท่าไรชื่อผู้กำกับ ช่างภาพ ถ่ายกลางวันหรือกลางคืน ภายนอกหรือภายใน ฟิล์มม้วนที่เท่าไร วันที่ถ่าย เป็นต้น ซึ่งก่อนการถ่ายผู้กำกับต้องสั่งให้ทีมงานนำ Slate เข้ามาโชว์ที่หน้ากล้องเพื่อบันทึกว่าสิ่งที่กำลังจะถ่ายต่อไปนี้คืออะไร เพื่อเป็นประโยชน์ตอนตัดต่อ
Pan – คือการหันกล้องระหว่างที่มีการถ่ายทำจากซ้ายไปขวา หรือจากขวาไปซ้าย หากเราต้องการเน้นสิ่งใดให้แพนมาหยุดที่สิ่งนั้นเป็นส่งสุดท้าย
เช่น “แพนจากภาพเด็กที่กำลังยืนมองตั้งหนังสือการตูนเรื่องโปรดที่สะสมมาตั้งแต่เด็ก ที่มีมากมายมหาศาล แพนไปหาชั้นวางหนังสือที่มีที่ว่างพอสำหรับหนังสือไม่กี่สิบเล่ม” เป็นต้น เท่านี้คนดูก็อาจเข้าใจได้ว่าเด็กคนนี้กำลังประสบปัญหาไม่มีที่เก็บหนังสือการ์ตูนของตัวเองแม้จะไม่มีบทพูดใดๆให้คนดูได้ทราบาก่อนเลยก็ตาม ในช็อตนี้ภาพยนตร์กำลังสื่อว่าต้องการเน้นที่ชั้นวางหนังสือ เพราะแพนมาสิ้นสุดที่ชั้นว่าง
Tilt – คือการกดกล้องลงหรือเงยขึ้นระหว่างที่ถ่ายทำ (ลักษณะจะคล้าย pan แต่เปลี่ยนจาก ซ้าย-ขวา เป็น บน-ล่าง) การสื่อความหมายจะคล้ายกับ pan
คือต้องการเน้นสิ่งใดก็ให้ Tilt ไปหยุดที่สิ่งนั้นเป็นสิ่งสุดท้าย เช่น “กล้องแทนสายตาของฝ่ายชายที่กำลังตะลึงกับครั้งแรกที่เจอสาวสวย จนถึงขนาดต้องกวาดสายตาตั้งแต่ปลายเท้าของฝ่ายหญิง เรื่อยขึ้นมาจนถึงใบหน้า (กล้องจะ tilt up) จนลืมไปว่าเป็นการเสียมารยาท” เป็นต้น ในลักษณะนี้จะเป็นการเน้นที่หน้าของฝ่ายหญิงมากกว่าเรือนร่าง
Cue – (อ่านว่า “คิว”) เป็นสัญญาณบอกนักแสดงให้เริ่มแสดง ส่วนใหญ่จะเป็น cue ที่ 2 เป็นต้นไป เพราะcue แรกเป็นการสั่ง action ของผู้กำกับอยู่แล้ว
เช่น “เมื่อผู้กำกับสั่ง action นักศึกษาในห้องก็เริ่มเล่นกันคุยกันระหว่างรออาจารย์มาสอน จากนั้นผู้กำกับก็จะให้ cue กับนักแสดงที่รับบทเป็นอาจารย์เดินเข้ามา” เป็นต้น ซึ่งสัญญาณนี้จะเป็นอะไรก็ได้ตามแต่จะตกลงกัน
Shot – เป็นการบันทึกภาพในแต่ละครั้ง กล่าวคือ เริ่มกดปุ่มบันทึกภาพหนึ่งครั้งและกดปุ่มหยุดบันทึกอีกหนึ่งครั้ง นับเป็น 1 shot
Cut – เป็นการสั่งของผู้กำกับเพื่อให้หยุดการบันทึกของช็อตนั้น ซึ่งทีมงานในกองถ่ายอีกคนหนึ่งที่สามารถสั่งได้ นั้นก็คือคนที่ทำหน้าที่ Continuity
Cut-Away – ช็อตเหตุการณ์ใกล้เคียงกับเหตุการณ์ที่กำลังดำเนินเรื่องหลักอยู่ เช่น “เจ้านายกำลังขับรถเลี้ยวเข้าบ้าน ตัดภาพเป็น cut-away ที่ภาพคนรับใช้ที่กำลังออกมารอต้อนรับ” เป็นต้น
Cut-In – ภาพระยะใกล้ (insert) ของเหตุการ์ที่กำลังดำเนินอยู่ เช่น “ภาพระดับสายตาคนกำลังพายเรืออยู่ในคลองแถวบ้าน และตัดเป็นภาพ cut-in ไปที่
ไม้พายที่กำลังแหวกน้ำ” เป็นต้น
Continuity – ตำแหน่งผู้ควบคุมความต่อเนื่อง ส่วนใหญ่จะนิยมให้ผู้หญิงทำหน้าที่นี้ เนื่องจากต้องใช้ความรอบคอบและความช่างสังเกตสูง หน้าที่คือ
ควบคุมความต่อเนื่องระหว่างช็อตแต่ละช็อต เป็นต้นว่า ช็อตแรกถ่ายคนกำลังเปิดประตูจากด้านนอกด้วยมือขวา เมื่อคัทช็อตมาถ่ายด้านใน ตอนเปิดประตูเข้ามาแล้วก็ต้องเป็นมือขวาที่กำลังกำลูกบิดประตูอยู่
Script – บทภาพยนตร์ที่ใช้สำหรับถ่ายทำภาพยนตร์ อาจจะเขียนขึ้นมาใหม่หรือดัดแปลงมาจากวรรณกรรม นวนิยาย เรื่องสั้น ก็ได้ การเขียนบทภาพยนตร์มีขั้นตอนดังนี้
Theme -แก่นของเรื่อง
Synopsis – แนวความคิดหลัก และโครงสร้างของภาพยนตร์แบบกระชับ
Plot – การวางโครงเรื่องหลักๆ
Treatment – เป็นการขยายเรื่อง (Plot) ตั้งแต่ต้นจนจบออกมาในลักษณะความเรียง
Screenplay – บทภาพยนตร์สำหรับนักแสดงเอาไว้อ่าน ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวสถานที่ วัน เวลา เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแต่ละฉาก พร้อมบทสนทนา
Storyboard – ภาพประกอบเหตุการณ์ในแต่ละช็อต เพื่อให้การถ่ายทำได้เห็นภาพเป็นรูปธรรมมากที่สุด ทั้งนี้เพื่อให้ทีมงานทุกฝ่ายเข้าใจตรงกัน
Shooting Script – เป็นบทถ่ายภาพยนตร์สำหรับทีมงาน ซึ่งจะมีข้อมูลทางเทคนิค การวางตำแหน่งกล้อง การเคลื่อนกล้อง ขนาดภาพ มุมภาพ
เป็นศัพท์และคำย่อเฉพาะทางด้านภาพยนตร์ทั้งสิ้น จึงเหมาะสำหรับทีมงานของกองถ่ายนั้นๆ หรือผู้ที่ศึกษามาทางภาพยนตร์โดยเฉพาะ
Break Down Script – การแตกบทภาพยนตร์ออกเป็นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกในการถ่ายทำ เพราะไม่จำเป็นต้องถ่ายเรียงทีละฉากตามที่ระบุไว้ใน Script และนำมาตัดต่อภายหลัง หรือเรียกอีกอย่างว่า การเจาะถ่าย
ไหนใครเริ่มสนใจเสน่ห์ของศาสตร์แห่งการสื่อสารอย่างนิเทศแล้วบ้าง ถ้าชอบหรือสนใจอยากเข้ามาเรียน อยากแนะนำ คณะนิเทศศาสตร์ SPU เลย เพราะมีตั้ง 4 สาขา ในวิทยาเขตบางเขน มีทั้งสื่อสารการแสดง, ภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล, การออกแบบสื่อสารออนไลน์, ดิจิทัลทีวีและสื่อออนไลน์ มีสาขาหลากหลายตามสไตล์ความชอบของน้องๆ ทุกคนเลย สมัครออนไลน์ คลิก หรือเข้ามาสอบถามและสมัครเรียนได้ที่ฝ่ายรับสมัคร อาคาร 11 ชั้น 2 ได้เลยค่ะ