Facultyคณะนิติศาสตร์

เคยรู้ไหม?? กฎหมายแบบนี้ ก็มีด้วยนะ คณะนิติศาสตร์

เคยรู้ไหม?? กฎหมายแบบนี้ ก็มีด้วย

รู้หรือไม่ กฎหมายแบบนี้ ก็มีด้วยนะ…
กฎหมายบางอย่าง เราอาจจะมองว่าไร้สาระหรือตลกขบขัน แต่ทุกอย่างก็มีเหตุผลเบื้องหลังที่แตกต่างกันไป กฎหมายเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของผู้คนในประเทศไทย 
กฎหมายแปลกๆ หลายๆ ครั้งกฎหมายอาจไม่ได้บังคับใช้อย่างเข้มงวด แต่ก็มีบางกฎหมายที่ยังคงบังคับใช้อย่างเข้มงวด ดังนั้นเราจึงต้องเคารพกฎหมายและสิทธิหน้าที่ของผู้อื่นด้วย เพื่อสังคมเราถึงจะได้อยู่รวมกันอย่างสงบสุข

เคยรู้ไหม?? กฎหมายแบบนี้ ก็มีด้วย


รวม10 กฎหมายในประเทศไทย แบบนี้ก็มีด้วย?
มีกฎหมายอะไรบ้าง เราเคยเจอรึเปล่า มาดูกันเลย!

เคยรู้ไหม?? กฎหมายแบบนี้ ก็มีด้วย
หลังมี พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ คนถูกน้องหมาทำร้ายก็ไม่กล้าทำร้ายน้องหมากลับ เพราะ
เตะน้องหมา มีโทษสูงสุด จำคุก 2 ปี ปรับ 4 หมื่นบาท ตามพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ 2557 มาตรา 20 มาตรา 31 ส่วนทำร้ายผู้อื่นไม่เป็นเหตุให้เป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจ จะมีความผิดทางกฎหมายอาญา มาตรา 391 มีโทษสูงสุด จำคุก 1 เดือน ปรับ 1 หมื่นบาท

 

 

เคยรู้ไหม?? กฎหมายแบบนี้ ก็มีด้วย
การยืมเงินที่มากกว่าสองพันบาท หรือแชทยืมเงินที่คุยกันไว้ผ่าน Facebook, Line หรืออื่นๆ ว่าขอยืมเงินเท่าไหร่ จะใช้คืนเมื่อไหร่ สามารถใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดีได้ โดยไม่ต้องมีการเขียนสัญญากันเป็นกระดาษ เพราะการกู้ยืมเงินกันผ่าน Application Facebook หรือ Line นั้น ถือว่าได้มีหลักฐานเป็นหนังสือตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว โดยนำพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาตรา 7 มาตรา 8 และมาตรา 9 มาใช้บังคับ

เคยรู้ไหม?? กฎหมายแบบนี้ ก็มีด้วย
ผู้ใดทะเลาะกันอย่างอื้ออึงในทางสาธารณะหรือสาธารณสถาน หรือกระทำโดยประการอื่นใดให้เสียความสงบเรียบร้อยในทางสาธารณะหรือสาธารณสถาน ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท ตามความผิดทางกฎหมายอาญามาตรา 372

 

 

เคยรู้ไหม?? กฎหมายแบบนี้ ก็มีด้วย
ผู้ใดเห็นผู้อื่นตกอยู่ในภยันตรายแห่งชีวิตซึ่งตนอาจช่วยได้โดยไม่ควรกลัวอันตรายแก่ตนเองหรือผู้อื่นแต่ไม่ช่วยตามความจำเป็น จะมีความผิดทางกฎหมายอาญามาตรา 374 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ

 

 

เคยรู้ไหม?? กฎหมายแบบนี้ ก็มีด้วย
ผู้ใดเก็บของมีค่าได้ซึ่งมูลค่าของที่เก็บได้นั้นไม่เกินสามหมื่นบาทแล้วนำไปคืนเจ้าของ ผู้ที่เก็บได้มีสิทธิเรียกร้องค่าตอบแทนได้ 10% มูลค่าเกินกว่าสามหมื่นบาท ผู้ที่เก็บได้มีสิทธิเรียกร้องเพิ่มได้อีก 5% ของมูลค่าที่เกินสามหมื่นนั้น แต่ถ้าผู้ที่เก็บได้นำของมีค่านั้นไปส่งเจ้าหน้าที่ เจ้าของต้องจ่ายค่าธรรมเนียมอีก 2.5% โดยไม่เกินหนึ่งพันบาทให้แก่เจ้าหน้าที่นอกเหนือจากค่าตอบแทนที่มอบให้แก่ผู้ที่เก็บได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1324

 

 


หากเจ้าพนักงานถามชื่อหรือที่อยู่ เพื่อปฏิบัติการตามกฎหมายไม่ยอมบอก หรือแกล้งบอกชื่อหรือที่อยู่อันเป็นเท็จ มีความผิดทางกฎหมายอาญามาตรา 367 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท

 

 

เคยรู้ไหม?? กฎหมายแบบนี้ ก็มีด้วย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปีถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปี ผู้ครอบครองย่อมได้กรรมสิทธิ์

 

 

เคยรู้ไหม?? กฎหมายแบบนี้ ก็มีด้วย
ในกรณีที่ผู้ถือบัตรหรือใบรับหรือใบแทนใบรับซึ่งมีอายุตั้งแต่ 15 ปี ขึ้นไป ผู้ใดซึ่งไม่สามารถแสดงใบบัตรหรือใบรับหรือใบแทนใบรับเมื่อเจ้าพนักงาน ตรวจบัตรขอตรวจ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท ตามพระราชบัญญัติ บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526

 

 

เคยรู้ไหม?? กฎหมายแบบนี้ ก็มีด้วย
ผู้ใดแขวน ติดตั้งหรือวางสิ่งใดไว้โดยประการที่น่าจะตกหรือพังลง ซึ่งจะเป็นเหตุอันตราย เปรอะเปื้อนหรือเดือดร้อนแก่ผู้สัญจรในทางสาธารณะ จะมีความผิดทางกฎหมายอาญามาตรา 387 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท

 

 

เคยรู้ไหม?? กฎหมายแบบนี้ ก็มีด้วย
หากธนบัตรนั้นขาดครึ่ง หรือขาดออกจากกันจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน ให้นำไปแลกที่ธนาคารออมสินทุกสาขาทั่วประเทศ ส่วนธนาคารทั่วไปแลกได้ เฉพาะวันพุธเท่านั้น โดยจะแลกได้เพียงครึ่งราคาของมูลค่าเท่านั้น ตามพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501

 

 


คณะนิติศาสตร์
SPU

>  ภาคปกติ (ม.6 / ปวช. /ปวส.)
>  ภาคเสาร์และอาทิตย์ (ม.6 / ปวช. / ปวส.)
>  เรียนวันอาทิตย์ (ปริญญาตรีใบที่ 2)

 

>> สมัครออนไลน์ คลิกที่นี่ <<

(Visited 741 times, 1 visits today)

Related posts

สาขาการจัดการธุรกิจด้านการบิน SPU จบไปทำงานอะไรได้บ้าง?

P'Menu SPU

เรียนบริหารธุรกิจ แบบ 2in1 เรียน 3 ปีครึ่ง รับ 2 ปริญญา ที่ ม.ศรีปทุม

P'Krish

ความเหมือนที่แตกต่าง ของ 2 สาขา IT SPU

P'Lilly SPU