Uncategorized

Review สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

ใครสายโค้ดดิ้ง ออกแบบ หรือการใช้ชีวิตเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิวัติเทคโนโลยีบ้างน้า  วันนี้ ADMIN จะพามารู้จักกับคณะที่เรียกได้ว่าพร้อมเปลี่ยนแปลงโลกของเทคโนโลยีสุดๆ  น้องๆ พร้อมจะเดาออกมั้ยคะ/ครับ จากข้อความข้างต้นที่ Admin เปรยมานั้นAdmin ขอเฉลยเลยแล้วกันนั้นก็คือ คณะเทคโนโลยีสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์นั้นเอง

DEK สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะเทคโนโลยีเค้าเรียนอะไรกันบ้างนะไปดูกัน

น้องปี 1 เตรียมพร้อมสู่ทักษะในอนาคตตั้งแต่ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีระบบไอโอที แคลคูลัสสำหรับวิศวกร การออกแบบและพัฒนาต้นแบบไอโอที คณิตศาสตร์ไม่ต่อเนื่อง และเลือกเรียนข้ามศาสตร์ตามความถนัดได้ตั้งแต่ปี 1 แต่เอ๊ะจบปี 1 ทำอะไรได้บ้างน้าน้องๆ ปี 1 จะเข้าใจเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์ซอฟต์แวร์ และพัฒนาต้นแบบระบบไอโอทีที่ประกอบด้วย Hardware, การใช้ Platform และการ Application เบื้องต้นได้ ปี 1 ทำได้ขนาดนี้เก่งอยู่น้า

#ชั้นปีที่ 2

ขึ้นปี 2 ก็ต้องเพิ่มความยากนี่เลยน้องๆ จะได้เรียนทักษะระบบฐานข้อมูล  คิดโปรแกรมเชิงวิเคราะห์  เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่ออาชีพ เน้นการออกแบบวงจรดิจิทัลและโครงสร้างคอมพิวเตอร์  และสิ่งที่ขาดไม่ได้คือภาษานั้นเองในปีนี้น้องๆ จะต้องเรียนทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ และเมื่อจบปี 2 จะสามารถพัฒนาโปรแกรมสำหรับระบบสมองกลฝังตัวแบบการใช้งาน ในระบบอัตโนมัติ พัฒนาแอปพลิเคชันบนเว็บและ บนโมไบล์ได้  

#ชั้นปีที่ 3

ไปต่อกันที่ ปี 3 เจาะลึกลงไปด้วยการเรียนแบบเฉพาะด้านเครือข่ายสื่อสารคอมพิวเตอร์ การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ การออกแบบระบบเครือข่ายและการติดตั้ง การประมวลผลคลาวด์และเอดจ์ และเน้นภาษาอังกฤษเพื่อการเตรียมพร้อมสู่งานอาชีพโดยการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ SPU-CEFR และเมื่อจบปี 3 DEK สาขานี้จะสามารถพัฒนาอุปกรณ์ไอโอทีและแพลตฟอร์ม และออกแบบระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ บริหารเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในระดับพื้นฐาน และวางแผนการบำรุงรักษาระบบเครือข่ายได้

รวมวิชาสุดเท่ของวิศวกรรมคอมพิวเตอร์คณะเทคโนโลยี มีวิชาไหนน่าสนใจบ้างตามมาดู

  • การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ การวิเคราะห์ข้อมูลบนพื้นฐานของการเก็บรวบรวม ตรวจสอบ การคลีนนิ่ง การแปลง การรวม และการทําแบบจําลองข้อมูลโดยมีผลลัพธ์ของการค้นหาสารสนเทศที่ใช้ประโยชน์ได้ และแนะนําข้อสรุปไปยังการสนับสนุนการตัดสินใจ เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงการวิเคราะห์การคาดเดา และการวิเคราะห์แบบเดสคริพทีฟบนข้อมูลแบบมีโครงสร้างและไร้โครงสร้าง การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ ข้อมูลในระบบไอโอที
  • แคลคูลัสสำหรับวิศวกร   ตรีโกณมิติและการประยุกต์เวกเตอร์ในสองและสามมิติ พีชคณิตของเวคเตอร์ ลิมิตและความ ต่อเนื่อง อนุพันธ์และการประยุกต์ใช้อนุพันธ์ ปริพันธ์และการประยุกต์ใช้ปริพันธ์ ค่าเฉลี่ยของฟังก์ชัน เทคนิคการหาปริพันธ์ การหาปริพันธ์เชิงเส้น การหาปริพันธ์ไม่ตรงแบบ
  • คณิตศาสตร์ไม่ต่อเนื่อง ทฤษฎีกราฟ ต้นไม้ และการค้นหาโดยต้นไม้ทวิภาควิธีของปริมและ ไดสค์ตรา ตรรกศาสตร์ และการ พิสูจน์ พีชคณิตแบบบูลและวงจรตรรก พีชคณิตของเซ็ตและสายอักขระ กลุ่ม และกลุ่มย่อย แบบชนิดของข้อมูลที่เป็นโครงสร้างพีชคณิต ความสัมพันธ์สมมูลและการแบ่งกั้น สมการผลต่าง และฟังก์ชันปรากฏซ้ำ
  • เทคโนโลยีระบบไอโอทีเบื้องต้น    หลักการพื้นฐานภาพรวมของของระบบอินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง (ไอโอที) มาตรฐานและเทคโนโลยีของไอโอที สถาปัตยกรรมไอโอที การพัฒนาแพลตฟอร์มระบบไอโอที เทคโนโลยีระบบเซ็นเซอร์ของไอโอที พื้นฐานของระบบสื่อสาร เครือข่าย และโพรโทคอลระบบไอโอที การรักษาความปลอดภัย ซอฟต์แวร์ หลักการเบื้องต้นของ หลักการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลขนาดใหญ่ของระบบไอโอที
  • การออกแบบและพัฒนาต้นแบบไอโอที หลักการออกแบบอุปกรณ์ไอโอที พื้นฐานการวาดภาพสามมิติ และเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์สามมิติ เทคโนโลยีซีเอ็นซี การออกแบบแผ่นวงจรพิมพ์ และวิธีการสร้าง พื้นฐานการคิดเชิงออกแบบ และวิธีการ กระบวนการออกแบบ กระบวนการย้อนกลับทางวิศวกรรม
  • วิศวกรรมซอฟต์แวร์  การออกแบบชุดคำสั่งขนาดใหญ่ วงจรชีวิตของส่วนชุดคำสั่ง ข้อกำหนด การตรวจสอบความสมเหตุสมผล การออกแบบวิธีเชิงวัตถุ วิธีวางข้อกำหนด การแก้จุดบกพร่อง การเขียนโปรแกรมให้อ่านรู้เรื่อง การสร้างต้นแบบ การควบคุมรุ่น การพิจารณาความต้องการของผู้ใช้ขั้นสุดท้าย มาตรฐานสากล การเขียนเอกสารประกอบการสร้างส่วนชุดคำสั่ง และการบริหารและการจัดการโครงการ
  • การพัฒนาอุปกรณ์ไอโอทีและแพลตฟอร์ม    ทักษะของการออกแบบอุปกรณ์ไอโอที การประยุกต์ใช้งานเซ็นเซอร์ ระบบเวลาจริง สถาปัตยกรรมหน่วยประมวลผลสมองกลฝังตัว เทคโนโลยีไร้สายสําหรับระบบไอโอที เช่น LTE, NB-IoT, LoRa, Zigbee, หลักการพื้นฐานของการออกแบบไอโอทีแพลตฟอร์มแพลตฟอร์ม ประเภท สถาปัตยกรรมแพลตฟอร์มระบบให้บริการ ระบบคลาวด์ เว็บ โมบายแอปพลิเคชัน เฟรมเวิร์กและเครื่องมือสำหรับการพัฒนาเป็นต้น
  • การประมวลผลคลาวด์และเอดจ์    พื้นฐานระบบปฏิบัติการ แนวคิดพื้นฐานและคุณลักษณะของการประมวลผลแบบ Edge Computing การพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อรองรับการประมวลผลข้อมูลเอดจ์ให้แสดงผลเร็วและมีประสิทธิภาพ  แพลตฟอร์มและโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ การพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อรองรับระบบคลาวด์ การประมวลจากคลาวด์สู่เอดจ์ การรักษาความมั่นคงปลอดภัยบนคลาวด์และเอดจ์ การใช้เครื่องมือและซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวกับการประมวลผลคลาวด์และเอดจ์
  • ระบบไอโอทีในอุตสาหกรรม เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับระบบไอโอทีในอุตสาหกรรม (ไอไอโอที) พื้นฐานตัวโปรแกรมควบคุมเชิง ตรรกะ (พีแอลซี) ในระบบไอไอโอที พื้นฐานระบบควบคุมเชิงลําดับ การโปรแกรมพีแอลซี พื้นฐานการควบคุมในอุตสาหกรรม มาตราฐานของระบบสื่อสารข้อมูลโครงข่ายในอุตสาหกรรม ระบบเซ็นเซอร์ในไอไอโอที การพัฒนาและออกแบบระบบไอไอโอที อุตสาหกรรม 4.0 ระบบโรงงานอัจฉริยะ ระบบเมืองอัจฉริยะ และระบบอื่น ๆ โครงงานด้านไอไอโอทีโดย ยกตัวอย่างการใช้งานจริงในอุตสาหกรรม

รู้หรือไม่? จบสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์คณะเทคโนโลยี SPU ประกอบอาชีพไหนรายได้สู๊งงงง

  • วิศวกรคอมพิวเตอร์ (Computer Engineer)
  • วิศวกรระบบไอโอท((IoT Engineer)
  • วิศวกรระบบสมองกลฝังตัว (Embedded Engineer)
  • นักพัฒนาซอฟต์แวร์ )Software Developer)
  • ผู้ดูแลระบบเครือข่าย (System Administrator)

ปิดท้าย

(Visited 4 times, 1 visits today)

Related posts

Review สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์

Nuchnarin Rohmanee

Review สาขาการออกแบบกราฟิก คณะดิจิทัลมีเดีย No.1 in Thailand

Nuchnarin Rohmanee

อาชีพในยุคดิจิทัล ที่นักบัญชี NEW GEN ทำได้!!

P'Lilly SPU