Facultyวิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ

ส่องสายงานบนเรือหรู! กับสาขาการจัดการบริการธุรกิจเรือสำราญ SPU

วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ SPU

 

ไหนใครชอบท่องเที่ยว แถมยังมีรายได้กันบ้าง?

ขอแนะนำสาขาที่จะตอบโจทย์ความฝันของน้องๆ ได้อย่างชัดเจน

อย่างสาขาการจัดการบริการธุรกิจเรือสำราญ SPU สกิลต่างๆ ที่น้องจะได้ บอกได้เลยว่าอาจารย์จัดเต็มแบบเต็มแม็กอย่างแน่นอน!

 

เรามาดูกันดีกว่าว่าความรู้ของชาวเรือสำราญทั้ง 3 ด้านพื้นฐานที่ต้องรู้ มีอะไรบ้าง..

 

Front Office คือหน้าที่อะไร?

Front office (แผนกต้อนรับส่วนหน้า) 
หน้าที่บริการ ของแผนกต้อนรับส่วนหน้าดูแลลูกค้าตั้งแต่เดินเข้ามาลงทะเบียนเข้าพัก  บริการส่งขึ้นห้องพัก ดูแลลูกค้าในระหว่างกำลังพักอยู่ จนถึงตอนลูกค้า ออกจากที่พัก   เป็นงานบริการค่อนข้างมีความละเอียดมีความรวดเร็วและจำเป็นต้องถูกต้อง จะพยายามไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการปฏิบัติงานหรือแทบจะไม่เกิดความผิดพลาดขึ้นเลย เน้นให้บริการในการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการมากที่สุด

วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ SPU

 

Front office มีตำแหน่งอะไรบ้าง?

  • เจ้าหน้าที่สำรองห้องพัก(Reservations)
  • แผนกต้อนรับ(Reception)
  • ผู้จัดการแผนกส่วนหน้างานส่วนหน้า(Front Office Manager)
  • พนักงานสัมภาระ(Porter or Bell Boy)
  • พนักงานรับโทรศัพท์( Telephone Operator)
  • พนักงานแคชเชียร์(Cashier) 

หน้าที่ Front office มีอะไรบ้าง?


1.เจ้าหน้าที่สำรองห้องพัก (Reservations) มีหน้าที่ดูแลเรื่องการจองห้องพักของลูกค้า โดยจะต้องยืนยันการจองทางจดหมายหรือแฟกซ์

2.พนักงานต้อนรับ (Reception) มีหน้าที่ ลงทะเบียนแขกเข้าพักและจ่ายกุญแจห้อง ให้ข้อมูลการเข้าพักกับแขกรวมถึงการเก็บรวบรวมค่า ต่างๆของแขก เช่น ซักรีด ,อาหาร ,มินิบาร์ เป็นต้น
 
3.พนักงานแคชเชียร์ (Cashier) รับผิดชอบในการออกใบเสร็จและเก็บเงินจากแขก รวมถึงการบริการที่ให้แขกและเปลี่ยนเงินตราด้วย
 
4.ผู้จัดการสำนักงานส่วนหน้า (Front Office Manager) มีหน้าที่ดูแลควบคุมดูแล ให้การดำเนินงานเป็นไปในทางที่ดี มีความรอบคอบ แก้ปัญหาต่างๆได้ดี

4.พนักงานสัมภาระ (Porter) หากแขกเข้าพักห้องก็ต้องช่วยแขกขนสัมภาระต่าง ๆ ไปที่ห้องพัก
 
5.พนักงานรับโทรศัพท์ (Telephone หรือ Telephone Operator) มีหน้าที่รับโทรศัพท์ที่เรียกเข้ามา แล้วโอนไปตามบุคคลและแผนกต่าง ๆ

7.พนักงานแคชเชียร์ (Cashier) รับผิดชอบในการออกใบเสร็จและเก็บเงินจากแขก รวมถึงการบริการที่ให้แขกและเปลี่ยนเงินตราด้วย

 

 

Housekeeping

เป็นพื้นฐานให้น้องๆ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับรายละเอียดงานแม่บ้านนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นการปูเตียง การจัดห้องในแบบต่างๆ การจัดโต๊ะ และรายละเอียดยิบย่อยอื่นๆ ที่หลายคนมองข้าม มีหน้าที่รับผิดชอบความสะอาดเรียบร้อยของที่พัก มีลักษณะเป็นงานหลังฉาก (Behind the scenes operation) ที่สำคัญไม่แพ้งานอื่นๆ เลยนะ

วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ SPU

 

ตำแหน่งงานในแผนกแม่บ้าน (House-Keeping หรือ Accommodation Service)  โดยทั่วไปจะมีดังนี้

1. หัวหน้าแผนกแม่บ้าน (Executive Housekeeper)

ในบางโรงแรมแผนกแม่บ้านทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับผู้จัดการใหญ่ (general Manager) แต่ในบางโรงแรมแผนกแม่บ้านก็ขึ้นอยู่กับผู้จัดการส่วนหน้า ( Font of House Manager) โดยงานหลักๆ ของหัวหน้าแผนกแม่บ้าน ได้แก่ การตรวจสอบงานส่วนต่างๆของแผนกว่าได้มาตรฐานที่วางไว้หรือไม่ ควบคุมงบประมาณค่าใช้จ่าย จัดตางเวลาการทำงานของพนักงาน และการฝึกอบรม อีกทั้งต้องรับผิดชอบเรื่องกุญแจต่างๆ ที่จะแจกจ่ายให้พนักงานโรงแรม และคอยดูและควบคุมห้องเก็บอุปกรณ์ทำความสะอาดเอง

2. หัวหน้าแม่บ้าน (Head Housekeeper)

หัวหน้าแม่บ้านจะคอยดูแลตรวจตราการทำงานองผู้ช่วยแม่บ้าน หรือแม่บ้านประจำฟลอร์ 3 คนขึ้นไป ในกรณีเป็นโรงแรมขนาดเล็ก หัวหน้าแม่บ้านก็จะดูแลรับผิดชอบงานแผนกแม่บ้านทั้งหมด

3. แม่บ้านประจำฟลอร์หรือผู้ช่วยแม่บ้าน (Floor Housekeeper หรือ Assistant Housekeeper)

แม่บ้านประจำฟลอร์จะเป็นผู้ตรวจตราการทำงานของพนักงานทำความสะอาด หรือพนักงานดูแลห้องพัก เฉพาะที่ทำงานอยู่ที่ฟลอร์ใดฟลอร์หนึ่งของโรงแรม

4. พนักงานดูแลห้องพัก (Room Attendant)

พนักงานดูแลห้องพัก มีหน้าที่ทำความสะอาดและให้บริการต่างๆที่เกี่ยวกับห้องพัก เช่น ห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องอาบน้ำ และห้องส้วม รวมถึงทางเดินหน้าห้องพักด้วย

5. พนักงานยกของ/ทำความสะอาด (Housekeeper)

มีหน้าที่ยกของหรือย้ายพวกเฟอร์นิเจอร์หนักๆ หรือนำขยะไปทิ้ง บางครั้งก็ทำความสะอาดบริเวณที่ใช้ร่วมกันในโรงแรมในเมืองไทยชื่อตำแหน่งนี้จะไม่ค่อยได้พบ ชื่อตำแหน่งที่นิยมใช้กันคือ Cleaner

6. หัวหน้าห้องผ้า (Line Room Supervisor)

หัวหน้าห้องผ้าจะรับผิดชอบผ้าทุกชนิดที่ใช้ในห้องรับแขก (เช่น ผ้าปูที่นอน ผ้าเช็ดตัว ผ้าห่ม เป็นต้น) ผ้าของห้องอาหารและแผนกจัดเลี้ยง (ได้แก่ ผ้าปูโต๊ะ ผ้าเช็ดปาก ผ้ารองถาด) และเครื่องแบบพนักงาน โดยการจ่ายผ้าที่ซักสะอาดแล้ว เก็บรวบรวมผ้าที่ใช้แล้ว ปะชุนผ้าที่ขาดและดูแลควบคุมการส่งผ้าไปซักที่แผนที่แผนกซักรีดและการรับคืนผ้าที่ซักแล้ว

 

 

ส่วนด้านสุดท้ายก็คือ Food & Beverage

เป็นแผนกที่บริการอาหารและเครื่องดื่ม หรือ Food and Beverage Service แผนกนี้เป็นบริการมีโอกาสติดต่อกับแขกโดยตรง การบริการหรือวิธีเสิร์ฟมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ารสชาติหรือคุณภาพของอาหาร และมีบางคนถึงกับคิดว่าค่าบริการนั้นสำคัญยิ่งกว่าตัวอาหารซะอีก 

พนักงานเสิร์ฟที่ดีจำเป็นต้องมีทักษะที่มีความชำนาญในงานที่ทำอยู่บ้าง เช่น การตักอาหารให้แขกโดยตักจากชามใหญ่และหนักโดยใช้ช้อนส้อม และการถือจาน 3-4 ใบที่มีอาหารอยู่ด้วยโดยไม่ให้อาหารหก เป็นต้น อีกทั้งพนักงานเสิร์ฟต้องมีทักษะในการติดต่อกับคน เพราะต้องพูดคุยกับแขกที่มาใช้บริการของห้องอาหาร

 

วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ SPU

 

 

เป็นยังไงกันบ้างคะ กับความรู้พื้นฐานทั้ง 3 ด้าน ของการทำงานบนเรือสำราญ มีใครสนใจบ้างหรือป่าว เข้ามาสอบถามกันได้ตลอดเลยน้าา

หรือคลิกสมัครเรียนได้ที่ www.spu.ac.th/apply/scholarship64 มาเรียนแบบสนุก จบไปรายได้ดีแถมได้เที่ยวอีก ดีจะตายเนอะ อย่ารอช้านะจ๊ะน้องๆ

 

 

(Visited 1,366 times, 1 visits today)

Related posts

ทำความรู้จัก 5 ประเภทงานด้าน Logistics

P'Menu SPU

สีในภาพยนตร์บอกอารมณ์ สไตล์ Dek ฟิล์ม @SPU

P'Menu SPU

DEK บัญชีพารวย เทคนิคการเก็บและเพิ่มเงินในกระเป๋า ง๊าย…ง่าย ทำได้ทันที

P'Lilly SPU